post-title

วิธีเลือกหมอนข้างเด็ก

     เชื่อว่าคุณผู้อ่านหลายท่านคงมีอาการติดหมอนข้างกันใช่ไหมคะ ถึงแม้หมอนข้างจะไม่ใช่สิ่งจำเป็นบนเตียง🛌 แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสำหรับคนที่กอดหมอนข้างมาตั้งแต่ตนเองยังเป็นเด็ก👶 หมอนข้างกลับเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก วันนี้บทความของเราจึงพามาดูถึงวิธีการเลือกหมอนข้างให้เจ้าตัวน้อยกัน ว่าจะมีเกณฑ์ในการพิจารณาเลือกซื้ออย่างไรบ้าง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดและไม่เกิดโทษกับเจ้าตัวน้อยของคุณพ่อคุณแม่ค่ะ💁‍♀️


ข้อดีของการมีหมอนข้าง

สำหรับเด็กแรกเกิดนั้น ในระยะแรกๆคุณพ่อคุณแม่อาจพาเจ้าตัวน้อยมานอน😴ด้วยใกล้ๆกับตนเอง แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็ต้องหัดให้เจ้าตัวน้อยแยกห้อง หรืออย่างน้อยหากยังไม่โตมากพอก็ต้องฝึกให้เด็กนอนแยกเตียง🛌 ซึ่งแน่นอนว่าจะทำให้เด็กร้องไห้งอแง😭เพราะรู้สึกว่าผู้ปกครองไม่ได้อยู่ข้างๆพวกเขา พูดง่ายๆก็คือเด็กๆจะรู้สึกไม่ปลอดภัยเมื่ออยู่ห่างจากพ่อแม่นั่นเอง ซึ่งก็นับเป็นเรื่องปกติค่ะ หมอนข้างจึงเข้ามาแก้ปัญหาดังกล่าว ซึ่งก็คือทำให้เจ้าตัวน้อยรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นแม้จะต้องนอนคนเดียวนั่นเองค่ะ

💫คำนึงถึงขนาดและรูปทรง

    เนื่องจากหมอนข้างนั้นเป็นอุปกรณ์ที่ต้องวางบนเตียงของเจ้าตัวน้อย นั่นหมายถึงมันจะกินพื้นที่ในการนอนของเด็กด้วยเช่นกัน การเลือกหมอนข้างที่มีขนาดกะทัดรัด มีความพอดีจึงเป็นเรื่องที่ควรใส่ใจ หากเลือกหมอนข้างที่มีขนาดใหญ่เกินไป เจ้าตัวน้อยก็อาจมีอาการอึดอัด🤢 มีพื้นที่ในการนอนลดลง ส่งผลให้พักผ่อนได้ไม่เพียงพอ นอนหลับไม่สนิท🥱 อาจดูเป็นเรื่องเล็กๆแต่ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการที่ช้ากว่าเด็กๆคนอื่นในวัยเดียวกันได้ค่ะ


คำนึงถึงเนื้อผ้า ไส้หมอน และการตัดเย็บ

ในส่วนของเนื้อผ้าภายนอก 

เนื้อผ้าภายนอกของหมอนรวมไปถึงเนื้อผ้าที่ใช้ทำปลอกหมอนไว้คลุมหมอนข้างอีกที ผ้าที่เป็นที่นิยมนำมาทำหมอนข้างอันดับแรกคือผ้าสแปนเด็กซ์ ทำมาจากเส้นใยสังเคราะห์ โดดเด่นในแง่ของความยืดหยุ่นและความทนทาน ไม่ค่อยดูดซับความชื้น ต่อมาจะเป็นผ้าที่หาได้ทั่วไปอย่างผ้าฝ้าย☁️ ซึ่งก็ทำมาจากเส้นใยของพืชจำพวกฝ้ายตามชื่อเลยค่ะ โดดเด่นในแง่ของการระบายอากาศ ข้อเสียคืออาจมีไรฝุ่น💨สะสมค่อนข้างง่าย ต้องการการทำความสะอาดบ่อยๆ สุดท้ายจะเป็นผ้าเยื่อไผ่🎋 โดดเด่นในแง่ของการระบายอากาศ🍃 ไม่เก็บความชื้นจึงมีกลิ่นอับค่อนข้างน้อย และเป็นผ้าในกลุ่มที่ทำความสะอาดได้ง่ายค่ะ

ในส่วนของเส้นใยที่ใช้ยัดเข้าไปทำไส้หมอนข้าง 

เส้นใยที่เป็นที่นิยมได้แก่เส้นใยไมโครเจล ใช้ใยสังเคราะห์ทำมาเพื่อตอบสนองจุดประสงค์ทางการนอน😴โดยเฉพาะ เมื่อนำมาทำไส้หมอนข้างจะให้ความรู้สึกที่นุ่ม คืนรูปร่างง่าย ซักได้ และโอกาสก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ค่อนข้างต่ำ ต่อมาจะเป็นใยที่สังเคราะห์ที่สังเคราะห์มาจากสารคนละกลุ่มกับใยไมโครเจล คุณสมบัติก็มีความคล้ายคลึง เพียงต่อมีข้อเสียในแง่ของรูปทรง เพราะเส้นใยแบบนี้จะง่ายต่อการเสียงทรงมากกว่า สุดท้ายคือหมอนยางพารา โดดเด่นในแง่ของการรักษารูปทรง ไม่ค่อยเป็นแหล่งสะสมของไรฝุ่น💨 และช่วยลดการเกิดกลิ่นอับ🙊ค่ะ

ในส่วนของการตัดเย็บ 

สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรตระหนัก คือ ผู้ปกครองควรเลือกหมอนที่มีมาตรฐานการตัดเย็บที่ค่อนข้างเรียบร้อยไม่มีเศษด้าย🧵 หลุดออกมายาวเกิน เย็บตะเข็บ🪡อย่างแน่นหนาทนทานหรือไม่ เพื่อความทนทานและความปลอดภัยต่อร่างกายของเจ้าตัวน้อยเองระหว่างใช้งาน

     จะเห็นแล้วนะคะว่าการเลือกหมอนข้างให้ลูก👶ของเรานั้น แม้จะดูเป็นเรื่องง่ายแต่ก็มีความละเอียดอ่อนในตัวของมันเองอยู่ ทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่👫ควรไปหาลองของจริง เพื่อพิจารณาถึงสภาพโดยรวม การตัดเย็บ ความสากของเนื้อผ้า ความนุ่มและความทนทานของไส้ในหมอนข้างก่อนที่จะทำการซื้อค่ะ อย่างไรก็ตามหากคุณพ่อคุณแม่ลองให้เจ้าตัวน้อยได้นอนกับหมอนข้างแล้วลูกร้องไห้งอแง😭 รู้สึกไม่ชอบ อึดอัดเวลานอน ก็สามารถเอาหมอนข้างออกจากเตียงนอนเพื่อเพิ่มพื้นที่การนอนให้ลูกของเราได้ เพราะยังไงก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนที่จะชอบกอดหมอนข้างเวลานอน และหมอนข้างก็ไม่ใช่สิ่งจำเป็นในการนอนอยู่แล้วค่ะ