post-title

อาหารเสริมคนท้อง กินตอนไหนดี?

      สำหรับพัฒนาการของเจ้าตัวน้อยในครรภ์🤰 ไม่ว่าจะด้านไหนล้วนมีปัจจัยเกี่ยวข้องหลากหลายปัจจัย หนึ่งในปัจจัยที่สำคัญก็คือสารอาหาร🍲ที่คุณแม่ได้รับ หากคุณแม่ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างเพียงพอในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะเป็นการเพิ่มความมั่นใจได้ว่าร่างกายของทารกจะมีการเจริญเติบโตในครรภ์ได้อย่างเหมาะสมและเป็นไปตามเกณฑ์ สำหรับกลุ่มอาหารหลักที่ให้พลังงาน 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน คงไม่ใช่เรื่องยากที่จะหารับประทานเท่าใดนัก แต่สำหรับอาหารในกลุ่มวิตามินและแร่ธาตุ อาจดูเป็นสิ่งที่ซับซ้อนและหารับประทานได้ยากกว่า นอกจากมื้อหลักแล้วหลายๆท่านจึงหันมารับประทานอาหารเสริมควบคู่เพื่อให้แน่ใจว่าร่างกายไม่ได้ขาดสารอาหาร 2 กลุ่มดังกล่าว วันนี้บทความของเราจะพาคุณผู้อ่านมาดูว่า ในฐานะที่เป็นคุณแม่ตั้งครรภ์ สามารถรับประทานอาหารเสริมประเภทไหนช่วงไหนได้บ้างค่ะ💁‍♀️


ประเภทหลักของอาหารเสริม

💊อาหารเสริมประเภทวิตามิน

    อันที่จริงแล้ว หากคุณผู้หญิงมีแผนในอนาคตว่าอยากมีเจ้าตัวน้อย และตนเองได้เข้าสู่ช่วงวัยเจริญพันธุ์แล้ว ก็สามารถเลือกรับประทานอาหารเสริมประเภทวิตามิน💊ได้เลยค่ะ สำหรับคุณผู้หญิงที่ยังไม่ได้ตั้งครรภ์ แนะนำเป็นวิตามินในกลุ่มบำรุงก่อนตั้งครรภ์หรือที่เรียกว่า Prenatal Vitamins ค่ะ และหากไม่ได้มีเงื่อนไขทางสุขภาพใดเป็นพิเศษ สามารถเลือกรับประทานวิตามินในรูปแบบวิตามินรวมได้ ไม่จำเป็นต้องเจาะจงไปที่วิตามินชนิดใดชนิดหนึ่งค่ะ

💊อาหารเสริมประเภทกรดโฟลิก

    กรดโฟลิก โฟเลต หรือวิตามินบี 9 นั้นล้วนแล้วแต่หมายถึงสารอาหารชนิดเดียวกัน กรดโฟลิกจะมีส่วนสำคัญในกระบวนการเสริมสร้างระบบประสาท🧠ของร่างกาย ในกรณีที่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นั้นได้รับกรดโฟลิกไม่เพียงพอ มีความเสี่ยงที่จะทำให้ทารกในครรภ์ต้องประสบกับความผิดปกติในระบบประสาทรูปแบบต่างๆ จนไปถึงภาวะกะโหลกศีรษะไม่สมบูรณ์ ดังนั้น สำหรับคุณผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์👩ที่ยังไม่ตั้งครรภ์ควรได้รับกรดโฟลิกประมาณ 0.4 มิลลิกรัมต่อวัน และหากเป็นคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์อยู่ ปริมาณที่แนะนำจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 0.4-0.8 มิลลิกรัมต่อวันแทนค่ะ ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรรับประทานเกิน 1 มิลลิกรัมต่อวันค่ะ เพราะการได้รับกรดโฟลิกที่มากเกินความจำเป็นอย่างต่อเนื่องอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม🍼และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ในกรณีที่กำลังตั้งครรภ์นั้น การได้รับกรดโฟลิกที่มากเกินไปก็อาจส่งผลให้ทารกมีความผิดปกติเกี่ยวกับระบบประสาทและสมองอยู่ดีค่ะ

