post-title

วิธีอ่านผลอัลตร้าซาวด์

     คุณผู้อ่านหลายท่านคงเคยได้ยินหรือได้เห็นคำศัพท์ทางการแพทย์คำว่า “อัลตร้าซาวด์” ผ่านหูผ่านตากันมาบ้างใช่ไหมคะ เพราะเป็นหนึ่งในวิธีการสร้างภาพทางการแพทย์ที่เป็นที่นิยมและเข้าถึงได้ค่อนข้างง่าย ยิ่งในหัวข้อเกี่ยวกับการตั้งครรภ์🤰ด้วยแล้ว การอัลตร้าซาวด์แทบจะเป็นหนึ่งในไม่กี่วิธีการสร้างภาพทางการแพทย์ที่ค่อนข้างปลอดภัยทั้งกับตัวคุณแม่และเจ้าตัวน้อยเลย👶ค่ะ วันนี้บทความของเราจึงพาคุณผู้อ่านมาทำความรู้จักกับวิธีทางการแพทย์ชนิดนี้ให้มากขึ้น โดยการเรียนรู้ถึงวิธีการอ่านผลอัลตร้าซาวด์ที่น่าสนใจและไม่ได้เข้าใจยากเกินไปกันค่ะ หากคุณผู้อ่านกำลังเป็นคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์หรือมีสมาชิกในครอบครัวเป็นผู้ที่กำลังตั้งครรภ์ จะได้ทำความเข้าใจกับผลตรวจครรภ์ของคุณแม่ได้ค่ะ💁‍♀️


คำศัพท์ที่เกี่ยวกับอัลตร้าซาวด์

คำศัพท์เกี่ยวกับการวัดขนาดส่วนศีรษะของทารก

1️⃣ความกว้างบริเวณศีรษะของทารก👶 มีตัวย่อว่า BPD ซึ่งย่อมาจาก Biparietal Diameter นับเป็นการวัดที่มีประโยชน์มากในการกะประมาณอายุครรภ์ของคุณแม่ เป็นการวัดที่เหมาะสมที่จะวัดในช่วงที่คุณแม่ตั้งครรภ์ได้มากกว่า 3 เดือนขึ้นไปค่ะ

2️⃣เส้นรอบวงของศีรษะทารก มีตัวย่อว่า HC ซึ่งย่อมาจาก Head Circumference เป็นวิธีที่เป็นประโยชน์ในการประเมินอายุครรภ์ของคุณแม่🤰ได้เช่นกันในช่วงที่คุณแม่มีอายุครรภ์ได้ 3 เดือนขึ้นไป และจะมีประโยชน์เป็นพิเศษในกรณีที่เจ้าตัวน้อยในครรถ์มีรูปร่างศีรษะที่ผิดปกติ แต่อาจทำได้ยากกว่าวิธีการวัดความกว้างของศีรษะค่ะ

คำศัพท์เกี่ยวกับการวัดขนาดร่างกายส่วนอื่นๆของทารก

1️⃣การวัดความยาวของทารก👶 อันที่จริงวิธีนี้ก็คือการวัดความสูงของเจ้าตัวน้อยนั่นเองค่ะ มีตัวย่อว่า CRL ซึ่งย่อมาจากคำว่า Crowm-Rump Length ค่ะ เราจะเห็นได้ว่าการวัดขนาดของศีรษะนั้นเหมาะกับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์มากกว่า 3 เดือนขึ้นไป ดังนั้นในกรณีที่คุณแม่มีอายุครรภ์ต่ำกว่า 3 เดือน วิธีนี้จึงเหมาะสมในการประเมินอายุของทารกมากกว่าค่ะ

2️⃣การวัดเส้นรอบวงบริเวณท้อง วิธีนี้มีตัวย่อคือ AC ซึ่งย่อมาจากคำว่า Abdominal Circumference ค่ะ วิธีนี้นั้นถือว่าเป็นวิธีที่ไม่ค่อยแม่นยำ หากจะวัดเพื่อใช้ประเมินอายุของเด็ก แต่มักถูกใช้ในการประเมินภาวะทางโภชนาการ🥦แทนค่ะ

