post-title

นวดกระตุ้นมือเด็ก ดียังไง?

     คุณผู้อ่านหลายท่านคงเคยได้ยินเกี่ยวกับศาสตร์การนวด💆‍♀️เพื่อบรรเทาอาการไม่สบายหรืออาการป่วยกันมาบ้างใช่ไหมคะ นอกจากศาสตร์นี้ใช้กับวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุได้แล้ว กับวัยเด็กอย่างเด็กทารก👶เองก็มีประโยชน์เช่นเดียวกันค่ะ แต่สำหรับคุณผู้อ่านท่านใดที่ยังไม่คุ้นเคยกับศาสตร์นี้มาก่อน วันนี้บทความของเราจะพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับศาสตร์นี้ให้มากขึ้นกันค่ะ💁‍♀️


ทำไมต้องนวดกรุะตุ้นมือเด็ก

ศาสตร์ของการนวดนั้นมีแนวโน้มว่าจะช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตและพัฒนาการในด้านต่างๆของเจ้าตัวน้อย ไม่ว่าจะเป็นพัฒนาการของระบบประสาทและสมอง🧠 ระบบการย่อยอาหารที่พ่วงรวมกับระบบขับถ่าย💩 มีส่วนช่วยในการควบคุมให้การทำงานของอวัยวะต่างๆรวมถึงฮอร์โมนในร่างกายทำงานได้อย่างปกติ ส่งผลให้ระบบเผาผลาญของร่างกายนั้นดำเนินไปอย่างปกติเช่นกัน นอกจากนี้ยังเชื่อว่า การนวดกดจุดบริเวณมือของเจ้าตัวน้อยยังช่วยให้เจ้าตัวน้อยหลับสบายขึ้น😴 ไม่ค่อยร้องไห้งอแงค่ะ

เตรียมตัวก่อนนวดอย่างไร

👉คุณแม่ควรประเมินความพร้อมของเด็กว่าพร้อมให้นวดหรือไม่ ความพร้อมในที่นี้ก็หมายถึงอารมณ์นั่นเองค่ะ เจ้าตัวน้อยควรมีอารมณ์ที่ดี😊ก่อนนวด ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นโดนบังคับนวดค่ะ คุณแม่อาจใช้วิธีการแตะตัวในเชิงหยอกล้อหรือเล่นกับลูกให้ผ่อนคลายเสียก่อน ไม่ควรเริ่มนวดโดยทันที และหากเริ่มนวดไปแล้วเด็กมีอาการหรือท่าทีต่อต้าน เริ่มดิ้นหรือร้องไห้งอแง😭ก็ควรหยุดนวด ไม่ควรฝืนนวดต่อจนเสร็จ เพราะนอกจากจะทำให้อารมร์ของเจ้าตัวน้อยไม่ดีแล้ว ยังอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุหรืออาการบาดเจ็บโดยไม่ได้ตั้งใจระหว่างนวดได้ค่ะ

👉สถานที่ที่ใช้นวดควรมีความปลอดโปร่งโล่งสบาย🍃 มีความสงบและสะอาด คุณแม่จะต้องวางเจ้าตัวน้อยลงที่พื้นราบ ดังนั้นเพื่อความสะอาดและความสบายของเจ้าตัวน้อย คุณแม่อาจหาผ้า ฟูก หรือเบาะนุ่มๆ🛌มาปูรองพื้นอีกทีได้ค่ะ เวลาที่เด็กดิ้นจะได้ไม่เกิดอันตราย

👉หากอยู่ภายในบ้าน🏡 คุณแม่สามารถถอดเสื้อผ้าหรือผ้าอ้อมของเจ้าตัวน้อยได้เพื่อความผ่อนคลายอย่างมากที่สุดของเจ้าตัวน้อย และในกรณีของการนวดส่วนอื่นนอกจากมือ การนวดแบบสัมผัสกับเนื้อโดยตรงจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดค่ะ

👉คุณแม่อาจใช้โลชั่น🧴 หรือน้ำมันหอมระเหยที่มีส่วนผสมเป็นมิตรกับผิวของเด็กเข้ามาร่วมนวดด้วย ไม่ก่อให้เกิดอาการแสบร้อนและระคายเคืองต่อผิวหนังของเจ้าตัวน้อย 

