ความก้าวร้าว🤬นับเป็นสิ่งปกติที่แสดงออกในมนุษย์ทุกคน เช่นเดียวกันกับมนุษย์วัยเด็กหรือเจ้าตัวน้อย👶ของเรานั่นเองค่ะ ความก้าวร้าวจะเกิดจากอะไรได้บ้าง และเราจะรับมือกับความก้าวร้าวของลูกโดยไม่เสียความสัมพันธ์อันดีไปได้อย่างไร บทความนี้จะพาคุณพ่อคุณแม่ไปค้นหาคำตอบกันค่ะ💁♀️
สาเหตุของความก้าวร้าวในวัยเด็ก
👉เป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว
เช่น สมาชิกครอบครัว👨👩👧หรือผู้คนรอบตัวนั้นแสดงความก้าวร้าวออกมา จึงทำให้เจ้าตัวน้อยมีพฤติกรรมการลอกเลียนแบบ หรืออาจลอกเลียนแบบมาจากสื่อต่างๆที่แสดงพฤติกรรมก้าวร้าวและใ้ช้ความรุนแรงก็ได้ค่ะ สำหรับการเสพสื่อ📺ต่างๆ คุณพ่อคุณแม่จึงควรให้คำแนะนำและดูแลอย่างใกล้ชิดค่ะ
👉สภาพสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่บีบบังคับให้ต้องแสดงความก้าวร้าว
เด็กอยู่ในสภาพสังคมหรือสิ่งแวดล้อมที่บีบบังคับให้ต้องแสดงความก้าวร้าว🤬เพื่อเป็นเกราะกำบังความรุนแรง หรือเพื่อเป็นการป้องกันตนเอง🛡️นั่นเอง เด็กจึงคิดว่าสามารถใช้ความรุนแรงเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ่นได้
👉คุณพ่อคุณแม่อาจไม่มีเวลาอบรม
คุณพ่อคุณแม่อาจไม่มีเวลาใกล้ชิดเพื่อแนะนำและอบรมเจ้าตัวน้อยในแง่ของการควบคุมอารมณ์อย่างเหมาะสม เมื่อเด็กต้องประสบกับอะไรที่ไม่ได้ดั่งใจ ก็จะแสดงออกมาในรูปแบบของความก้าวร้าว🤬 ซึ่งเป็นสิ่งที่เลือกทำได้ง่ายที่สุดค่ะ
👉คุณพ่อคุณแม่สร้างเงื่อนไขที่ผิดให้กับลูก
ผู้ปกครองสร้างเงื่อนไขที่ผิดให้กับลูก ยกตัวอย่างเช่น หากเด็กอยากได้ของเล่น🪀แล้วคุณพ่อคุณแม่ไม่ยอมให้ในทีแรก เด็กอาจเลือกที่จะแสดงอาการหงุดหงิดก้าวร้าว จนเริ่มงอแง😭 ลงไปดิ้นอยู่ที่พื้นจนทำให้ผู้ปกครองเริ่มเขินอาย และซื้อของเล่นให้เด็กในที่สุด เด็กจึงเข้าใจว่าถ้าเลือกใช้วิธีนี้แล้วจะได้สิ่งที่ตนเองต้องการอยู่เสมอจนติดเป็นนิสัยได้ค่ะ
👉ลูกมีอาการทางจิต
เด็กอาจมีอาการทางจิตหรือภาวะบางอย่างที่ส่งผลต่อการแสดงออกของพฤติกรรม ซึ่งเป็นผลมาจากสิ่งแวดล้อมอีกทอดหนึ่ง หรืออาจเป็นผลมาจากความไม่สมดุลของฮอร์โมนในร่างกายและสารเคมีในสมอง🧠ค่ะ
วิธีรับมือกับความก้าวร้าวของเด็ก
รับมือกับความก้าวร้าวของเด็กเล็ก👶
1️⃣เบี่ยงเบนความสนใจของเด็ก จากสิ่งที่เด็กกำลังสนใจอยู่ เช่นการอยากได้ของเล่น🚂 ก็อาจจะหาเหตุการณ์อื่นหรือสิ่งของอื่นๆมาเบี่ยงความสนใจของเด็กแทน
2️⃣หากเจ้าตัวน้อยไม่ได้แสดงท่าทีงอแงเสียงดังอย่างรุนแรง อาจแสดงออกมาในรูปแบบของความไม่พอใจเล็กน้อย คุณพ่อคุณแม่สามารถยืนดูเฉยๆ🧍♀️ ไม่ต้องโต้ตอบอะไรทั้งในทางบวกและทางลบ รอใจกว่าเด็กจะใจเย็นลง แล้วจึงเข้าไปกอด ปลอบ🤗 ใช้วิธีการพูดคุยปรับความเข้าใจว่าพฤติกรรมเมื่อสักครู่นั้นไม่สมควรอย่างไร
