post-title

ร่างกายเปลี่ยนไปหลังคลอด

     การตั้งครรภ์🤰นั้นถือเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้พลังงาน ทรัพยากรทางร่างกาย และความทุ่มเทเอาใจใส่ที่สูงมากสำหรับคุณผู้หญิง👩 ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลก หากหลังตั้งครรภ์คุณผู้หญิงจะมีภาวะทางสุขภาพที่เปลี่ยนไป ร่างกายไม่เหมือนกับตอนที่ยังไม่ตั้งครรภ์ แต่การเปลี่ยนแปลงเหล่านั้นจะมีอะไรบ้าง และคุณผู้หญิงจะมีแนวทางการรับมือและการจัดการความเปลี่ยนแปลงนั้นอย่างไร เราไปดูพร้อมๆกันเลยค่ะ🤰


ภาวะหลังคลอดที่ส่งผลกระทบต่อร่างกาย

👉มีเลือดไหลออกจากช่องคลอด 

ของเหลวนี้แม้จะมีลักษณะคล้ายเลือด🩸 แต่ก็ไม่ใช่เลือดประจำเดือนเสียทีเดียวค่ะ สิ่งนี้เป็นของเหลวที่เกิดจากการหลุดลอกของรกคุณแม่ หรือที่บางท่านอาจเคยผ่านหูกับคำว่า น้ำคาวปลา💦 นั่นเองค่ะ มักเกิดขึ้นในช่วงประมาณสัปดาห์แรกหลังจากคลอดเจ้าตัวน้อย และสามารถมีได้ยาวๆจนไปถึงประมาณ 3 สัปดาห์หลังคลอดเลย แต่จะค่อยๆลดปริมาณลงและหมดลงไปเองค่ะ

👉กลั้นปัสสาวะไม่ได้จนทำให้เกิดการปัสสาวะเล็ด 

เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณอุ้งเชิงกรานนั้นไม่แข็งแรงเท่าเดิม จึงไม่สามารถช่วยในการกลั้นปัสสาวะ🚽ได้ดีมากนัก แต่อาการเหล่านี้มักจะหายได้เองภายในระยะเวลาประมาณ 3 สัปดาห์ค่ะ

👉ฮอร์โมนเปลี่ยนแปลง

เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านฮอร์โมนค่อนข้างรุนแรง ส่งผลให้เกิดสิว🦠 และเกิดอาการผมร่วงมากกว่าปกติ แต่ภาวะเหล่านี้จะค่อยๆดีขึ้นเมื่อสมดุลฮอร์โมนของคุณแม่กลับมาอยู่ในระดับปกติค่ะ

👉เจ็บบริเวณต่างๆบนร่างกาย

ไม่ว่าจะเป็นเจ็บเต้านม เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์และคลอดเจ้าตัวน้อย เต้านมจะมีอาการคัดตึงเพราะเต็มไปด้วยน้ำนม🍼ที่ร่างกายได้สร้างเตรียมพร้อมไว้ให้เด็กๆดื่ม จนเกิดแรงดันสูงภายในเต้านมค่ะ หรือเจ็บบริเวณอวัยวะเพศที่เป็นแผลคลอด เป็นบริเวณที่เรียกว่าบริเวณฝีเย็บ ซึ่งเป็นอาการปกติสำหรับแผลที่ยังไม่หายดีค่ะ

👉ผิวหน้าท้องแตกลาย 

เนื่องจากช่วงที่ตั้งครรภ์ผิวหนังบริเวณหน้าท้องของคุณ🤰แม่จะมีการขยายค่อนข้างมากเพื่อรองรับขนาดตัวที่เพิ่มขึ้นของเจ้าตัวน้อยในครรภ์ค่ะ เมื่อคลอดเสร็จผิวหนังจึงหดตัวไม่ทัน จนอาจมีลักษณะเหี่ยวย่นและมีรอยแตกได้ แต่ลักษณะเหล่านี้จะค่อยๆดีขึ้นและจางหายไปเองค่ะ

👉มีอาการท้องผูก 

อาการท้องผูกซึ่งอาจเกิดจากการที่คุณแม่เจ็บบริเวณแผลผ่าคลอดหรือฝีเย็บจนทำให้ถ่ายยากค่ะ💩


ภาวะหลังคลอดที่ส่งผลกระทบต่อจิตใจ

คุณแม่อาจมีภาวะซึมเศร้า อาจเรียกได้ว่าเป็นภาวะซึมเศร้า😢หลังคลอด ซึ่งเป็นผลกระทบจากสมดุลฮอร์โมนภายในร่างกายที่เปลี่ยนไปอย่างรุนแรง ทำให้คุณแม่เกิดอารมณ์ในเชิงลบได้ค่อนข้างง่ายและเกิดได้บ่อย ในคุณแม่ที่มีอาการนี้ไม่รุนแรงก็อาจยังไม่นับเป็นภาวะซึมเศร้า และจะค่อยๆดีขึ้นเองเมื่อสมดุลฮอร์โมนในร่างกายของคุณแม่กลับมาเป็นปกติค่ะ

👉วิธีดูแลภาวะหลังคลอดของคุณแม่

ดูแลรักษาความสะอาด🧼ของแผลผ่าคลอด ไม่ว่าจะเป็นบริเวณอวัยวะเพศ หรือบริเวณหน้าท้องหากทำการผ่าคลอด

ทำกิจกรรมที่ไม่ต้องออกท่าทาง🧘‍♀️หรือมีความผาดโผนไม่มากนัก เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดแผลปริค่ะ

ดูแลรักษาสุขภาวะหรือสุขอนามันโดยรวมของร่างกาย เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคผิวหนังและการเกิดสิว🦠ค่ะ

รับประทานอาหารที่มีสารอาหารครบ 5 หมู่ในปริมาณและความถี่ที่เหมาะสม🥦

พักผ่อนให้เพียงพอ😴 พักผ่อนในที่นี้หมายถึงทั้งการทำกิจกรรมที่ทำให้คุณแม่รู้สึกผ่อนคลาย ลดการเกิดความเครียด รวมไปถึงการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอซึ่งถือเป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุดสำหรับร่างกายของคนเราเลยค่ะ

     ในคุณแม่ที่ต้องพบเจอกับภาวะหรืออาการต่างๆตามที่กล่าวมาข้างต้น หากปฏิบัติตามข้อแนะนำแล้วอาการยังไม่มีแนวโน้มที่จะดีขึ้น ไม่ว่าจะภาวะทางด้านร่างกายหรือจิตใจ แนะนำให้คุณแม่เข้ารับการตรวจร่างกาย🩺และคำแนะนำจากแพทย์เพิ่มเติม เพราะในบางภาวะที่มีความรุนแรงมาก จะไม่สามารถหายเองได้แม้ระยะเวลานับจากวันคลอดจะผ่านไปนานแล้ว อาจต้องการการรักษาและการดูแลจากแพทย์👨‍⚕️เพิ่มเติมค่ะ