post-title

เครียดจังลูกในครรภ์ตัวเล็กกว่าเกณฑ์

    หนึ่งในประเด็นสำคัญที่สร้างความกังวลกับคุณพ่อคุณแม่ก็คือประเด็นเรื่องพัฒนาการของเจ้าตัวน้อย👶ในครรภ์ คำว่าพัฒนาการนั้นมีหลายด้าน ในวันนี้บทความของเราจะชวนคุณผู้อ่านมาดูถึงพัฒนาการด้านหนึ่งที่สามารถชี้วัดได้แทบจะง่ายที่สุด นั่นก็คือพัฒนาการทางด้านร่างกาย🏃‍♂️นั่นเอง หากคุณผู้อ่านกำลังเป็นคุณแม่ที่มีเจ้าตัวน้อยอยู่ในครรภ์ เราจะรู้ได้อย่างไรว่าลูกของเรามีพัฒนาการทางด้านร่างกายอย่างเหมาะสมหรือไม่ น้ำหนักน้อยเกินไปหรือเปล่า ตัวเล็กเกินไปหรือเปล่า แต่ก่อนที่เราจะทราบได้ว่าเด็กในครรภ์มีขนาดตัวเหมาะสมตามเกณฑ์หรือไม่ เราต้องทราบพัฒนาการที่ถือเป็นเกณฑ์ที่เหมาะสมก่อน เราไปเริ่มกันเลยค่ะ💁‍♀️


3 ไตรมาสของพัฒนาการด้านร่างกายของเด็ก

พัฒนาการด้านร่างกายของเด็กในไตรมาสแรก (3 เดือนแรก)

💫สำหรับช่วงเดือนแรก เป็นเดือนที่เจ้าตัวน้อยพึ่งผ่านการปฏิสนธิ (ผ่านการผสมกันระหว่างเซลล์ไข่ของคุณแม่และเซลล์อสุจิของคุณพ่อ) มาได้ไม่นานนัก ในช่วงเดือนนี้หากอัลตร้าซาวด์ดูก็จะเห็นว่ายังมีลักษณะร่างกายที่ไม่เหมือนมนุษย์มากนัก เป็นเพียงก้อนเล็กๆ🚼ขนาดน้อยกว่า 2 เซนติเมตรที่ฝังตัวบริเวณมดลูกของคุณแม่เท่านั้น เนื่องจากเซลล์ร่างกายยังแบ่งตัวได้ไม่มากค่ะ

💫ในช่วงเดือนที่ 2 ลักษณะร่างกายของเด็กที่อาจจะยังดูเป็นเพียงก้อนเนื้อเล็กๆประมาณ 2-3 เซนติเมตรอยู่ จะมีส่วนหัวที่ขยายใหญ่ขึ้นกว่าระยางค์ส่วนอื่นๆ ทำให้ดูใกล้เคียงกับรูปร่างมนุษย์มากขึ้นค่ะ ในข่วงนี้หากคุณแม่ได้รับการอัลตร้าซาวด์ จะเป็นช่วงที่ทารกในครรภ์สามารถขยับได้เล็กน้อยและเริ่มเห็นก้อนหัวใจ🫀เล็กๆมี่กำลังเต้นค่ะ

💫ในช่วงเดือนที่ 3 ซึ่งถือเป็นเดือนสุดท้ายในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ ในช่วงนี้เด็กจะมีร่างกายที่ขยายใหญ่ขึ้นจนมีขนาดประมาณ 10-16 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 100 กรัม หากอัลตร้าซาวนด์ดูทารกก็จะเห็นได้ว่าเริ่มมีอวัยวะ👃บนใบหน้าที่ชัดเจน เป็นช่วงที่มีพัฒนาการของกล้ามเนื้อเป็นไปอย่างต่อเนื่องจึงสังเกตได้ว่าเด็กสามารถขัยบได้ภายในท้องของคุณแม่ ในส่วนที่การทำอัลตร้าซาวด์ไม่สามารถตรวจสอบได้ก็คือระบบประสาทและสมอง🧠 ซึ่งมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกันค่ะ

