post-title

การตรวจเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์

     โรคเบาหวาน🍰นั้นถือเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน และคุณผู้อ่านหลายๆท่านคงเคยทราบมาว่าโรคเบาหวานนั้นถูกแบ่งเป็นชนิดต่างๆตามลักษณะความบกพร่องของฮอร์โมนตัวหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บน้ำตาลในกระแสเลือดไปสะสมในเซลล์ร่างกาย ฮอร์โมนตัวนั้นก็คืออินซูลินนั่นเอง แต่เมื่อพูดถึงการเป็นเบาหวานในขณะตั้งครรภ์🤰นั้นจะมีการแบ่งประเภทที่แตกต่างออกไปตามระยะเวลาการเกิดโรค แต่จะสามารถแบ่งเป็นอย่างไรได้บ้างนั้น เราไปดูกันต่อเลยค่ะ💁‍♀️


ประเภทของเบาหวานในหญิงตั้งครรภ์

💫เบาหวานที่ตรวจเจอก่อนตั้งครรภ์ 

เป็นกลุ่มของคุณผู้หญิง👩ที่เป็นเบาหวานมาตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์อยู่แล้ว โดยไม่ได้จำเพาะเจาะจงว่าเป็นเบาหวานชนิดไหน แต่ไม่ว่าจะชนิดไหนก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ได้ทั้งสิ้น ยกตัวอย่างเช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ ภาวะแท้ง🩸 ภาพว่าคลอดก่อนกำหนด ทารกเสียชีวิต💀ตั้งแต่ยังไม่คลอดหรือเสียชีวิตหลังคลอดได้ไม่นาน จนไปถึงภาวะทารกตัวโตกว่าปกติ ซึ่งค่อนข้างเสี่ยงต่อการที่ทารกจะเป็นเบาหวานตามคุณแม่เช่นกันค่ะ

💫เบาหวานที่ตรวจเจอระหว่างตั้งครรภ์ 

นับเป็นเบาหวานรูปแบบที่พบเป็นส่วนมากในหญิงตั้งครรภ์🤰เลยค่ะ แต่อันที่จริงคุณผู้หญิงอาจเป็นเบาหวานมาก่อนตั้งครรภ์ก็ได้ แต่หากพึ่งมาตรวจพบในช่วงกำลังตั้งครรภ์ก็จะนับเป็นเบาหวานประเภทนี้ค่ะ โดยส่วนใหญ่แล้ว คุณผู้หญิงที่เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ ก็จะเป็นคนที่สมาชิกในครอบครัว👨‍👩‍👧เป็นเบาหวานเช่นกัน หรือเป็นคุณผู้หญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน🐷นั่นเองค่ะ

💫เบาหวานหลังตั้งครรภ์ 

สามารถเกิดได้ค่อนข้างน้อยกว่าเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ค่ะ


ควรทำการตรวจเบาหวานระหว่างตั้งครรภ์ตอนไหน

อันที่จริงแล้ว คุณแม่สามารถตรวจภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ได้เมื่อมีอายุครรภ์ในช่วง 24-28 สัปดาห์หรือเมื่อตั้งครรภ์ได้ประมาณ 6-7 สัปดาห์นั่นเองค่ะ แต่หากในช่วงฝากครรภ์ซึ่งยังถือเป็นช่วงแรกๆของการตั้งครรภ์ หากแพทย์👨‍⚕️ซักประวัติแล้วพบว่าคุณแม่มีความเสี่ยง แพทย์ก็จะทำการตรวจคัดกรองให้ตั้งแต่ครั้งแรกของการฝากครรภ์เลยค่ะ

เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์ควรทำอย่างไร

👉เน้นการรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน🥩แทนการรับประทานคาร์โบไฮเดรตและไขมันค่ะ

👉สำหรับสารอาหารในกลุ่มคาร์โบไฮเดรตซึ่งต้องรับประทานเป็นอาหารหลัก แนะนำเป็นข้าวที่ไม่ใช่ข้าวขาว ยกตัวอย่างเช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวโอ๊ต หรืออาจเป็นอาหารที่ไม่ใช่ข้าว ยกตัวอย่างเช่น อาหารในกลุ่มวุ้นเส้น ขนมปังโฮลวีต🍞 ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่อิ่มท้องนานกว่ารับประทานข้าวขาว🍚 จะได้ไม่ต้องรับประทานข้าวบ่อยๆค่ะ นอกจากนี้ยังมีอาหารในกลุ่มผักที่ให้พลังงานเช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นแครอท🥕 ฟักทอง เผือก มัน ข้าวโพด🌽 ผักเหล่านี้นั้นสามารถรับประทานได้แต่ไม่ควรรับประทานในปริมาณที่มากเกินไปค่ะ

👉เลี่ยงอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูงทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ในกลุ่มที่มีน้ำตาลสูง เช่น ทุเรียน มะยงชิด เงาะ ลำไย รวมไปถึงสารปรุงแต่งความหวาน ที่ไม่ใช่เพียงแต่น้ำตาล แต่ยังรวมถึงน้ำเชื่อมและน้ำผึ้ง🍯อีกด้วยค่ะ

👉เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ไม่ว่าจะเป็นของทอด🍗ของมัน จนไปถึงเนื้อสัตว์ติดมัน

👉หลีกเลี่ยงอาหารประเภทใดก็ตามที่มีโซเดียมสูงหรือเค็มจัด🥴นั่นเอง

👉หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป อาหารแปรรูป รวมไปถึงบะหมี่กึ่ง🍜สำเร็จรูปด้วยค่ะ

     นอกจากการควยคุมโภชนาการ🍲แล้ว การออกกำลังกาย🏌️‍♀️เองก็เป็นหนึ่งในเครื่องมือที่จะช่วยบรรเทาความรุนแรงของโรคเบาหวานในขณะตั้งครรภ์ได้เช่นเดียวกัน และยังช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้อีกด้วยสำหรับคนที่ยังไม่เป็นเบาหวาน แม้ว่าเบาหวานจะนับเป็นโรคยอดนิยมที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั่วไป มีแนวทางการรักษา🩺ที่ชัดเจนและผู้ป่วยยังสามารถใช้ชีวิตกับคนทั่วไปได้ แต่หากเป็นไปได้ การปฏิบัติตัวให้ห่างจากโรคทุกชนิดก็ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดค่ะ