ประเด็นหนึ่งที่สามารถบ่งบอกพัฒนาการทางด้านร่างกายของเด็กนั้นก็คือเรื่องน้ำหนัก แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่าเจ้าตัวน้อย👶ของเรามีน้ำหนักที่เป็นไปตามเกณฑ์ปกติหรือไม่ น้ำหนักน้อยหรือมากเกินไปหรือเปล่า จำเป็นไหมที่ต้องปรับโภชนการ🍲ให้ลูก บทความนี้มีคำตอบให้คุณผู้อ่านค่ะ แต่ก่อนที่เราจะทราบว่าน้ำหนักตัวของเด็กน้อยเกินไปหรือมากเกินไป เราควรทราบน้ำหนักตัวตามเกณฑ์มาตรฐานที่ควรจะเป็นในแต่ละช่วงอายุเสียก่อน เราไปดูพร้อมกันเลยค่ะ💁♀️
ทารกในแต่ละเดือนควรมีน้ำหนักตัวเท่าไร?
🌟ในทารกแรกคลอด
โดยทั่วไปจะมีน้ำหนักตัวอยู่ที่ประมาณ 2.5 กิโลกรัม ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อนอะไรตั้งแต่อยู่ในท้องของคุณแม่ค่ะ และในช่วงภายใน 3 เดือนแรกก็จะมีน้ำหนักตัวเพิ่มประมาณ 600-900 กรัม แต่หากคลอดมาแล้วมีน้ำหนักตัวมากกว่า 4 กิโลกรัมทันที มีความเสี่ยงที่จะทำให้เจ้าตัวน้อยมีโอกาสเป็นเบาหวานและโรคอ้วนมากกว่าคนปกติในอนาคต สาเหตุมักจะมาจากการที่คุณแม่มีน้ำหนักตัวมากหรือเป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว ไม่ว่าจะก่อนตั้งครรภ์หรือช่วงตั้งครรภ์🤰พอดี รวมถึงคุณแม่ที่ตั้งครรภ์มาแล้วหลายครรภ์ ลูกๆที่เกิดจากครรภ์หลังๆก็มีโอกาสที่จะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นค่ะ
🌟ในทารกที่มีอายุตั้งแต่ 4-6 เดือน
น้ำหนักของเด็กๆจะเพิ่มประมารเดือนละ 450-600 กรัม เนื่องจากดื่มนมคุณแม่ได้มากขึ้นเพราะมีกิจวัตรประจำวันหรือเวลาในการตื่น กิน และนอนที่ชัดเจน ในช่วงวัยนี้ยังเป็นวัยที่สามารถรับประทานอาหารอื่นๆนอกจากดื่มน้ำนม🍼ของคุณแม่ได้แล้วอีกด้วยค่ะ ดังนั้นเมื่อเจ้าตัวน้อยมีอายุประมาณ 6 เดือน ก็จะมีน้ำหนักประมาณ 2 เท่าของช่วงแรกคลอดค่ะ
🌟ในทารกที่มีอายุ 7-9 เดือน
เด็กๆจะมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 300-400 กรัมค่ะ จะสังเกตว่าอัตราการเพิ่มน้ำหนักนั้นลดลงกว่าช่วงก่อนหน้า เนื่องจากเป็นช่วงที่ระบบเผาผลาญของเจ้าตัวน้อยทำงานดีขึ้น เพราะมีกิจกรรมทางด้านร่างกายที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการคลาน🚼 หัดตั้งไข่ เริ่มเกาะเดิน น้ำหนักที่เพิ่มในแต่ละเดือนจึงมีอัตราที่ลดลงค่ะ
🌟ในทารกที่มีอายุประมาณ 10-12 เดือนหรือเกือบขวบปี
เด็กๆจะมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 300 กรัม ซึ่งก็อาจจะลดลงกว่าช่วงก่อนหน้าเล็กน้อย แต่ก็เป็นเหตุผลเดียวกับช่วงก่อนหน้าเลย ก็คือการที่ระบบเผาผลาฐของเจ้าตัวน้อยทำงานดีขึ้น ประกอบกับเป็นช่วงที่ฟันน้ำนม🦷ของเด็กจะเริ่มขึ้นด้วย ทำให้เด็กๆอาจมีอาการระคายเคืองบริเวณเหงือก จึงไม่ค่อยอยากรับประทานอาหารนั่นเองค่ะ
