post-title

คนท้องเป็นไซนัสอักเสบ

     เชื่อว่าคุณผู้อ่านหลายๆท่านคงเคยรู้จักหรืออย่างน้อยต้องเคยผ่านหูผ่านตากับโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ👃อย่าง “โรคไซนัส” กันมาใช่ไหมคะ แต่คุณผู้อ่านทราบไหมคะว่าสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นั้น🤰 มีโอกาสที่จะเป็นโรคดังกล่าวเพิ่มขึ้นกว่าตอนยังไม่ได้ตั้งครรภ์ หากเป็นแล้วจะมีอาการอย่างไร อาการจะเหมือนกับคนทั่วไปที่เป็นหรือไม่ อันตรายต่อเจ้าตัวน้อย👶ในครรภ์หรือเปล่า มีแนวทางการดูแลและการรักษาอย่างไร เราไปดูพร้อมๆกันเลยค่ะ💁‍♀️


โรคไซนัสเกิดขึ้นได้อย่างไร

โดยปกติแล้วในโพรงจมูก👃ของเราจะมีโพรงอากาศซึ่งถือเป็นรูระบายอากาศเป็นของตนเองข้างละ 1 รู เจ้าโพรงนี้ก็คือสิ่งที่เราเรียกว่าโพรงไซนัสนั่นเองค่ะ เมื่อเนื้อเยื่อภายในโพรงนี้ของเราติดเชื้อแบคทีเรีย🦠หรือเชื้อก่อโรคอื่นๆมา โพรงไซนัสในจมูกของเราจึงอักเสบ ก่อให้เกิดโรคไซนัสอักเสบ หรือที่เรียกกันติดปากสั้นๆว่าโรคไซนัสค่ะ และสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์🤰ในช่วง 6 เดือนแรกนั้น การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายจะไปเพิ่มการกระตุ้นเนื้อเยื่อประสาทบริเวณจมูก ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณโพรงจมูกขยายตัว เพิ่มโอกาสในการเป็นไซนัสอักเสบขึ้นไปอีกค่ะ

อาการที่บ่งบอกว่าคุณแม่ไซนัสอักเสบ

มีอาการคัดจมูก มีน้ำมูกมาก😪 และน้ำมูกที่ไหลออกมานั้นมีลักษณะข้นเหนียว ไม่ใสแต่มีสีเขียวหรือสีเหลืองขุ่นแทน

ลมหายใจมีกลิ่นเหม็น🤢 (ในข้อนี้คุณแม่อาจไม่ได้กลิ่นด้วยตนเอง ต้องคอยถามคนรอบตัวค่ะ)

มีเสมหะบริเวณลำคอ

รู้สึกปวดเหมือนถูกกดทับบริเวณใบหน้า ปวดบริเวณโหนกแก้ม มีอาการปวดศีรษะบริเวณขมับร่วมด้วย🤕

ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้🤒และมีอาการตาบวมร่วมด้วยได้ค่ะ


 อะไรบ้างที่กระตุ้นความเสี่ยงให้คุณแม่เป็นไซนัสอักเสบ

💫มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้มาก่อน

สำหรับคุณแม่ที่มีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้ว🤧 น้ำมูกในช่วงที่เกิดอาการภูมิแพ้จะมากเป็นพิเศษ ซึ่งมีโอกาสเข้าไปคั่งในไซนัสและก่อให้เกิดการติดเชื้อ🦠บริเวณโพรงไซนัสได้ค่ะ

💫เพิ่งเป็นไข้หวัดมา

คุณแม่บางท่านที่เคยเป็นไข้หวัด😷มาได้ไม่นานและยังไม่หายดี ก็มีโอกาสที่จะเกิดอาการไซนัสอักเสบตามมาได้ค่ะ

