post-title

ตรวจอัลตร้าซาวด์แต่ละช่วงอายุครรภ์ บอกอะไรได้บ้าง?

     คุณผู้อ่านหลายท่านคงเคยทราบว่าการทำอัลตร้าซาวด์นั้นค่อนข้างเป็นสิ่งที่จำเป็นในการตรวจครรภ์🤰 แต่การที่มันเป็นสิ่งจำเป็นนั้นแปลว่ามันมีประโยชน์ในรูปแบบที่การตรวจด้วยวิธีอื่นๆนั้นให้ไม่ได้ วันนี้บทความของเราจะพาคุณผู้อ่านไปดูถึงสิ่งที่วิธีการทำอัลตร้าซาวด์สามารถบอกได้ในแต่ละช่วงอายุครรภ์ของคุณแม่ และพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับขั้นตอนการทำอัลตร้าซาวด์ที่ลึกซึ้งมากขึ้นกันค่ะ💁‍♀️


การอัลตร้าซาวด์ในแต่ละอายุครรภ์บอกอะไรได้บ้าง

✨สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก

ประมาณ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ การอัลตร้าซาวด์จะช่วยให้แพทย์สามารถประเมินความยาวของกระดูกทารกได้ ตรวจความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกแขนขา🦵และกะโหลกศีรษะ นอกจากนี้ยังเป็นช่วงสำคัญที่การทำอัลตร้าซาวด์จะช่วยคัดกรองกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรมในทารก ด้วยการฉายภาพเพื่อวัดความหนาของต้นคอ วัดกระดูกบริเวณจมูก👃 โดยทำร่วมกับการตรวจเลือด🩸ของคุณแม่ค่ะ

✨สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 2 

สามารถทำอัลตร้าซาวด์เพื่อวิเคราะห์อายุครรภ์ของคุณแม่ได้ ในกรณีที่คุณแม่มาฝากครรภ์🤰ช้าหรือไม่มั่นใจในอายุครรภ์ของตนเอง นอกจากนี้ยังสามารถดูความปกติของอวัยวะภายในร่างกายของคุณแม่ได้ รวมไปถึงตำแหน่งของรกและลักษณะของน้ำคร่ำ ว่าทุกอย่างเหมาะสมสำหรับการตั้งครรภ์หรือไม่ เป็นการป้องครรภ์การเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ☠️ สำหรับเจ้าตัวน้อย👶ในครรภ์ การอัลตร้าซาวด์ในช่วงนี้ก็จะทำให้แพทย์มองเห็นถึงลักษณะของอวัยวะภายนอกรวมถึงใบหน้าของทารกได้ ที่น่าสนใจคือในคุณแม่ที่มีประวัติการคลอด📄ก่อนกำหนดมาก่อน การอัลตร้าซาวด์ในช่วงนี้ยังสามารถช่วยให้แพทย์วัดความยาวของปากมดลูกได้ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการทำนายโอกาสที่ครรภ์นี้จะเป็นครรภ์คลอดก่อนกำหนดซ้ำค่ะ

สำหรับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในไตรมาสที่ 3 

จากไตรมาสที่3จนไปถึงช่วงก่อนคลอด การอัลตร้าซาวด์สามารถช่วยประเมินว่าทารก🚼มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย การเคลื่อนไหว การเจริญเติบโตทั้งในด้านของความยาวลำตัวและน้ำหนักเป็นไปอย่างปกติหรือไม่ ตรวจสอบความสมบูรณ์ของน้ำคร่ำ รวมไปถึงบ่งบอกได้ถึงท่าทางในครรภ์ของทารกด้วยค่ะ


2 ขั้นตอนของการทำอัลตร้าซาวด์

💫ขั้นตอนการทำอัลตร้าซาวด์ทางช่องท้อง

👉เมื่อคุณแม่นอนบนเตียงเรียบร้อยแล้ว แพทย์หรือนักรังสี🧑‍🔬เทคนิคจะทำการทาเจล🧴สำหรับการอัลตร้าซาวด์บนหน้าท้องตำแหน่งที่จะนำแท่งหัวอัลตร้าซาวด์จิ้มดูภาพอวัยวะภายใน

