post-title

วิธีกระตุ้นให้ลูกพูด



     ประเด็นหนึ่งที่เป็นประเด็นที่น่ากังวลสำหรับคุณพ่อคุณแม่ก็คือการที่เจ้าตัวน้อยอาจมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กคนอื่นๆใช่ไหมคะ และหนึ่งในพัฒนาการที่สังเกตได้ง่ายที่สุดก็คือทักษะการพูดนั่นเอง🗣️ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกของเรามีความเร็วในการพัฒนาทักษะการพูดที่ตามเกณฑ์ ไม่ได้ผิดปกติหรือล่าช้าใดๆ ทำไมเด็กจึงพูดไมไ่ด้เสียที และหากต้องการกระตุ้นให้เจ้าตัวน้อยพูดได้เร็วๆจะทำอย่างไรได้บ้าง บทความนี้มีคำตอบให้คุณผู้อ่านค่ะ💁‍♀️


พัฒนาการด้านการพูดของเด็กในเกณฑ์ปกติ

🌟สำหรับทารกอายุ 1-4 เดือน

ประมาณ 4 เดือนแรกของเจ้าตัวน้อยจะเป็นช่วงที่ทารกสนใจในเรื่องของเสียง มีการตอบสนองต่อเสียงอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเสียงสิ่งแวดล้อมรอบตัวหรือเสียงสนทนาของผู้คน🗣️ เป็นช่วงที่เด็กยังพูดเป็นคำไม่ได้อย่างแน่นอนค่ะ แต่จะเริ่มต้นทักษะการพูดด้วยการเปล่งเสียงอ้อแอ้ไม่เป็นคำแทน เป็นทักษะที่พัฒนามาจากการส่งเสียงงอแงระหว่างร้องไห้ค่ะ😭

🌟สำหรับเด็กเล็กที่มีอายุประมาณ 5-6 เดือนหรือครึ่งปี 

เจ้าตัวน้อยจะตอบสนองต่อเสียงได้อย่างชัดเจนมากขึ้นผ่านพฤติกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะหันไปหาเวลาโดนเรียก มองหน้าคุณพ่อคุณแม่เวลาคุยด้วย เริ่มเรียนรู้ที่จะใช้ระดับ โทนเสียง🔊 หรือน้ำเสียงที่ต่างกันในแต่ละสถานการณ์เพื่อบ่งบอกว่ากำลังพอใจไม่สบายใจ กำลังมีความสุข🥰 สบายตัวหรือไม่

🌟สำหรับเจ้าตัวน้อยที่มีอายุประมาณ 9-12 เดือนหรือประมาณ 1 ปี

 เด็กจะเริ่มพูดได้โดยเลียนแบบการออกเสียงจากคำที่ได้ยิน👂บ่อยๆ เริ่มเข้าใจประโยคไม่ซับซ้อนที่มาจากผู้ปกครอง มักออกเสียงเป็นคำๆไป เริ่มลอกเลียนแบบโทนเสียงและการออกเสียงของคุณพ่อคุณแม่หรือสมาชิกครอบครัว👨‍👩‍👧‍👦คนอื่นๆที่อยู่ด้วยกันอย่างใกล้ชิด แม้จะยังไม่สามารถเรียบเรียงประโยคหรือพูดคำนั้นๆได้อย่างชัดเจนและคล่องแคล่ว แต่ก็เป็นช่วงอายุที่พอจะสื่อสารเข้าใจแล้วค่ะ

🌟สำหรับเด็กที่มีอายุประมาณขวบครึ่งเป็นต้นไป

เด็กจะมีการออกเสียงที่ชัดเจนมากขึ้น เริ่มเรียนรู้ที่จะเรียงประโยค🔠ตามคุณพ่อคุณแม่ ทำให้สื่อสารได้เข้าใจมากยิ่งข้ึน ยิ่งในเด็กที่อายุประมาณ 2 ขวบขึ้นไปก็จะสามารถสื่อสารสองทาง🗣️กับคู่สนทนาได้ค่อนข้างดีและเข้าใจง่ายขึ้นแล้วค่ะ


สาเหตุที่ลูกพูดได้ช้า

    จากเกณฑ์พัฒนาการตามปกติของเด็กที่เราได้กล่าวถึงไปในหัวข้อก่อนหน้า หากคุณพ่อคุณม่สังเกตแล้วว่าเจ้าตัวน้อยของเรามีพัฒนาการที่ช้ากว่าเกณฑ์ จะเกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้างเราไปดูกันเลยค่ะ