วิธีการนวดมือเจ้าตัวน้อย

1️⃣หากคุณแม่ทำการเตรียมตัวครบทั้ง 5 ขั้นตอนที่เรากล่าวไปก่อนหน้าแล้ว และประเมินว่าเด็กอยู่ในอารมณ์พร้อมนวด ให้คุณแม่เริ่มใช้นิ้วคลึงเบาๆไปที่หลังข้อมือของเจ้าตัวน้อย แล้วจึงค่อยๆไล่ไปยังบริเวณฝ่ามือ โดยใช้นิ้วหัวแม่มือ👍ของคุณแม่กดเบาๆและคลึงวนเป็นวงกลมซ้ำๆค่ะ

2️⃣เมื่อทำการนวดคลึงบริเวณฝ่ามือเรียบร้อยแล้ว ให้คุณแม่เริ่มไล่ออกข้างนอกไปที่บริเวณนิ้วมือทั้ง 5 🖐️ เริ่มจากการคลึงเบาๆตั้งแต่โคนนิ้วไปยังปลายนิ้วของเด็ก เมื่อถึงปลายนิ้วให้ทำการกดให้แรงขึ้นเล็กน้อยจากเดิม เพราะเป็นบริเวณที่มีเส้นประสาทอยู่กันอย่างหนาแน่นที่สุดเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นๆบริเวณมือ

3️⃣กลับเข้ามานวดคลึงบริเวณฝ่ามืออีกครั้ง กดวนเบาๆไปเรื่อยๆและค่อยๆไล่ออกบริเวณด้านข้างมือ🫲

4️⃣นวดไล่ต่ำมาบริเวณฐานฝ่ามือ🤲 สำหรับบริเวณนี้ให้ใช้นิ้วมือลูบออกด้านข้างทีละด้านแบบไม่ต้องคลึงวนค่ะ


การนวดดีต่อเจ้าตัวน้อยอย่างไร

ประโยชน์ของการนวดมือในแต่ละจุด

บริเวณปลายนิ้วมือตั้งแต่นิ้วชี้👆จนไปถึงนิ้วก้อย เชื่อกันว่ามีส่วนช่วยในการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทและสมอง🧠 อีกทั้งยังกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในร่างกาย อ้างอิงจากความรู้ในศาสตร์การแพทย์แผนไทยค่ะ

บริเวณใต้เล็บของปลายนิ้วหัวแม่มือ เชื่อว่าการนวดบริเวณนี้มีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการหวัด😪ของทารกค่ะ

บริเวณโคนนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือ เชื่อว่าสามารถช่วนบรรเทาอาการไอ😮‍💨ได้ในตอนที่ลูกมีอาการหวัด อย่างไรก็ตามการนวดนั้นมีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการเท่านั้น ไม่สามารถช่วยให้หายขาดจากอาการได้ค่ะ

บริเวณเนื้อพังผืดฐานนิ้วระหว่างนิ้วนางกับนิ้วก้อย เชื่อว่าจะทำให้เด็กอารมณ์ดีขึ้น นับเป็นประโยชน์กับคุณแม่ที่มีลูกร้องไห้งอแงบ่อยๆ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการที่เด็กมีอารมณ์เครียดหรือหงุดหงิดจากภาวะต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นอาการหิว ร้อน🥵 อึดอัดไม่สบายตัว

บริเวณเนื้อพังผืดฐานนิ้วระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วหัวแม่มือ เชื่อว่าการนวดบริเวณนี้จะทำให้เด็กมีความสามารถในการย่อยอาหารที่ดีขึ้น และช่วยให้เจ้าตัวน้อยผ่อนคลายได้หากนวดในช่วงเวลาก่อนนอน🥱ค่ะ

บริเวณฐานข้อมือฝั่งนิ้วก้อย เชื่อว่ามีส่วนช่วยลดอาการท้องผูกและกระตุ้นระบบขับถ่าย💩ของเด็กค่ะ

     คุณผู้อ่านจะเห็นแล้วนะคะว่าศาสตร์การนวดกดจุดนั้นมีสรรพคุณค่อนข้างหลากหลายมากๆ แต่อย่างไรก็ตามสำหรับอาการไม่สบาย ศาสตร์การนวดนั้นมีส่วนช่วยในการบรรเทาอาการเท่านั้น ไม่สามารถทำให้หายขาดจากโรคได้ ดังนั้นหากเจ้าตัวน้อยเป็นโรคร้ายแรง หรือมีอาการของโรคที่มีแนวโน้มแย่ลง ผู้ปกครอบควรพาไปเข้ารับการตรวจร่างกาย🩺และการวินิจฉัยสาเหตุของโรคเพื่อหาแนวทางการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ👨‍⚕️ทันทีค่ะ