post-title

น้ำคร่ำน้อย อันตรายต่อลูก!

     น้ำคร่ำนั้นเป็นของเหลวที่ช่วยพยุงร่างกายของเจ้าตัวน้อยในครรภ์ของคุณแม่🤰 จะช่วยลดแรงกระทบกระเทือนหรือการกดทับจากอวัยวะภายในบริเวณระบบสืบพันธุ์ ทำให้ทารกในครรภ์ได้รับแรงกระทบกระเทือนเหล่านั้นน้อยที่สุด นอกจากนี้ยังช่วยในการรักษาสมดุลน้ำ💧และแร่ธาตุของทารก ควบคุมสมดุลอุณภูมิ🌡️สิ่งแวดล้อมรอบร่างกายของทารก นับว่าเป็นหนึ่งในกลไกตามธรรมชาติของร่างกายคุณแม่ที่มีไว้เพื่อรักษาความปลอดภัยของทารกในครรภ์ แล้วถ้าหากของเหลวดังกล่าวมีปริมาณที่น้อยกว่าปกติ จะส่งผลเสียต่อเด็กในครรภ์อย่างไรได้บ้าง เราไปดูกันเลยค่ะ💁‍♀️


ทำความรู้จักภาวะน้ำคร่ำน้อย

ภาวะน้ำคร่ำน้อยหรือที่มีชื่อทางการแพทย์ว่า “Oligohydramnios” เป็นภาวะที่ปริมาณน้ำคร่ำ💧ในครรภ์ของคุณแม่ต่ำกว่าปกติ โดยทั่วไปคุณแม่จะมีปริมาณน้ำคร่ำประมาณ  700-900 มิลลิลิตร แต่คุณแม่ที่ประสบกับภาวะนี้จะมีน้ำคร่ำเพียง 100-300 มิลลิลิตร หากคุณผู้อ่านจินจนาการไม่ออก คุณแม่จะมีปริมาณน้ำคร่ำเพียงประมาณ 1-4 ของน้ำอัดลมขวดลิตรเท่านั้นค่ะ ในบางรายอาจลดลงเหลือเพียง 2-3 มิลลิลิตรเท่านั้นซึ่งถือว่าเป็นปริมาณที่น้อยมาก ซึ่งการที่น้ำคร่ำมีปริมาณน้อยนี้มักจะส่งผลให้เกิดปัญหาทางด้านการเจริญเติบโตของทารก🚼 รวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนต่างๆตั้งแต่อยู่ในครรภ์ค่ะ

สาเหตุของการเกิดภาวะน้ำคร่ำน้อย

มีโอกาสที่จะเกิดจากความผิดปกติของร่างกายทารกในครรภ์เองค่ะ ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติทางด้านพันธุกรรม🧬 ความผิดปกติของระบบอวัยวะต่างๆในร่างกาย มักจะเกี่ยวข้องกับระบบรักษาสมดุลและแร่ธาตุ เช่น ความผิดปกติในการทำงานของไต การอุดตันของท่อระบบทางเดินปัสสาวะ สิ่งเหล่านี้เป็นผลกระทบจากภาวะที่ทารกโตช้าในครรภ์🤰ได้เช่นเดียวกันค่ะ ระบบต่างๆในร่างกายจึงไม่สมบูรณ์ หรืออาจมีสาเหตุมาจากสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ตัวทารกเอง ยกตัวอย่างเช่นความผิดปกติของรกแม่ หรือการเกิดภาวะน้ำคร่ำรั่ว คุณแม่มีภาวะเบาจืด ครรภ์เป็นพิษ การที่คุณแม่ใช้ยาบางกลุ่ม💊 หรือมาจากภาวะที่เกี่ยวกับแฝดในกรณีที่คุณแม่มีลูกแฝด👯‍♂️ก็เป็นไปได้เช่นกันค่ะ

