post-title

เลือกยาแก้หวัดอย่างไรให้ปลอดภัยต่อลูก

     อาการหวัด😪นั้นนับเป็นหนึ่งในอาการยอดนิยมที่เกิดขึ้นกับเด็กๆ ถือเป็นโรคที่ไม่ได้สร้างความเสียหายต่อสุขภาพเด็กๆอย่างรุนแรงมากนัก แต่เอียงไปทางสร้างความรำคาญใจในการใช้ชีวิตและความไม่สะดวกสบายระหว่างทำกิจกรรมระหว่างวันมากกว่า เมื่อผู้ปกครองบางท่านเห็นว่าไม่ใช่โรคที่มีอาการรุนแรงอะไรก็อาจปล่อยให้เจ้าตัวน้อยพักผ่อนจนกระทั่งดีขึ้นเอง ซึ่งก็เป็นทางเลือกที่สามารถทำได้เช่นเดียวกัน แต่อีกทางเลือกหนึ่งนั้นมีแนวโน้มว่าจะทำให้เจ้าตัวน้อยหายเป็นปกติได้รวดเร็วกว่า นั่นก็คือการใช้ยา💊นั่นเองค่ะ แต่จะมีหลักเกณฑ์ในการเลือกใช้ยาอย่างไรบ้าง เราไปดูพร้อมๆกันเลยค่ะ💁‍♀️


อาการของโรคหวัดทั่วไป

อาการที่ 1️⃣

มีน้ำมูกเยอะกว่าปกติ ทำใ้ห้เด็กรู้สึกคัดจมูก😪หรือน้ำมูกไหลไม่หยุด

อาการที่ 2️⃣

มีอาการไอ😮‍💨 ทั้งไอแห้งและไอมีเสมหะ อาจมีอาการจามร่วมด้วย

อาการที่ 3️⃣

หากมีไข้ต่ำๆ🤒ร่วมด้วยจะถือว่าไม่ใช่หวัดธรรมดา แต่เป็นไข้หวัดค่ะ ดังนั้นสำหรับโรคไข้หวัด บทความของเราจะยังไม่พูดถึงวิธีการเลือกใช้ยา💊 เพราะมีโอกาสที่จะเกิดจากคนละสาเหตุกับโรคหวัดธรรมดาค่ะ


ยากลุ่มหลักๆที่สามารถเลือกใช้ได้

💊ยาในกลุ่มต้านฮีสตามีน (Antihistamine) 

ฮีสตามีนเป็นสารเคมีประเภทหนึ่งที่จะหลั่งออกมาเมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายตรวจจับได้ว่ามีสิ่งแปลกปลอม🦠ในร่างกาย ในที่นี้ก็อาจจะเป็นเชื้อก่อโรคซึ่งก่อให้เกิดโรคหวัดนั่นเอง เมื่อฮีสตามีนหลั่งออกมา เจ้าของร่างกายจึงเกิดการตอบสนองในรูปแบบของอาการแพ้บางสิ่ง หนึ่งในรูปแบบการตอบสนองก็คือการมีเมือกบริเวณโพรงจมูก👃ที่มากขึ้น ซึ่งก็คือน้ำมูก😪นั่นเอง หากอยากมีน้ำมูกน้อยลง เราจึงต้องการสารที่ต้านการหลั่งของฮีสตามีนได้นั่นเองค่ะ ยาในกลุ่มนี้ที่ถูกเลือกใช้บ่อยๆได้แก่ คลอเฟนิรามีน หรือที่เรียกกันว่ายา CPM และบรอมเฟนิรามีน ยากลุ่มนี้จึงถูกเรียกรวมๆกันว่ากลุ่มยาแก้แพ้นั่นเองค่ะ

💊ยาในกลุ่มที่ช่วยลดอาการคัดจมูก (Decongestants) 