👉แพทย์หรือนักรังสีจะแตะหัวอัลตร้าซาวด์ลงไปบริเวณที่ต้องการดูภาพ อาจมีการกดเบาๆ👆เพื่อเอื้ออำนวยการปล่อยคลื่นเข้าสู่ร่างกายของคุณแม่ เมื่อคลื่นสะท้อนกลับมา เครื่องอัลตร้าซาวด์ก็จะรับความถี่ของคลื่นที่สะท้อนกลับและแปลงสัญญาณออกมาให้เราเห็นในรูปแบบของรูปภาพบนจอคอมพิวเตอร์ค่ะ🖥️

👉แพทย์จะอธิบายถึงลักษณะภาพที่เห็น🔎ผ่านจอของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้คุณแม่เข้าใจว่าเจ้าตัวน้อยในครรภ์👶นั้นมีพัฒนาการทางด้านร่างกายที่เหมาะสมหรือไม่ การเคลื่อนไหวในครรภ์เป็นไปอย่างปกติหรือไม่ มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ที่สามารถตรวจพบได้หรือไม่ค่ะ

👉เมื่อทำการตรวจ🩺และพูดคุย🗣️เสร็จเรียบร้อยแล้ว แพทย์หรือนักรังสีก็จะเช็ดเจลอัลตร้าซาวด์ออกจากบริเวณหน้าท้องคุณแม่ก็จะสามารถกลับบ้านได้โดยไม่ต้องพักฟื้นอะไร โดยปกติแล้วกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่แรกจนจบจะใช้เวลาประมาณ 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง🕓ซึ่งนับว่าเป็นระยะเวลาที่ไม่นานมากนักค่ะ

💫ขั้นตอนการทำอัลตร้าซาวด์ทางช่องคลอด

👉สำหรับขั้นตอนก็จะมีความคล้ายคลึงกับวิธีการทำทางช่องท้องเลยค่ะ เพียงแต่หากทำบริเวณช่องคลอด แพทย์หรือนักรังสีต้องทำการเปลี่ยนหัวแท่งอัลตร้าซาวด์เพื่อให้เหมาะต่อการสอดใส่เข้าไปทางช่องคลอดมากขึ้น การทำอัลตร้าซาวด์ผ่านทางช่องคลอดจะช่วยให้แพทย์👨‍⚕️สามารถเห็น🔎ลักษณะของมดลูกและรังไข่ได้ค่อนข้างชัดเจนกว่าการตรวจผ่านหน้าท้อง ดังนั้นการเลือกว่าจะอัลตร้าซาวด์ด้วยวิธีใดก็ขึ้นอยู่กับว่าต้องการตรวจอวัยวะใด ต้องการเห็นภาพ🎞️แบบไหนค่ะ

     อ่านมาถึงตรงนี้คุณผู้อ่านก็จะเห็นแล้วนะคะว่าสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นั้น การตรวจครรภ์ด้วยวิธีอัลตร้าซาวด์สามารถบ่งบอกอะไรได้มากมาย และมีความแตกต่างกันไปตามแต่ละช่วงอายุครรภ์🤰 นอกจากนี้ยังเป็นวิธีที่ปลอดภัยต่อทั้งร่างกายของคุณแม่และเจ้าตัวน้อยในครรภ์ ขั้นตอนการตรวจก็ไม่ซับซ้อนมากนักและไม่ได้ใช้เวลานาน🕓 ดังนั้นการทำอัลตร้าซาวด์จึงเป็นหนึ่งในวิธียอดนิยมที่แพทย์ใช้ประกอบการวินิจฉัย🩺สุขภาพครรภ์ของคุณแม่ค่ะ