💫ฝึกให้ลูกพูดได้หลายภาษามากเกินไป 

ภาษาของแต่ละประเทศนั้นนอกจากจะมีคำศัพท์และตัวอักษร🔠ที่ต่างกันแล้ว ยังมีโครงสร้างประโยคที่มีผลต่อระบบความคิดของเด็กที่ต่างกันด้วย ดังนั้นการฝึกให้ลูกพูดได้หลายๆภาษาในวัยที่ยังเด็กเกินไปนั้นไม่ได้ส่งผลดีต่อเด็กเลย เพราะจะทำให้เด็กๆงงและไม่สามารถเข้าใจได้ถูกต้องแม้แต่ภาษาเดียวค่ะ

💫ขาดการสื่อสารสองทาง 

คุณพ่อคุณแม่อาจเป็นฝ่ายพูดกับลูกอย่างเดียว ไม่ได้ตั้งคำถามหรือทำอะไรที่แสดงให้เขาเห็นว่าต้องการการตอบสนอง เด็กจึงไม่พยายามสื่อสารกับผู้ปกครองด้วยการพูดค่ะ ยิ่งไปกว่านั้นหากปล่อยลูกไว้คนเดียว ไม่ค่อยได้พูดกับเด็ก เด็กยังมีโอกาสที่จะมีภาวะออทิสติกเทียมอีกด้วยค่ะ😶


จะกระตุ้นพัฒนาการทางการพูดของเด็กได้อย่างไร

วิธีที่ 1️⃣

เมื่อเห็นว่าเจ้าตัวน้อยกำลังพยายามออกเสียง🗣️ ให้คุยกับเขาอย่างใส่ใจและใจเย็น สอนเด็กออกเสียงแต่ละคำช้าๆ ลากเสียงยาวๆให้เด็กทำตามค่ะ

วิธีที่ 2️⃣

หากลูกสงสัยและถามว่าสิ่งรอบตัวคืออะไร ให้ตอบคำถามเขาอย่างช้าๆและใจเย็น แม้จะโดนถามซ้ำๆในสิ่งเดิมๆก็ให้ตอบคำเดิมๆ เพราะการที่เขาได้ยินการออกเสียงและได้เห็นรูปปาก👄แบบชัดๆ ซ้ำๆจะทำให้เด็กเลียนแบบได้ง่ายและรวดเร็วขึ้นค่ะ

วิธีที่ 3️⃣

เพิ่มกิจกรรมในการสื่อสารแบบสองทาง พูดง่ายๆก็คือกิจกรรมที่ต้องใช้การพูดคุยโต้ตอบ ยกตัวอย่างเช่นการเล่านิทาน📕ค่ะ

วิธีที่ 4️⃣

ฝึกให้ลูกร้องเพลง🎤 เพราะการร้องเพลงนั้นเป็นการฝึกทักษะการออกเสียงและควบคุมเสียง จะทำให้เด็กพูดเป็นคำที่ชัดเจนได้รวดเร็วมากขึ้นค่ะ

วิธีที่ 5️⃣

ให้โอกาสเด็กๆได้มีสังคม👯‍♀️ ซึ่งก็คือเด็กๆด้วยกันนั่นเอง เมื่อเจ้าตัวน้อยได้เจอเด็กๆคนอื่นก็จะเริ่มเรียนรู้ที่จะสื่อสารกัน เป็นอีกหนึ่งวิธีในการฝึกฝนทักษะการพูดที่เหมาะสมค่ะ

     ข้อควรระวังและต้องการการดูแลเป็นพิเศษหนึ่งประเด็น เนื่องจากเป็นช่วงที่เด็กๆกำลังเรียนรู้การออกเสียงและพยายามที่จะเลียนแบบ หากเด็กๆได้ยินคำที่ไม่ดีหรือไม่เหมาะสมกับวัยมา เขาก็มีโอกาสที่จะพูดตามเช่นเดียวกันค่ะ หากคุณพ่อคุณแม่ได้ยินก็ควรตั้งสติและใจเย็นไว้ก่อน เพราะเด็กๆมักจะพูดไปโดยที่ไม่รู้ถึงความหมายและบริบทการใช้งานอย่างชัดเจน คุณพ่อคุณแม่ควรสอนว่าคำนี้ปกติแล้วจะถูกใช้ในสถานการณ์ไหน และลูกๆควรใช้หรือไม่ควรใช้ ก็จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา🆎และสังคมให้เด็กได้ค่ะ