3️⃣หากเด็กมีแนวโน้มที่จะแสดงพฤติกรรมทำร้ายตนเอง ทำร้ายคนอื่น จนไปถึงการทำลายสิ่งของรอบตัว ให้ผู้ปกครองเข้าไปหยุดพฤติกรรมเหล่านั้นโดยทันที ในเด็กเล็กอาจใช้วิธีการล็อคตัวของเด็กไว้🔒👶 ในเด็กที่โตขึ้นมาหน่อยอาจใช้วิธีต้อนให้เข้ามุมแทนเพื่อให้เด็กสงบสติอารมณ์ค่ะ
4️⃣ห้ามให้ในสิ่งที่เด็กต้องการเมื่อเด็กเรียกร้องความสนใจด้วยการร้องไห้งอแงหรือแสดงความไม่พอใจ😡 เพราะจะเป็นการสร้างกระบวนการทางความคิดผิดๆให้เด็ก ว่าถ้าร้องไห้งอแง แสดงอาการไม่พอใจแล้วจะทำให้ได้ในสิ่งที่ต้องการค่ะ
5️⃣หากมีการตั้งกฎเกณฑ์📝ที่มีเหตุผลมารองรับความเหมาะสม และได้ทำความเข้าใจร่วมกับลูกไปแล้วว่าทำไมจึงต้องมีกฎเกณฑ์นี้เกิดขึ้น ควรใช้กฎนั้นอย่างสม่ำเสมอจนเป็นเรื่องปกติ ไม่ควรหละหลวมโดยไม่จำเป็น เพราะจะทำให้เด็กเล็กรู้สึกสับสนว่าจริงๆแล้วกฎเป็นสิ่งที่ต้องทำตามหรือไม่
รับมือกับความก้าวร้าวในเด็กโต👦
1️⃣อย่างที่ได้กล่าวไปก่อนหน้า ว่าสาเหตุหนึ่งของความก้าวร้าวในเด็กก็คือพฤติกรรมเลียนแบบจากคนรอบตัว👨👩👧 ดังนั้นผู้ปกครองควรสงบสติอารมณ์ของตนเอง😌ก่อนเป็นอันดับแรกค่ะ เพื่อให้เด็กสังเกตได้ถึงความไม่พอใจให้น้อยที่สุด และห้ามใช้ความรุนแรงหรือถ้อยคำรุนแรงในการรับมือกับลูกเด็ดขาด เพราะลูกจะเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ตนเองก็ทำได้เมื่อเกิดความไม่พอใจเช่นเดียวกันค่ะ
2️⃣คุณพ่อคุณแม่ควรยอมรับในการมีอารมณ์และความรู้สึกของเด็ก แต่ควรแสดงออกว่าไม่สามารถยอมรับอาการก้าวร้าวนั้นได้ และใช้โอกาสดังกล่าวในการแสดงถึงการจัดการอารมณ์และการแสดงออกที่เหมาะสมแทนค่ะ
3️⃣สอนให้เจ้าตัวน้อยมีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา หรือการมี Empathy💞นั่นเอง รวมไปถึงการสอนให้เด็กเข้าใจและเคารพต่อสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่นด้วยค่ะ
4️⃣ระมัดระวังในการใช้คำพูดขณะอบรมลูก🗣️ คำพูดในกลุ่มตำหนิบางคำอาจทำให้เด็กฝังใจและเสียความมั่นใจในการใช้ชีวิตได้ในอนาคต และใช้คำพูดดีๆชมเชยเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม เพื่อสร้างเงื่อนไขการกระทำของเด็กว่า ถ้าตนเองประพฤติตัวดีก็จะได้คำชมจากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ
5️⃣หากเด็กกระทำความผิดลงไปแล้ว หลังอบรมเสร็จควรให้เด็กรับผิดชอบในสิ่งที่ทำลงไปเท่าที่จะทำได้ เพื่อเป็นการตั้งเงื่อนไขให้เด็กทราบว่า ถ้าตนเองเลือกที่จะกระทำแบบนี้อีกในอนาคต ตนเองก็ต้องรับผิดชอบ🫡ในสิ่งที่ตนเองก่อค่ะ
อ่านมาถึงตรงนี้ คุณพ่อคุณแม่👫คงทราบแล้วนะคะว่าควรใช้วิธีใดในการรับมือเจ้าตัวน้อยของตนเอง สิ่งที่สำคัญที่สุดคือห้ามใช้ความรุนแรงแต่ลูกโดยเด็ดขาดค่ะ นอกจากจะมีโอกาสสร้างแผลกาย🤕ให้ลูกแล้วยังเสี่ยงที่จะสร้างแผลใจให้ลูกด้วย ก่อเกิดเป็นความสัมพันธ์ในครอบครัวที่เป็นพิษ อาจทำให้เด็กเติบโตไปเป็นโรคทางจิตเวชได้ค่ะ