พัฒนาการด้านร่างกายของเด็กในไตรมาสกลาง (3 เดือนกลาง)

⭐️ในช่วงที่คุณแม่มีอายุครรภ์ประมาณ 4 เดือน ทารกในครรภ์จะมีขนาดร่างกายประมาณ 16-18 เซนติเมตร มีน้ำหนักร่างกายประมาณ 100-200 กรัม เริ่มเห็นระยางค์แขนขา🦵ที่ยื่นออกมาแต่ยังไม่ชัดเจนมากนัก เป็นช่วงที่ทารกมีการพัฒนาระบบประสาทและสมอง กล้ามเนื้อ💪และข้อต่อ ด้วยพัฒนาการที่ก้าวกระโดดในระบบที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวโดยตรง คุณแม่อาจรู้สึกได้ว่าเป็นช่วงที่เจ้าตัวน้อยในครรภ์ดิ้นเก่งเป็นพิเศษ เริ่มมีเส้นผมบางๆงอกขึ้นบริเวณศีรษะแล้ว และเรื่องที่น่าจะทำให้คุณพ่อคุณแม่ตื่นเต้นที่สุดในอายุครรภ์ช่วงนี้ก็คือ อวัยวะเพศของทารกจะพัฒนามากพอที่จะสามารถระบุได้ด้วยการทำอัลตร้าซาวด์แล้วค่ะ ว่าเจ้าตัวน้อยเป็นเด็กชาย👦หรือเด็กหญิง👧

⭐️ในคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ประมาณ 5 เดือน ช่วงนี้ทารกจะร่างกายที่ขยายใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่องประมาณ 23-30 เซนติเมตร หนักประมาณ 100 กรัม เป็นอีกช่วงที่คุณแม่จะสามารถรับรู้ได้ถึงการดิ้นของเจ้าตัวน้อยในครรภ์ได้อย่างชัดเจน ในช่วงนี้ทารกจะมีฟัน🦷ที่อยู่ใต้กรามแล้ว และจะเป็นช่วงที่ทารกมีพัฒนาการทางด้านระบบประสาทและสมองมากพอที่จะรับรู้ถึงสิ่งเร้าภายนอกได้ ไม่ว่าจะเป็นรส👄 กลิ่น🙊 เสียง👂 รวมไปถึงสัมผัส นั่นหมายถึงคุณพ่อคุณแม่จะเริ่มสื่อสารกับเจ้าตัวน้อยผ่านการลูบท้องของคุณแม่เบาๆได้แล้วค่ะ

⭐️ช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 6 เดือนซึ่งนับเป็นเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 ขนาดร่างกายของทารกจะค่อนข้างใกล้เคียงกับช่วงเดือนที่ 5 คือประมาณ 30-35 เซนติเมตร มีน้ำหนักระมาณ 600 กรัม นับเป็นช่วงที่ขนาดร่างกายไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดมากนัก เพราะร่างกายจะมีพัฒนาการเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของระบบอวัยวะภายในมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นระบบทางเดินอาหาร ระบบขับถ่าย💩 ระบบหายใจ👃 และระบบภูมิคุ้มกันค่ะ ในเดือนนี้ก็นับเป็นอีกช่วงที่ทารกสามารถรับรู้ถึงสิ่งเร้าภายนอกร่างกายของคุณแม่ได้ดี ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่อาจปฏิสัมพันธ์กับเจ้าตัวน้อยในครรภ์ได้โดยตรงผ่านการพูดคุย🗣️ และอาจเปิดเพลงสบายๆ🎶ให้เขาฟังค่ะ

พัฒนาการด้านร่างกายของเด็กในไตรมาสสุดท้าย (3 เดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์)