💊อาหารเสริมประเภทโคลีน

    เป็นอีกหนึ่งสารอาหารที่มีบทบาทในการเสริมสร้างระบบประสาทและสมองทั้งต่อร่างกายของคุณผู้หญิงเองและต่อร่างกายของทารกในครรภ์🤰ในกรณีที่เป็นคุณแม่แล้ว นอกจากนี้ยังเสริมสร้างความสมบูรณ์ของรกแม่ด้วยค่ะ แม้จะเป็นสารอาหารที่มีความสำคัญและมีอยู่ในอาหารธรรมชาติประเภทเนื้อสัตว์🥩อยู่แล้ว แต่ก็มักจะเป็นปริมาณที่ไม่เพียงพอสำหรับคุณผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ค่ะ สำหรับคุณผู้หญิงที่ยังไม่เป็นคุณแม่ แนะนำว่าควรได้รับโคลีนประมาณ 425 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากเป็นคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ ควรเพิ่มปริมาณเป็น 450 ใิลลิกรัมต่อวัน และในกรณีที่เป็นคุณแม่ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร🤱 แนะนำว่าควรรับประทานในปริมาณมากถึง 550 มิลลิกรัมต่อวันค่ะ

💊อาหารเสริมประเภทโอเมก้า 3

    แม้จะมีชื่อว่าโอเมก้า 3🐟 แต่อันที่จริงแล้วสารอาหารประเภทนี้มีส่วนประกอบสำคัญเป็นกรด 2 ชนิด ได้แก่ EPA และ DHA ค่ะ กรด 2 ชนิดนี้ก็เป็นสารอาหารอีกกลุ่มที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการทำงานของระบบประสาทและสมอง🧠 นอกจากนี้ยังเสริมสร้างเกี่ยวกับการมองเห็น👁️ของทารกในครรภ์ นอกจากจะส่งผลต่อเจ้าตัวน้อยแล้ว ในกรณีที่เป็นคุณแม่ที่พึ่งคลอดเสร็จ สารในกลุ่มนี้ยังช่วยลดภาวะเครียด🤯หลังคลอดได้อีกด้วยค่ะ สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ แนะนำว่าควรได้รับสารทั้ง 2 ชนิดที่เป็นส่วนประกอบของโอเมก้า 3 อย่างเพียงพอ สำหรับ EPA จะแนะนำที่ปริมาณ 200-300 มิลลิกรัมต่อวัน และสำหรับ DHA จะแนะนำในปริมาณที่สูงกว่าเล็กน้อยคือ 200-500 มิลลิกรัมต่อวัน ในกรณีที่เป็นคุณผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ยังไม่เป็นคุณแม่ สามารถลดปริมาณจากที่แนะนำได้เล็กน้อยค่ะ


อาการเสริมในกลุ่มแร่ธาตุประเภทอื่นๆ

ธาตุเหล็ก 

นับเป็นธาตุที่มีบทบาทสำคัญในการบำรุงเลือด🩸ของคุณผู้หญิง ในกรณีของคุณผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ที่ยังไม่เป็นคุณแม่ ควรได้รับธาตุเหล็กไม่ต่ำกว่า 15 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากกำลังเป็นคุณแม่ ควรได้รับธาตุเหล็กในปริมาณที่สูงถึง 27-40 มิลลิกรัมต่อวันเลยค่ะ

ธาตุไอโอดีน 

เป็นธาตุที่มีบทบาทกับระบบของร่างกายหลายๆระบบรวมถึงระบบเผาผลาญของร่างกาย และเป็นที่ทราบกันดีว่าส่งผลต่อพัฒนาการทางสมอง🧠ของทารกโดยตรง ดังนั้นสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ แนะนำว่าควรได้รับไอโอดีนไม่น้อยกว่า 0.22 มิลลิกรัมต่อวันค่ะ

ธาตุสังกะสีหรือซิงค์ (Zinc) 

เป็นธาตุที่มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับความสมบูรณ์ของระบบภูมิคุ้มกัน🛡️ในร่างกายทารก รวมไปถึงความสมบูรณ์ของเซลล์ร่างกายอีกด้วย สำหรับคุณผู้หญิงในวัยเจริญพันธุ์ที่ยังไม่เป็นคุณแม่ แนะนำว่าควรได้รับสังกะสีประมาณ 8-11 มิลลิกรัมต่อวัน ส่วนในคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์สามารถรับประทานประมาณ 11 มิลลิกรัมได้เลยค่ะ แต่ก็ควรระวังไม่ให้เกิน 40 มิลลิกรัมต่อวันค่ะ

     อย่างไรก็ตาม เมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นอาหารเสริมแล้ว นั่นแปลว่าคุณผู้หญิงควรรับประทานอาหารหลัก🍲ให้เพียงพอก่อน การรับประทานอาหารเสริมจึงจะเกิดประโยชน์และมีความคุ้มค่า นอกจากนี้ทุกครั้งที่จะรับประทานอาหารเสริม หากเป็นคนที่มีโรคประจำตัวหรือเงื่อนไขทางสุขภาพบางอย่างอยู่แล้ว ควรเข้ารับการตรวจร่างกายและขอคำแนะนำจากแพทย์👩‍⚕️ก่อน ว่าตนเองสามารถรับประทานอาหารเสริมประเภทต่างๆได้หรือไม่ค่ะ