ความเสี่ยงต่อทารกในครรภ์

👉ทารกในครรภ์มีโอกาสโดนมดลูกของคุณแม่กดทับบริเวณผนังทรวงอก ทำให้ปอด🫁และผนังทรวงอกขยายตัวได้ไม่เต็มที่ค่ะ

👉ทารกมีโอกาสที่จะรับน้ำเข้าไปในทางเดินระบบหายใจ😪ของปอดไม่ได้ ทำให้พัฒนาการของปอดเป็นไปได้ช้าลงหรืออาจหยุดการเจริญไปเลยค่ะ

👉เนื่องจากภาวะดังกล่าวส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญของปอด หากปอดหยุดพัฒนาก็จะส่งผลให้ทารกมีการทำงานของปอดที่ผิดปกติตั้งแต่อยู่ในครรภ์🤰ค่ะ

👉มีความเสี่ยงที่จะทำให้ทารกมีภาวะแทรกซ้อนที่เรียกว่า กลุ่มอาการพอตเตอร์ หรือ Potter syndrome ซึ่งจะเป็นภาวะที่อวัยวะภายนอกต่างๆ (ส่วนใหญ่จะเป็นระยางค์) รวมไปถึงใบหน้าของทารกผิดรูป🫠 ไปจนถึงอวัยวะภายในที่ผิดปกติอย่างอาการปอดแฟบ เมื่อปอดแฟบก็จะทำให้ทารกสามารถรับออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้น้อยลง ส่งผลให้เกิดกวามผิดปกติด้านพัฒนาการของสมอง🧠ตามมาค่ะ

👉ในคุณแม่ที่มีอายุครรภ์น้อยๆ มีโอกาสสูงมากที่จะทำให้ทารกเสียชีวิต💀ตั้งแต่อยู่ในครรภ์ค่ะ เบาลงมาหน่อยก็จะเป็นการที่ทารกพิการตั้งแต่อยู่ในครรภ์ตามอาการต่างๆที่เราได้กล่าวมาในข้อด้านบนค่ะ


แนวทางการรักษาภาวะน้ำคร่ำน้อย

วิธีที่ 1️⃣

การให้คุณแม่รับประทานน้ำเพิ่มขึ้น🍶 ถือเป็นการบรรเทาภาวะน้ำคร่ำน้อยที่คุณแม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่ทำได้ชั่วคราวในระยะเวลาสั้นๆเท่านั้นค่ะ

วิธีที่ 2️⃣

แพทย์อาจเลือกใช้วิธีเติมน้ำคร่ำ หรือมีการใช้สารเคลือบถุงน้ำคร่ำ หากวินิจฉัยว่าการที่น้ำคร่ำน้อยนั้นเกิดจากการที่ถุงน้ำคร่ำของคุณแม่มีการรั่ว

วิธีที่ 3️⃣

ในกรณีที่แพทย์วินิฉัยว่าภาวะน้ำคร่ำน้อยของคุณแม่มาจากการเจริญเติบโตที่ช้าของทารกในครรภ์ แพทย์👩‍⚕️จะทำการรักษาภาวะเจริญเติบโตช้าไปด้วยอย่างเหมาะสมค่ะ ขึ้นอยู่กับว่าทารกมีการเจริญเติบโตที่ช้าจากสาเหตุใด

     อย่างไรก็ตาม ภาวะน้ำคร่ำน้อยถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงค่ะ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต💀ของเจ้าตัวน้อยในครรภ์ได้เลย ดังนั้นการฝากครรภ์ไว้กับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก อีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคือการสังเกตภาวะความผิดปกติในร่างกายของคุณแม่เองค่ะ หากพบอาการแปลกๆที่ไม่ควรจะเกิดในช่วงอายุครรภ์นั้นๆ ก็ไม่ควรละเลย และควรรีบเข้าพบแพทย์เจ้าของครรภ์👩‍⚕️ทันทีค่ะ