🌟ในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ได้ประมาณ 7 เดือน ทารกจะมีขนาดตัวประมาณ 35-40 เซนติเมตร หนักประมาณ 1 กิโลกรัม (1,000 กรัม) จะสังเกตว่าช่วงนี้เจ้าตัวน้อยจะมีลักษณะร่างกายอวบขึ้นเล็กน้อย เป็นผลมาจากการสะสมไขมันใต้ชั้นผิวหนังเพื่อสร้างความอบอุ่นต่อร่างกาย ระบบหายใจ👃มีการพัฒนาที่สมบูรณ์มากยิ่งขึ้นแม้จะยังไม่ได้ใช้งานด้วยตนเองโดยตรง เริ่มตอบสนองต่อแสงนอกท้องของคุณแม่ได้เนื่องจากหนังตาเริ่มเปิด👁️ นับว่าเป็นระยะที่มีพัฒนาการทางด้านร่างกายใกล้สมบูรณ์แล้วค่ะ

🌟ในช่วงที่คุณแม่มีอายุครรภ์ประมาณ 8 เดือน ขนาดร่างกายของทารกจะมีขนาดใหญ่ขึ้นอีกเล็กน้อยประมาณ 35-40 เซนติเมตร มีน้ำหนักประมาณ 1 กิโลครึ่ง ซึ่งทำให้ทารกดิ้นน้อยลงเพราะมีที่ว่างในท้องให้ดิ้นค่อนข้างแคบ เมื่ออัลตร้าซาวนด์ดูจะพบว่าศีรษะ👶ของเจ้าตัวน้อยจะกลับทิศหันหัวออกมาทางปากมดลูกของคุณแม่ค่ะ

🌟มาถึงช่วงเดือนสุดท้ายของการตั้งครรภ์ เป็นช่วงที่ทารกมีการพัฒนาของเล็บค่อนข้างสมบูรณ์แล้ว💯 ขนาดร่างกายของทารกจะไม่ได้ใหญ่ขึ้นจากเดือนที่ 8 อย่างชัดเจนมากนัก จะอยู่ในช่วงประมาณ 45-50 เซนติเมตร เป็นช่วงทีศีรษะของเด็กจ่อที่ปากมดลูกพร้อมออกมาเจอโลกกว้างภายนอกค่ะ


หากพบว่าเด็กตัวเล็กกว่าเกณฑ์ควรทำอย่างไร

ข้อที่ 1️⃣

สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการเข้ารับการตรวจร่างกายด้วยการอัลตร้าซาวด์กับแพทย์👨‍⚕️เจ้าของครรภ์ เพื่อตรวจสอบว่าเจ้าตัวน้อยถือว่าตัวเล็กเกินไปในระดับที่น่าเป็นห่วงหรือไม่ และสาเหตุของการโตช้ากว่าเกณฑ์คืออะไรค่ะ

ข้อที่ 2️⃣

คุณแม่สามารถเพิ่มปริมาณอาหาร🍲ที่รับประทานในแต่ละวันได้ แต่ยังคงเป็นอาหารกลุ่มที่มีประโยชน์🥛ต่อร่างกายและอาหารเสริม โดยรับคำแนะนำจากแพทย์เจ้าของครรภ์และนักโภชนาการเพิ่มเติมค่ะ

ข้อที่ 3️⃣

คุณแม่ควรจัดการอารมณ์ของตนเองไม่ให้เครียด หากิจกรรมที่ผ่อนคลาย🧘‍♀️ทำ และนอนหลับพักผ่อน😴อย่างเพียงพอค่ะ

     จะเห็นแล้วนะคะว่าปัจจุบันมีเกณฑ์บอกขนาดร่างกายของเจ้าตัวน้อยในครรภ์ในแต่ละช่วงอายุอย่างชัดเจน ดังนั้นหากคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์🤰เข้ารับการตรวจสุขภาพด้วยการอัลตร้าซาวด์แล้ว แม้ดูด้วยสายตาของเรา ทารกอาจมีขนาดร่างกายที่เล็กก็จริง แต่หากแพทย์ไม่ได้วินิจฉัยว่าเด็กๆมีความผิดปกติอะไร คุณแม่ก็ไม่ต้องกังวลใจไป เพราะความกังวลและความเครียดก็สามารถส่งผลเสีนต่อเด็กได้ค่ะ