post-title

ลูกติดมือถือ เสี่ยงเป็นออทิสติกเทียม!

     คุณผู้อ่านหลายท่านคงเคยได้ยินหรือเคยรู้จักกับภาวะหรืออาการออทิสติกมาบ้างใช่ไหมคะ แต่สำหรับคำว่า “ออทิสติกเทียม” นั้นเป็นคำที่ค่อนข้างใหม่ เรียกว่าพึ่งมาให้เราได้เห็นกันในช่วงที่เทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดดซึ่งก็คือปัจจุบันนั่นเอง วันนี้บทความของเราจะพาคุณผู้อ่านไปทำความเข้าใจกับภาวะออทิสเทียมให้มากขึ้นกัน ไปเริ่มกันเลยค่ะ💁‍♀️


ทำความรู้จักภาวะออทิสติคเทียมเบื้องต้น

ภาวะออทิสติกนั้นสามารถเรียกอีกชื่อได้ว่า “พฤติกรรมคล้ายออทิสติก” นั่นก็หมายความว่าผู้ที่กำลังประสบกับภาวะนี้ไม่ได้กำลังเป็นออทิสติกจริงๆ และผู้ที่เป็นภาวะนี้มักจะเป็นเด็ก ทำให้เราสามารถให้ความหมายกับภาวะออทิสติกเทียมได้ว่า เป็นพฤติกรรมที่ส่งผลให้เด็กมีปัญหาทางด้านการสื่อสาร🙊กับผู้อื่น สาเหตุคือการที่พ่อแม่ขาดการปฏิสัมพันธ์กับลูก ไม่ยอมพูดคุยหรือเล่นกับลูก ปล่อยลูกทิ้งไว้กับอุปกรณ์สื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน📱 แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์💻 มากเกินไป โดยปกติการสื่อสารจะสำเร็จได้ต้องเกิดจากสองทาง นั่นคือผู้ให้สารกับผู้รับสาร เจ้าตัวน้อยต้องได้รับสารและได้ตอบโต้ แต่การที่ลูกได้รับสารจากการเล่นเครื่องมือสื่อสารนั้นเป็นการสื่อสารทางเดียว ทำให้เด็กขาดการกระตุ้นในการสื่อสาร ความสามารถในการสื่อสารกับผู้คนรอบตัวจึงต่ำหรืออาจทำไม่ได้เลยนั่นเองค่ะ

ต่างจากออทิสติกแท้อย่างไร?

ภาวะหรือโรคออทิสติกธรรมดาหรือออทิสติกแท้นั้น เป็นความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับพัฒนาการสมอง🧠ของเจ้าตัวน้อยตั้งแต่อยู่ในครรภ์🤰 ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการหล่อหลอมจากสิ่งแวดล้อมภายนอกค่ะ ถึงแม้ว่าลักษณะของอาการนั้นจะมีความคล้ายคลึงกันทั้งออทิสติกแท้และออทิสติกเทียม แต่หากเด็กที่มีภาวะออทิสติกเทียมนั้นถูกกระตุ้นให้มีปฏิสัมพันธ์กับสังคมอย่างเหมาะสมนั้น แม้จะเป็นการกระตุ้นในระยะเวลาสั้นๆก็จะสามารถหายจากภาวะดังกล่าว กลับมามีพัฒนาการทางด้านการเข้าสังคมอย่างเหมาะสมได้ค่ะ ในขณะที่เด็กที่เป็นออทิสติกแท้นั้นจำเป็นต้องได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสมและอาจต้องการการรักษาในเชิงการใช้ยาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ👨‍⚕️เพิ่มเติม จึงจะสามารถอยู่ร่วมกับสังคมได้ค่ะ

อาการออทิสติกเทียม vs ออทิสติกแท้

เด็กที่เป็นออทิสเทียมจะเรียกไม่หัน ไม่สนใจเสียงเรียกอย่างชัดเจน ในขณะที่เด็กที่เป็นออทิสติกแท้นั้นจะบกพร่องในการเข้าสังคมไปเลย ซึ่งอาจหมายถึงไม่ปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างเช่นเดียวกัน😶 หรืออาจปฏิสัมพันธ์ได้อย่างไม่เหมาะสมค่ะ

เด็กที่เป็นออทิสติกเทียมจะมีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาที่ปกติ🤓 แต่เด็กที่เป็นออทิสติกแท้มีโอกาสที่จะบกพร่องทางด้านสติปัญญา

เด็กที่เป็นออทิสติกเทียมนั้นมักจดจ่ออยู่กับแค่เครื่องมือสื่อสาร📱ที่ผู้ปกครองทิ้งไว้ให้เล่นด้วย ทำอะไรซ้ำๆ พูดตามสื่อที่กำลังดูซ้ำๆ ในขณะที่เด็กที่เป็นออทิสติกแท้จะไม่ค่อยมีพฤติกรรมดังกล่าวค่ะ


ป้องกันภาวะออทิสติกเทียมในเด็กได้อย่างไร

วิธีที่ 1️⃣ 

คุณพ่อคุณแม่รวมไปถึงสมาชิกในครอบครัว👨‍👩‍👧คนอื่นๆควรมีปฏิสัมพันธ์กับเจ้าตัวน้อยบ่อยๆ ไม่ว่าจะเป็นการพูดคุย🗣️ หรือการเล่นด้วย ทำกิจกรรมด้วยก็ได้ทั้งนั้นค่ะ เพื่อให้เกิดการกระตุ้นพัฒนาการทางด้านการเข้าสังคมของเด็กด้วยการสื่อสารแบบสองทาง ได้ทั้งรับสารและได้โต้ตอบกับผู้คนจริงๆ หากเด็กโตประมาณหนึ่งนั้นสามารถส่งเสริมการพูดคุยกับผู้คนภายนอกครอบครัวเพิ่มเติมด้วยได้ค่ะ

วิธีที่ 2️⃣

ไม่ทิ้งลูกให้อยู่กับเครื่องมือสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฟน📱 แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์💻 อาจไม่ถึงกับเป็นการหักดิบบังคับไม่ให้ลูกเล่นไปเลย🙅‍♀️ แต่เป็นการเล่นแบบมีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด จะเป็นการเล่นไปพร้อมกับลูกก็ได้ค่ะ จะได้ตรวจสอบว่าสื่อที่เด็กกำลังเสพนั้นเหมาะสมหรือไม่ และมีการพูดคุยกับลูกไปด้วยได้ อีกทั้งยังควรมีการกำหนดระยะเวลาการเล่นต่อวันให้ชัดเจน ไม่ควรเกิน 1 ชั่วโมงต่อวันค่ะ

     จะเห็นแล้วนะคะว่าภาวะออทิสติกเทียมนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ค่อนข้างง่าย ในยุคที่มีเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ก้าวหน้าเช่นในปัจจุบัน แต่ในขณะเดียวกันเราก็สามารถหลีกเลี่ยงมันได้เช่นเดียวกัน สิ่งสำคัญคือความเอาใจใส่ของคุณพ่อคุณแม่👨‍👩‍👧หรือผู้ปกครองที่จะต้องมีเวลาให้เจ้าตัวน้อยค่ะ