สายสะดือนั้นนับเป็นหนึ่งในอวัยวะที่สำคัญของการตั้งครรภ์🤰 เนื่องจากเป็นช่องทางหรือตัวเชื่อมระหว่างคุณแม่และเจ้าตัวน้อยในครรภ์ มีความยาวประมาณ 30-100 เซนติเมตรและบิดเป็นเกลียวป้องกันการพับงอ ซึ่งจอาจทำให้เส้นทางนั้นอุดตัน ใช้ในการแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจนที่ใช้ในการหายใจ แลกเปลี่ยน🔁สารอาหารจากคุณแม่ไปยังเด็ก และลำเลียงของเสียออกจากร่างกายเด็ก จึงเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่ขาดไม่ได้ในการมีชีวิตอยู่ของทารกในครรภ์ แต่ในทางกลับกันสายสะดือก็อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ด้วยภาวะสายสะดือพันคอได้เช่นกัน บทความนี้จะพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับภาวะดังกล่าวให้มากขึ้นกันค่ะ💁♀️
สาเหตุของภาวะสายสะดือพันคอ
👉อาจเกิดจากทารกในครรภ์เอง
ซึ่งก็คือการที่เจ้าตัวน้อย🚼ในครรภ์นั้นมีการพลิกตัวหรือดิ้นมากเกินไป
👉อาจเกิดจากความผิดปกติของลักษณะสายสะดือ
นั่นก็คือการที่สายสะดือนั้นยาวมากกว่าปกติ ยิ่งยาวก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูง แต่ในขณะเดียวกันการที่สายสะดือสั้นเกินไปก็อาจเกิดให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์อื่นๆเช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากโครงสร้างของสายสะดือที่มีความผิดปกติ จนอาจทำให้คดเคี้ยว ตีบและพันกัน🧬ได้ง่ายค่ะ
👉อาจเกิดจากการที่คุณแม่มีน้ำคร่ำในถุงน้ำคร่ำมากเกินไป
การมีน้ำ💧ในถุงน้ำคร่ำเป็นการอำนวยความสะดวกให้เจ้าตัวน้อยเคลื่อนไหวภายในครรภ์ได้ง่ายขึ้น ทารกจึงมีแนวโน้มที่จะเคลื่อนไหวมากขึ้นนั่นเองค่ะ
👉อาจเกิดจากการที่คุณแม่กำลังอุ้มครรภ์แฝดค่ะ
สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ลูกแฝด👯♂️ มีโอกาสที่ลูกจะเป็นภาวะสายสะดือพันคอได้ค่ะ
ความเสี่ยงเมื่อทารกโดนสายสะดือพันคอ
▶️ทารกจะมีภาวะขาดออกซิเจนตั้งแต่ตอนอยู่ในครรภ์
ส่งผลให้อัตราการเต้นของหัวใจ🫀นั้นผิดปกติ ซึ่งอาจนำไปสู่การที่ทารกเสียชีวิตในครรภ์ในเวลาต่อมาได้ หากไม่อยู่ในความดูแลของสูตินรีแพทย์อย่างทันท่วงทีค่ะ แต่หากไม่ถึงกับเสียชีวิต ก็จะส่งผลให้ทารกมีภาวะเติบโตช้าในครรภ์แทน ไม่ว่าจะเป็นการที่ทารกจะมีขนาดร่างกาย น้ำหนักตัว รวมไปถึงพัฒนาการทางสมอง🧠ที่ผิดปกติค่ะ
▶️เกิดภาวะขี้เทาในน้ำคร่ำ
เนื่องจากช่วงเวลาที่สายสะดือมีการพันร่างกายของทารก อาจมีการตีบหรือพับ ทำให้ช่องทางการไหลผ่านของของเสียที่มาจากร่างกายของทารกไปยังคุณแม่นั้นเกิดการตัน เมื่อทารกอุจจาระ💩 ของเสียเหล่านั้นก็ไปไหนไม่ได้และค้างอยู่ในน้ำคร่ำ ทารกจึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะกลืนน้ำคร่ำที่เป็นของเสียของตนเองและสำลัก🤢 เป็นอันตรายต่อทารกโดยตรงค่ะ
▶️เสี่ยงที่จะมีภาวะเลือดเป็นกรด
ทารกมีความเสี่ยงที่จะมีภาวะเลือดเป็นกรด🩸 และเกิดความผิดปกติของพัฒนาการทางด้านระบบประสาทค่ะ
✨วิธีป้องกันภาวะสายสะดือพันคอ
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีที่สามารถป้องกันภาวะสายสะดือพันคอทารกได้อย่างชัดเจนค่ะ แต่หากทำการฝากครรภ์กับโรงพยาบาล🏥 มีสูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยดูแล มาตรวจครรภ์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ แพทย์ก็จะคอยติดตามภาวะสุขภาพของเจ้าตัวน้อยในครรภ์ได้ด้วยการอัลตร้าซาวด์และวัดอัตราการเต้นของหัวใจ🫀ค่ะ
วิธีแก้ไขหากเกิดภาวะสายสะดือพันคอ
วิธีที่ 1️⃣
แพทย์จะใช้วิธีการผ่าคลอดเพื่อแก้ปัญหาค่ะ เริ่มจากแพทย์👩⚕️จะต้องทำการวินิจฉัยก่อนว่าทารกมีภาวะขาดออกซิเจนจากการที่โดนสายสะดือพันตอแล้วหรือยัง หากขาดแล้วก็ต้องทำการผ่าคลอดโดยทันทีเพื่อรักษาชีวิตของเด็กในครรภ์ไว้ค่ะ
วิธีที่ 2️⃣
ในภาวะสายสะดือพันคอที่ไม่รุนแรง แพทย์อาจอนุญาตให้คุณแม่รอคลอดตามธรรมชาติ🤱 แต่อาจใช้เทคนิคเคลื่อนย้ายสายสะดือให้ไปอยู่บริเวณเหนือศีรษะของทารกแทน เพื่อป้องกันการที่สายสะดืออาจจะรัดแน่นขึ้นระหว่างช่วงคลอดค่ะ
อย่างไรก็ตาม ภาวะสายสะดือพันคอทารกในครรภ์นี้แทบไม่มีสัญญาณผิดปกติใด ที่คุณแม่จะสามารถสังเกตอย่างชัดเจนได้เลย วิธีหนึ่งที่จะทำให้ทราบถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นภายในครรภ์ที่คุณพอจะทำด้วยตนเองได้ คือการนับจำนวนครั้งที่ลูกดิ้นค่ะ (สำหรับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ในช่วง 3 เดือนสุดท้ายก่อนการคลอด) หากพบว่าเจ้าตัวน้อยในครรภ์ดิ้นน้อยกว่าปกติ คุณแม่ควรไปพบแพทย์👩⚕️ให้เร็วที่สุดค่ะ