เป็นยาที่ออกฤทธิ์ลดอาการจมูกตัน ทำให้ผู้รับประทานหายใจได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ตัวยาที่มักถูกเลือกใช้ในปัจจุบันได้แก่ ฟีนิลเอฟริน และซูโดเอฟรีดรีน กลุ่มนี้มักจะถูกเรียกอย่างง่ายๆว่ากลุ่มยาลดน้ำมูก😪นั่นเองค่ะ

💊ยาลดไข้ (Antipyretic)

ยาในกลุ่มที่มีส่วนประกอบของยาสองกลุ่มก่อนหน้าตามที่กล่าวไป แต่มีการเติมตัวยาในกลุ่มยาลดไข้🤒หรือ antipyretic เข้าไปร่วมด้วย เพราะในผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัด ก็มีอาการของไข้ร่วมด้วย การรับประทานยาตัวเดียวที่มีส่วนประกอบจากหลายๆกลุ่มจึงค่อนข้างเป็นทางเลือกที่สะดวก ยากลุ่มนี้ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เรียกได้ว่ามีติดบ้านกันแทบทุกครัวเรือน🏡ก็คือยาพาราเซตามอลนั่นเองค่ะ


 วิธีการดูแลเด็กที่เป็นไข้หวัด

👉ใช้ยาในกลุ่มที่กล่าวไปข้างต้น 

แต่ก่อนใช้ยาต้องปรึกษากับเภสัชกร🧑‍⚕️ก่อนเท่านั้น เพื่อทราบถึงปริมาณ ความถี่ และระยะเวลาที่จำเป็นต้องใช้ ไม่ควรจัดยาให้เด็กรับประทานเองโดยยึดปริมาณที่เท่ากับผู้ใหญ่ รับประทานไม่สม่ำเสมอ ไม่ตรงเวลา⏰ ไม่ครบโดสของยา

👉ลดการทำกิจกรรมที่กระตุ้นอาการ

ลดกิจกรรมหรือสิ่งเร้าใดๆก็ตามที่กระตุ้นอาการไอ ไม่ว่าจะเป็นการดื่มน้ำเย็น ขนมหวาน🍩 น้ำหวาน🧋 ขนมขบเคี้ยว อาหารทอด ควรใช้การจิบน้ำอุ่นบ่อยๆทดแทนค่ะ

👉ใช้น้ำเกลือล้างจมูก

หากรู้สึกคัดจมูก🤧 จมูกตันไปด้วยน้ำมูก ให้ใช้น้ำเกลือทางการแพทย์ล้างจมูกช่วยเจ้าตัวน้อยค่ะ

👉ใส่ใจการรับประทานอาหาร

รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยสารอาหาร 5 หมู่🍎ในปริมาณที่เหมาะสมและปรุงสุกใหม่ๆค่ะ

👉พักผ่อนให้เพียงพอ

ให้เจ้าตัวน้อยได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ😴

👉พบแพทย์เพื่อรักษา

หากดูแลด้วยตนเองแล้วยังไม่หาย อาการไม่ได้มีแนวโน้มจะดีขึ้น ให้พาลูกไปพบแพทย์👨‍⚕️เพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริง เพราะอาจเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่หวัดได้ เมื่อรักษาแบบหวัดธรรมดาจึงไม่ตอบโจทย์ค่ะ

     อย่างไรก็ตาม แม้บทความของเราจะนำเสนอถึงการใช้ยาปฏิชีวนะ💊 แต่มันก็ยังไม่ใช่สิ่งที่ควรต้องพึ่งอย่างสม่ำเสมอหากยังดูแลเจ้าตัวน้อยด้วยวิธีอื่นๆได้ การใช้ยาอย่างไม่เหมาะสมจะทำให้เด็กเกิดอาการดื้อยา ในอนาคตเด็กอาจต้องใช้ยาที่แรงขึ้นซึ่งมีผลข้างเคียงต่ออวัยวะภายในมากขึ้นค่ะ