🌟เด็กๆที่มีอายุ 1 ขวบขึ้นไป
น้ำหนักของเด็กจะเพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 200 กรัมค่ะ แต่จะเป็นช่วงที่อัตราการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัวในแต่ละเดือนไม่ค่อยคงที่แล้ว ขึ้นอยู่กับกิจกรรมทางด้านร่างกายและพฤติกรรมการกินอาหาร🍽️ รวมถึงชนิดของอาหารที่กินด้วยค่ะ
ลูกมีน้ำหนักไม่เป็นไปตามเกณฑ์ควรทำอย่างไร
🔽ในกรณีที่เจ้าตัวน้อยมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์
หากเป็นช่วงที่ลูกยังดื่มน้ำนม🤱ของคุณแม่อยู่ อาจแก้ปัญหาได้ด้วยการให้น้ำนมบ่อยขึ้น พยายามให้เด็กดูดจนอิ่มและคายจุกออกมาเอง ไม่บังคับไม่ลูกคายก่อนหน้านั้น ส่วนเด็กๆที่มีการดื่มนมผงแทนก็อาจค่อยๆเพิ่มปริมาณนมผงขึ้น และควรดื่มให้หมดตามปริมาณที่แนะนำในแต่ละครั้งค่ะ ในส่วนของเด็กที่มีอายุต้งแต่ 6 เดือนขึ้นไปซึ่งเป็นวัยที่สามารถรับประทานอย่างอื่นมากกว่าการดื่มนมแม่ได้แล้ว คุณแม่อาจจัดมื้ออาหารของลูกให้ถี่ขึ้นได้ค่ะ อีกสิ่งที่สำคัญนอกไปจากการดื่มนม🍼และการรับประทานอาหาร คือการทำให้เจ้าตัวน้อยได้พักผ่อนด้วยการนอนหลับ😴อย่างเพียงพอค่ะ
🔼ในกรณีที่ลูกมีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์
สิ่งที่คุณแม่ควรทำคือเริ่มควบคุมโภชนาการ🥦ของลูกในแต่ละมื้อค่ะ พยายามอย่าให้นมบ่อยเกินไป หากรับประทานอาหารอื่นๆได้แล้วก็ต้องควบคุมปริมาณไม่ให้มากเกินไป และอย่าแก้ปัญหาด้วยการให้นมหรืออาหารทุกครั้งที่เด็กร้อง😭ค่ะ เพราะบางทีเด็กๆอาจต้องการเพียงความสนใจของคุณพ่อคุณแม่เฉยๆแต่ไม่ได้หิวค่ะ สิ่งที่ควรระวังคือยังไม่ควรให้เด็กในวัยนี้ได้กินอาหารขยะหรือจั๊งค์ฟู้ด🍟 รวมไปถึงอาหารรสจัด ไม่ว่าจะเป็นอาหารหวานจัด เค็มจัด หรือเปรี้ยวจัด งดของทอดและของหมักดองค่ะ
อ่านมาถึงตรงนี้ คุณผู้อ่านก็จะทราบเป็นที่เรียบร้อยแล้วนะคะว่า น้ำหนักตามเกณฑ์มาตรฐานของทารกในแต่ละช่วงวัยควรอยู่ที่เท่าไหร่ เจ้าตัวน้อยของเรามีน้ำหนักเป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่ หากไม่เป็นไปตามเกณฑ์สามารถแก้ไขอย่างไรได้บ้าง แค่หากพยายามแก้ไขด้วยตนเองแล้วยังไม่ได้ผล ควรเข้ารับคำปรึกษาและคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ👩⚕️ เพื่อตรวจสอบว่าทารกมีความผิดปกติหรือภาวะแทรกซ้อนใดเกิดขึ้นกับร่างกายหรือไม่ มีแนวทางการรักษาและปรับโภชนาการอย่างไรค่ะ