post-title

ลูกติดโควิด อันตรายไหม?

     ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 🦠นั้นส่งผลให้วิถีชีวิตของเราเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงในช่วงประมาณเกือบ 4 ปีที่ผ่านมา สำหรับการใช้ชีวิตและสังคมการทำงานในวัยผู้ใหญ่💼 คงสามารถปรับตัวและคุ้นชินกับมันได้แล้ว แต่สำหรับเจ้าตัวน้อยนั้นจะน่าเป็นห่วงเพียงใด โควิด-19 จะทำอันตรายแก่ลูกของเราได้หรือไม่ บทความนี้มีคำตอบให้คุณผู้อ่านค่ะ💁‍♀️


สถานการณ์การติดเชื้อในเด็กไทย

สำหรับการสำรวจประชากรเด็กที่ติดเชื้อในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นปีที่เชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ ซึ่งก็คือสายพันธุ์เดลต้า🦠นั้นเริ่มข้าสู่ประเทศไทย ทำให้ยอดผู้ติดเชื้อในเด็กสูงขึ้น กลุ่มเด็กที่ติดเชื้อมีอาการคล้ายกับโรคคาวาซากิ ซึ่งอาจก่อความรุนแรงได้ในเด็ก👶และไม่ได้แสดงอาการทันทีหลังจากรับเชื้อ แต่ในบางรายก็ไม่ได้มีอาการที่หนักหนาอะไร หากเปรียบเทียบอัตราการติดเชื้อในเด็กกับวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุแล้ว เด็กถือว่ามีอัตราการติดเชื้อที่ค่อนข้างต่ำค่ะ ในเด็กที่มีอาการรุนแรงมักจะเป็นเด็กที่มีโรคแทรกซ้อน😷อยู่แล้วค่ะ

เด็กติดเชื้อโควิด-19 ได้อย่างไร

▶️อาจมีการใกล้ชิดผู้ติดเชื้อท่านอื่นในละแวกใกล้เคียง

▶️ได้รับเชื้อจากสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ ผ่านการไอ😮‍💨 จาม🤧 หรือพูดคุย🗣️แบบไม่สวมหน้ากากอนามัยในระยะห่างที่น้อย ซึ่งเป็นวิธีรับเชื้อแบบเดียวกันกับช่วงวัยอื่นๆเลยค่ะ

▶️ร่างกายไม่อยู่ในภาวะที่แข็งแรงพอที่จะกดอาการป่วย จนทำให้ติดเชื้อ🦠และแสดงอาการออกมา คำว่าไม่แข็งแรงหมายถึงภูมิคุ้มกันไม่แข็งแรง ไม่ตอบสนอง ซึ่งอาจมาจากการพักผ่อนไม่เพียงพอค่ะ🥱


อาการของเด็กที่ติดเชื้อ

🟢อาการในกลุ่มที่ไม่รุนแรง 

ก็จะเป็นอาการเช่นเดียวกับวัยอื่นๆค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการที่เด็กมีไข้ มีการไอจาม🤧 รู้สึกอ่อนเพลียและปวดเมื่อยตามร่างกาย อาจมีอาการปวดหรือมึนศีรษะ🤕ร่วมด้วย มีเสมหะ คัดจมูก มีอาการเจ็บคอ ในบางรายอาจมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารและระบบขับถ่าย ไม่ว่าจะเป็นอาการคลื่นไส้อาเจียน🤮 ไม่ได้กลิ่นหรือไม่รับรสอาหาร มีอาการท้องเสียหรือถ่ายอุจจาระเหลว💩ร่วมด้วยค่ะ