💫สิ่งแปลกปลอมเข้าไปในโพรงจมูก

มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปอุดตันในโพรงจมูก👃 หรือไม่ถึงกับอุดตัน แต่เป็นสิ่งแปลกปลอมที่ไม่สะอาด เช่นการสำลักเอาน้ำในสระว่ายน้ำเข้าทางจมูกตอนว่ายน้ำ🏊‍♀️สิ่งเหล่านี้ก็เพิ่มความเสี่ยงที่บริเวณไซนัสจะติดเชื้อก่อโรคได้ค่ะ

💫เกิดจากการที่คุณแม่ฟันผุค่ะ 

ฟัน🦷ที่อยู่ในช่องปากอาจฟังดูไม่เกี่ยวข้องกับโพรงจมูกเลยใช่ไหมคะ แต่เนื่องจากช่องปาก👄กับโพรงจมูกของเรานั้นมีช่องทางที่เชื่อมต่อกัน การติดเชื้อจากปากจึงเกิดขึ้นได้เช่นเดียวกันค่ะ


แนวทางการดูแลรักษาโรคไซนัสอักเสบสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

อันที่จริงแล้วแนวทางการดูแลรักษาโรคไซนัสอักเสบในคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์🤰นั้นก็ไม่ได้ต่างไปจากคนทั่วไปเลย นั่นก็คือการไปพบแพทย์👨‍⚕️นั่นเองค่ะ แต่อาจมีข้อแตกต่างในแง่การเลือกจ่ายยาของแพทย์ เพราะคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นั้นอาจมีความจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงตัวยา💊บางชนิด จึงต้องใช้แนวทางการดูแลโพรงจมูกในรูปแบบอื่นๆเข้ามาทดแทนค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นการล้างโพรงจมูกด้วยน้ำเกลือทางการแพทย์ หรือการสูดไอน้ำเพื่อให้โพรงจมูกโล่งขึ้นค่ะ และคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์นั้นสามารถโล่งใจได้ เพราะโรคไซนัสอักเสบนั้นไม่ได้ส่งผลกระทบอันตรายใดๆต่อเจ้าตัวน้อยในครรภ์👶โดยตรง หากยังไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆค่ะ

 หากไม่ไปรักษาจะเกิดอะไรขึ้น

👉อาจเกิดการติดเชื้อลามขึ้นไปบริเวณกระบอกตา👁️ เนื้อเยื่อรอบดวงตาอักเสบจนเกิดอาการตาบวมอย่างชัดเจน และหากเกิดการติดเชื้อขึ้นบริเวณลูกตาก็อาจทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ค่ะ

👉อาจเกิดการติดเชื้อลามขึ้นไปถึงบริเวณสมอง🧠 จนทำให้เกิดภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบตามมา นับเป็นภาวะที่ส่งผลถึงชีวิตได้ค่ะ💀

👉ก่อให้เกิดริดสีดวงจมูก👃 เกิดจากการที่เนื้อเยื่อบริเวณโพรงไซนัสนั้นอักเสบมานาน เกิดอาการบวมขึ้น มีขนาดใหญ่ขึ้นมากจนไปเบียดโครงสร้างอื่นๆข้างในโพรงจมูกได้ค่ะ

     คุณผู้อ่านอ่านมาถึงตรงนี้ก็จะได้ทำความรู้จักกับโรคไซนัสอักเสบกันมากขึ้นแล้วนะคะ จะเห็นได้ว่าโรคไซนัสอักเสบในคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์🤰นั้นก็ไม่ได้แตกต่างจากคนทั่วไปเลย สิ่งสำคัญที่สุดคือคุณแม่ต้องหมั่นสังเกตอาการของตนเอง หากมีอาการเข้าข่ายเสี่ยงเป็นโรคไซนัสอักเสบนั้นก็ไม่ควรมองข้าม เพราะถึงแม้ตัวโรคเองจะไม่ได้มีความรุนแรงนัก แต่โรคแทรกซ้อนที่อาจจะตามมานั้นมีความอันตรายมาก คุณแม่จึงควรเข้ารับการดูแลรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ👨‍⚕️อย่างรวดเร็วที่สุดค่ะ