คุณผู้อ่านหลายๆท่านอาจรู้สึกเอ็นดูเมื่อได้เห็นเจ้าตัวน้อย👶ไม่ว่าจะของเราเองหรือของครอบครัวอื่นๆมีความจ้ำม่ำ มีเนื้อมีหนังดูน่ารักและมีอาหาร🍲การกินที่อุดมสมบูรณ์ แต่แม้เด็กๆจะดูน่ารัก ความจ้ำม่ำเหล่านั้นสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายของเด็กได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว นอกจากนี้โรคอ้วนหรือน้ำหนักเกินในเด็กนั้นไม่ได้เกิดขึ้นจากการรับประทานอาหารที่มากเกินความจำเป็นเพียงอย่างเดียว แต่จะเกิดจากอะไรได้บ้าง สามารถป้องกันและแก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง เราไปดูพร้อมๆกันเลยค่ะ💁♀️
รู้ได้อย่างไรว่าลูกน้ำหนักเกินหรือไม่
โดยปกติแล้วเราจะมีเกณฑ์มาตรฐานเกณฑ์หนึ่ง เป็นเกณฑ์ที่ช่วยบอกว่าคนในแต่ละเพศแต่ละวัย แต่ละช่วงอายุมีค่าดังกล่าวตรงตามคนส่วนใหญ่หรือไม่ หากค่าเกินก็จะถือว่าเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วน🐷ค่ะ ค่าดังกล่าวนั้นเรียกว่าค่าดัชนีมวลกาย มาจากภาษาอังกฤษคำว่า Body Mass Index นั่นสามารถทำให้เราสามารถเรียกค่าดังกล่าวแบบย่อๆได้ว่าค่า BMI ที่เราค่อนข้างคุ้นหู👂กันนั่นเองค่ะ วิธีคำนวณก็ทำได้ง่ายมากและในปัจจุบันสามารถทำได้ตามเว็บไซต์แล้ว เพียงกรอกข้อมูลของตนเองยกตัวอย่างเช่น อายุ น้ำหนัก ส่วนสูง กิจกรรมที่ทำในระหว่างวัน เพียงเท่านี้ก็จะได้ค่า BMI ออกมา การวิเคราะห์ก็ทำได้ง่ายๆเพียงนำไปเทียบกับตารางค่า BMI ที่มีในอินเตอร์เน็ต💻เท่านั้นค่ะ
ทำไมลูกของเราจึงมีน้ำหนักเกิน
👉สาเหตุแรกนั้นค่อนข้างตรงตัวนั่นก็คือการที่เจ้าตัวน้อยของเราได้รับพลังงานจากอาหาร🍲หรือแคลอรี่ที่มากเกินความจำเป็น หรือได้รับมากกว่าที่ใช้ออกไปนั่นเองค่ะ
👉ระหว่างตั้งครรภ์คุณแม่เป็นโรคเบาหวาน หรือรับประทานน้ำตาลสูง🥞อย่างต่อเนื่องค่ะ
👉ในกรณีที่เป็นเด็กโต สามารถเคลื่อนไหวได้แล้วร่างกายต้องการพลังงานจากอาหารที่เพิ่มขึ้น แม้เด็กๆจะรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นก็จริง แต่อาจมีวิถีการใช้ชีวิตที่ไม่ค่อยได้ทำกิจกรรมที่ใช้พลังงาน⛹️♀️ ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหว ร่างกายจึงเผาผลาญพลังงานไม่มากพอค่ะ
👉เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรม🧬ที่ส่งผลต่อร่างกายของเด็กเอง ไม่ว่าจะเป็นความผิดปกติของสมดุลฮอร์โมน ความผิดปกติของสารพันธุกรรมค่ะ
ผลกระทบในระยะยาวหากปล่อยให้เด็กมีน้ำหนักเกิน
💫เสี่ยงเป็นโรคในระบบย่อยอาหาร
เสี่ยงที่จะทำให้เด็กโตไปแล้วมีโรคในระบบย่อยอาหาร ระบบเผาผลาญ และระบบไหลเวียนเลือด🩸 แทรกซ้อน ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันอุดตันเส้นเลือด จนไปถึงโรคหัวใจ🫀
💫เสี่ยงมีปัญหาเกี่ยวกับการนอน
มีโอกาสจะทำให้เด็กมีปัญหาเกี่ยวกับการนอน😴 ไม่ว่าจะเป็นการนอนหลับไม่สนิท นอนไม่หลับ นอนกรน นอนหลับไม่หายใจ
💫ขาดวิตามินดี
มีโอกาสเสี่ยงที่จะทำให้เด็กขาดวิตามินดี🌞
💫เสี่ยงมีปัญหาขาโก่ง
ในเด็กที่ยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ มีโอกาสที่จะทำให้เด็กมีภาวะขาโก่ง🦵ค่ะ
💫เสี่ยงปัญหาผิวคล้ำ
ทำให้เด็กมีผิวบางพื้นที่คล้ำขึ้น
💫เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า
เด็กจะง่วง🥱ง่ายและมีโอกาสเกิดโรคซึมเศร้า เป็นคนความมั่นใจในตนเองต่ำ นำไปสู่การเกิดโรคทางจิตเภทได้ค่ะ
วิธีป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำหนักเกินในเด็ก
วิธีที่ 1️⃣
ควบคุมโภชนาการและพฤติกรรมการกินอาหาร🍽️ของลูกให้เข้มงวดขึ้น เป็นปกติที่เด็กๆจะชอบอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ🍟แต่รสชาติดี ดังนั้นอาจไม่จำเป็นต้องหักดิบอาหารที่ไม่ดีเหล่านั้น แต่ลดความถี่และปริมาณการรับประทานลงเพื่อให้เจ้าตัวน้อยไม่รู้สึกต่อต้านค่ะ
วิธีที่ 2️⃣
สร้างนิสัยและระเบียบวินัยให้ลูกรักการออกกำลังกาย🤾♀️ อาจไม่ถึงกับต้องรักแต่ทำให้รู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ต้องทำเป็นประจำ ไม่รู้สึกต่อต้านหรืออย่างน้อยหากเด็กไม่ชอบกิจกรรมประเภทกีฬาจริงๆ ควรจัดกิจกรรมอื่นๆที่ทำให้เด็กได้เคลื่อนไหวมากขึ้น แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นกีฬาก็ได้ค่ะ
วิธีที่ 3️⃣
หากปฏิบัติตามแนวทาง 2 ข้อด้านบนในระยะเวลานานแล้ว แต่ยังไม่เห็นผลซึ่งก็คือน้ำหนักของลูกที่ลดลง ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์👨⚕️ค่ะ เพราะความอ้วนอาจมาจากความผิดปกติทางพันธุกรรม🧬ของเด็กแล้ว
อ่านมาถึงตรงนี้ คุณผู้อ่านก็จะเห็นแล้วนะคะว่าภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วนในเด็กนั้นไม่ใช่เรื่องดีเลย แต่ทางป้องกันและแก้ปัญหานั้นก็ไม่ได้ยากเกินความสามารถของเจ้าตัวน้อย👶และผู้ปกครองมากนัก และไม่ได้ต่างจากการรับมือกับโรคอ้วนในวัยอื่นๆเลย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการปลูกจิตสำนึกให้เด็กๆดูแลสุขภาพ วิธีที่ดีที่สุดในการปลูกฝังก็คือการที่ผู้ใหญ่ในครอบครัว👨👩👦เป็นที่อย่างที่ดีของพวกเขาค่ะ