🔴อาการในกลุ่มที่รุนแรง 

อาการที่เป็นก็คืออาการที่ปรากฏในกลุ่มไม่รุนแรง แต่ทวีความรุนแรงขึ้นจนเริ่มส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบอวัยวะอื่นๆในร่างกาย อาจรุนแรงจนถึงขั้นการทำงานของอวัยวะล้มเหลวและเสียชีวิตในที่สุดค่ะ💀 บางส่วนก็จะเป็นอาการที่มาจากโรคแทรกซ้อนร่วมด้วย ดังนั้นเด็กกลุ่มที่มีอาการรุนแรงนั้นมักเป็นกลุ่มที่มีโรคแทรกซ้อนหรือโรคประจำตัวอยู่แล้วนั่นเองค่ะ ยกตัวอย่างเช่นเด็กที่เป็นโรคเบาหวาน🍰 โรคไต โรคอ้วน🐖 โรคที่เกี่ยวข้องกับระบบหายใจอย่างโรคหอบหืดค่ะ

อนาคตของการติดเชื้อในเด็ก

หากอ้างอิงจากสถานการณ์การติดเชื้อที่ผ่านมา เด็ก👶มีอัตราการติดเชื้อที่นับว่าค่อนข้างต่ำกว่าผู้ใหญ่และผู้สูงอายุค่ะ นอกจากนี้ยังมีแนวโน้มที่จะแสดงอาการอย่างรุนแรงน้อยกว่าด้วย แต่หากในอนาคตมีสายพันธุ์ที่แพร่กระจายง่าย💨ขึ้น ก็อาจทำให้การติดเชื้อในเด็กมีตัวเลขเพิ่มสูงขึ้นได้ค่ะ เพราะต้องยอมรับว่าเด็กมีความสามารถและความใส่ใจในการรักษาความสะอาดต่ำกว่าวัยผู้ใหญ่ จึงอาจทำให้รับเชื้อเข้าสู่ร่างกายตนเองได้ง่ายกว่าค่ะ


การปลูกฝังให้ลูกห่างไกลจากการติดเชื้อ

วิธีที่ 1️⃣

👉ปลูกฝังให้เด็กรักษาความสะอาดของร่างกายตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการสวมหน้ากาอนามัยทางการแพทย์อย่างถูกวิธี😷 ถอดอย่างถูกวิธี และกำจัดขยะปนเปื้อนหรือขยะติดเชื้ออย่างถูกวิธี🗑️ อีกทั้งในเรื่องของการล้างมือ🤲อย่างถูกวิธีด้วยแอลกอฮอล์หรือสบู่ตามสถานการณ์และความสะดวก หากออกไปใช้ชีวิตข้างนอก เมื่อกลับมาบ้านก็ควรอาบน้ำชำระล้างร่างกายให้สะอาดทันที🚿 และควรแยกกองเสื้อผ้าเปื้อนอย่างเป็นระเบียบค่ะ🧺

วิธีที่ 2️⃣

👉สอนเด็กให้เว้นระยะห่างทางสังคมหรือการทำ social distancing นั่นเอง ทำได้โดยไม่เข้าใกล้กับผู้อื่นมากเกินไป พูดคุยกันแบบไม่ถอดหน้ากากอนามัย😷🗣️ สัมผัสร่างกายกันให้น้อยที่สุด

👉พาเด็กไปฉีดวัคซีน💉เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันในกรณีที่เด็กมีอายุถึงวัยที่เหมาะสม แน่นอนว่าการฉีดวัคซีนนั้นก็ส่งผลข้างเคียงเช่นเดียวกัน แต่เมื่อเทียบประโยชน์และโทษที่อาจเกิดขึ้นแล้ว การติดเชื้อโควิดโดยตรงไม่ว่าสายพันธุ์ใดก็มีโอกาสส่งผลเสียต่อสุขภาพระยะยาวมากกว่าค่ะ

     อ่านมาถึงตรงนี้คงลดความกังวลเกี่ยวกับประเด็นโควิด-19 ในเด็กของคุณพ่อคุณแม่ได้บ้างนะคะ จะเห็นว่าวิธีการปฏิบัติตนให้ห่างไกลจากการติดเชื้อสำหรับเด็กนั้นก็ไม่ได้ต่างจากผู้คนในวัยอื่นเลย เพราะฉะนั้นเรามั่นใจว่าคุณพ่อคุณแม่👫สามารถช่วยกันแนะนำและดูแลเจ้าตัวน้อย👶ให้ปลอดภัยจากโรคโควิด-19 ได้อย่างแน่นอนค่ะ