3️⃣การวัดความยาวของกระดูกต้นขา🦵 วิธีนี้มีตัวย่อว่า FL ซึ่งมาจากคำว่า Femer length นั่นเองค่ะ อันที่จริงแล้วกระดูกชิ้นอื่นๆก็สามารถนำมาใช้ในการประเมินการเจริญเติบโตของเจ้าตัวน้อยในครรภ์ได้เช่นเดียวกัน แต่กระดูกต้นขาเป็นชิ้นที่เป็นที่นิยมมากที่สุด ถึงจะเป็นวิธีการวัดที่ยังมีความคลาดเคลื่อนเล็กน้อยก็ตามค่ะ

คำศัพท์เกี่ยวกับการวัดส่วนอื่นๆนอกเหนือจากร่างกายทารกโดยตรง

1️⃣การวัดปริมาณน้ำคร่ำ💦 มีตัวย่อว่า AFI ซึ่งมาจากคำว่า Amniotic Fluid Index ค่ะ น้ำคร่ำนับเป็นส่วนประกอบหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการทำให้เข้าตัวน้อยสามารถอยู่ในท้องคุณแม่ได้อย่างเป็นปกติ ดังนั้นค่าการวัดน้ำคร่ำจึงมีส่วนช่วยในการบ่งบอกภาวะของทารกในครรภ์ได้ค่ะ

2️⃣การตรวจสอบตำแหน่งที่รกเกาะมดลูก หรืออาจเรียกโดยคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Placental site ค่ะ เนื่องจากรกก็เป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบที่ทำให้เจ้าตัวน้อย👶ในครรภ์สามารถดำรงชีวิตในท้องของคุณแม่ได้อย่างปกติเช่นกัน การตรวจสอบเกี่ยวกับตำแหน่งการเกาะของรกผ่านการอัลตร้าซาวนด์จึงนับเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ค่ะ


ประโยชน์ของการทำอัลตร้าซาวด์เบื้องต้น

ประเมินอายุครรภ์ของคุณแม่

การทำอัลตร้าซาวด์ในช่วงตรวจครรภ์จะช่วยให้แพทย์เจ้าของครรภ์สามารถประเมินอายุครรภ์ของคุณแม่🤰หรืออายุของเจ้าตัวน้อยในครรภ์ได้ค่ะ แม้จะมีความคลาดเคลื่อนบ้างแล้วแต่วิธีที่ใช้ แต่ก็ยังถือเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการวางแผนแนะนำคุณแม่ในอนาคตได้

วิเคราะห์และวินิฉัยเกี่ยวกับความผิดปกติของร่างกายทารก

การทำอัลตร้าซาวนด์ยังช่วยให้แพทย์เจ้าของครรภ์สามารถวิเคราะห์และวินิฉัย🩺เกี่ยวกับความผิดปกติของร่างกายทารกในครรภ์ได้ เพื่อที่จะได้วางแผนแก้ไขหรือทำการรักษาอย่างถูกวิธีและทันท่วงทีค่ะ

ระบุเพศของทารก

การทำอัลตร้าซาวด์ยังช่วยให้แพทย์สามารถช่วยระบุเพศ👦👧ของเข้าตัวน้อยในครรภ์ได้ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเป็นอีกประเด็นที่น่าตื่นเต้นสำหรับคุณพ่อคุณแม่เอง👫ใช่ไหมล่ะคะ

     ได้อ่านมาถึงตรงนี้ คุณผู้อ่านน่าจะรู้จักวิธีอัลตร้าซาวด์มากขึ้นแล้วใช่ไหมคะ จะเห็นได้ว่าเป็นวิธีที่มีประโยชน์ในการตรวจสุขภาพของทั้งคุณแม่และเจ้าตัวน้อยในครรภ์มากเลยทีเดียว แต่การทำอัลตร้าซาวด์นั้นจะทำได้โดยแพทย์👩‍⚕️หรือนักรังสีเทคนิคที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเท่านั้น ดังนั้นการไปฝากครรภ์กับโรงพยาบาล🏥ที่น่าเชื่อถือจึงเป็นสิ่งที่สำคัญต่อคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์มากเลยทีเดียวค่ะ