สำหรับการตั้งครรภ์🤰ในแต่ละครั้งนั้น ประเด็นที่คุณแม่น่าจะกังวลที่สุดคงหนีไม่พ้นการแท้งบุตร🩸👶ใช่ไหมคะ การแท้งบุตรอาจมีทั้งประเภทที่หาสาเหตุได้และหาสาเหตุที่แน่ชัดไม่ได้ สำหรับบทความนี้เราจะพาคุณผู้อ่านมาดูถึงสาเหตุหนึ่งของการแท้งบุตร นั่นก็คือภาวะต้านฟอสโฟลิพิดที่เกิดกับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นั่นเองค่ะ ภาวะนี้สร้างความเสี่ยงต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์ได้อย่างไร เราไปทำความรู้จักมันพร้อมๆกันเลยค่ะ💁♀️
ทำความรู้จักภาวะต้านฟอสโฟลิพิดเบื้องต้น
ภาวะต้านฟอสโฟลิพิดหรือ APS มาจากศัพท์ทางการแพทย์⚕️ที่เรียกว่า Antiphospholipid Syndrome ซึ่งชื่อภาษาไทยก็มาจากการแปลอย่างตรงตัวเลยค่ะ ภาวะนี้เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของผู้ป่วย😷เกิดความผิดปกติ ร่างกายสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันไปกำจัดสารจำพวกฟอสโฟลิพิดหรือสารในกลุ่มไขมันนั่นเอง เพราะเข้าใจว่าเป็นสิ่งแปลกปลอม🦠ในร่างกาย ทั้งที่สารนี้เป็นส่วนประกอบสำคัญของเซลล์ในร่างกาย หากขาดสารนี้การทำงานของร่างกายจะเกิดความผิดปกติตามมา ด้วยสาเหตุเหล่านี้ ภาวะดังกล่าวจึงจัดเป็นหนึ่งในกลุ่มของโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเองค่ะ หากอ่านกระบวนการการเกิดโรคแล้ว คุณผู้อ่านก็อาจจะเดาได้ค่ะว่าความผิดปกติดังกล่าวไม่ได้เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์เท่านั้น แต่มีโอกาสเกิดได้กับทุกคนค่ะ👨👩👧
✨ความเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้ป่วยภาวะต้านฟอสโฟลิพิด
ผู้ที่มีภาวะนี้เสี่ยงที่จะมีภาวะลิ่มเลือดอุดตันภายในหลอดเลือดทั้งดำและแดง เมื่อเลือดที่ไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆในร่างกายไม่สามารถเดินทางไปเลี้ยงได้หรือได้ไม่ดีเท่าเดิม ก็จะเกิดความผิดปกติตามมา ขึ้นอยู่กับว่าหลอดเลือดที่อุดตันนั้นลำเลียงเลือดไปยังอวัยวะใดของร่างกาย และสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ภาวะต้านฟอสโฟลิพิดก็เสี่ยงที่จะทำให้คุณแม่เกิดภาวะแท้งบุตรได้🩸👶 (ไม่จำเป็นต้องเกิดกับทุกคนแต่ค่อนข้างเสี่ยง) ในรายที่ไม่ได้แท้งบุตรก็อาจก่อให้เกิดผลเสียอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่นภาวะทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ ภาวะครรภ์เป็นพิษ จนไปถึงการคลอดก่อนกำหนดค่ะ👩🍼
สัญญาณที่บ่งบอกถึงภาวะต้านฟอสโฟลิพิด
👉เมื่อทำการวัดความดันเลือด พบว่าความดันเลือดสูง🩸🆙
👉มีจุดแดงเล็กๆปรากฏขึ้นบริเวณผิวหนังคล้ายจ้ำเลือด หรือมีความผิดปกติของผิวหนังบริเวณขา🦵ที่ทำให้ผิวหนังมีสีแดงหรือสีน้ำเงิน มีลักษณะคล้ายแห
👉มีเลือดกำเดาไหลบ่อย มีเลือดออกตามไรเหงือกและไรฟัน🦷
👉มีอาการทางระบบประสาทและสมอง🧠 ยกตัวอย่างเช่นภาวะสมองเสื่อม และโรคลมชัก
👉บางรายอาจมีอาการเหนื่อยล้าง่าย😰 ความสามารถในการเคลื่อนที่และเคลื่อนไหวลดต่ำลง มีปัญหาทางด้านการตอบสนองต่อสิ่งเร้ารวมไปถึงการพูดโต้ตอบ🗣️ เจ็บแปลบบริเวณอวัยวะต่างๆของร่างกาย ปวดศีรษะคล้ายภาวะไมเกรน🤯
ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะต้านฟอสโฟลิพิด
ปัจจัยที่ 1️⃣
ภาวะนี้มักเกิดในคุณผู้หญิง👩ได้มากกว่าคุณผู้ชายค่ะ
ปัจจัยที่2️⃣
ภาวะนี้มีโอกาสที่จะพบในผู้ป่วยที่เป็นโรคอื่นๆทางระบบภูมิคุ้มกันอยู่แล้ว
ปัจจัยที่ 3️⃣
ภาวะดังกล่าวยังพบได้บ่อยในกลุ่มผู้ที่ติดเชื้อ🦠บางชนิด ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยที่เป็นโรคซิฟิลิส โรคเอดส์ โรคไลม์ จนไปถึงผู้ที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบค่ะ
ปัจจัยที่ 4️⃣
ภาวะนี้มีโอกาสเกิดกับผู้ที่กำลังใช้ยาบางชนิด💊ในการรักษาตัว ไม่ว่าจะเป็นยาในกลุ่มที่รักษาโรคความดันโลหิตสูง ยาที่ควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ🫀 และยาป้องกันอาการชัก
ปัจจัยที่ 5️⃣
ภาวะนี้มีโอกาสที่จะเกิดกับผู้ที่มีประวัติว่าสมาชิกในครอบครัว👨👩👧ประสบกับภาวะนี้มาก่อน
จะเห็นแล้วนะคะว่าภาวะต้านฟอสโฟลิพิดนั้นเป็นปัจจัยที่อันตรายมากเลยทีเดียวสำหรับคุณแม่ที่กำลังมีเจ้าตัวน้อยในครรภ์🤰 แต่สำหรับคุณผู้อ่านทั่วไปที่ไม่ได้กำลังตั้งครรภ์ ภาวะนี้ก็ถือว่าเป็นภาวะที่อันตรายมากเช่นเดียวกันค่ะ ดังนั้นหากคุณผู้อ่านพบว่าตนเองหรือคนใกล้ตัว กำลังมีอาการเสี่ยงของภาวะต้านฟอสโฟลิพิด ควรรีบเข้ารับการตรวจร่างกายและการวินิจฉัยจากแพทย์ทันที👩⚕️ ไม่ควรเห็นว่าเป็นเรื่องเล็กน้อยและมองข้ามค่ะ