สำหรับคุณแม่ที่กำลังมีเจ้าตัวน้อยในครรภ์🤰นั้น กิจกรรมที่ต้องทำในแต่ละวันถือเป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาและดูแลเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเหมาะสม ความปลอดภัย ความสะอาด จนทำให้เกิดข้อน่ากังวลในการใช้ชีวิตมากมาย วันนี้บทความของเราพามาดูถึงอีกหนึ่งกิจกรรมที่อาจสร้างความกังวลใจให้คุณแม่ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เราทุกคนต่างต้องทำนั่นก็คือการอาบน้ำ🛀นั่นเองค่ะ บางท่านอาจไม่ทราบมาก่อนว่าการอาบน้ำนั้นนับเป็นประเด็นที่น่ากังวลวำหรับการตั้งครรภ์ด้วยหรือ จำเป็นต้องมีข้อบังคับ ข้อควรปฎิบัติที่เคร่งครัดเลยหรือไม่ มีรายละเอียดอะไรน่ากังวล หรือเป็นเพียงความเชื่อที่บอกกันปากต่อปากเท่านั้น เราไปดูถึงประเด็นเหล่านี้พร้อมๆกันเลยค่ะ💁♀️
คุณแม่ตั้งครรภ์ห้ามอาบน้ำตอนกลางคืนจริงหรือไม่
ก่อนจะไปดูว่าประเด็นนี้เป็นความจริงหรือไม่ เรามาดูที่มาของประเด็นดังกล่าวกันก่อนค่ะ
ข้อที่ 1️⃣
บางท่านอาจเคยได้ยินมาว่า หากคุณแม่กำลังตั้งครรภ์อยู่ให้หลีกเลี่ยงการอาบน้ำตอนกลางคืน🌃 เพราะจะทำให้เกิดภาวะครรภ์แฝด👯♂️น้ำ ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้คุณแม่มีน้ำคร่ำมากกว่าปกติจนทำให้คลอดบุตรได้ยากขึ้น และเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆทั้งในระหว่างตั้งครรภ์และช่วงคลอด
ข้อที่ 2️⃣
ต้องบอกว่าประเด็นดังกล่าวไม่เป็นความจริง ช่วงเวลา🕓ที่อาบน้ำไม่ได้ส่งผลต่อปริมาณน้ำคร่ำของคุณแม่หรือทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ชนิดอื่นๆเลย คุณแม่สามารถเลือกที่จะอาบน้ำตอนไหนก็ได้ตามสะดวกเลยค่ะ
ข้อที่ 3️⃣
เหตุผลที่ก่อให้เกิดความเชื่อแบบนี้ อาจเป็นกุศโลบายของคนสมัยก่อน ที่อยากปลูกฝังให้คุณแม่ตั้งครรภ์รีบอาบน้ำตั้งแต่ตอนที่ยังมีแสงสว่างเพียงพอ🕯️ เป็นเพราะในสมัยก่อนไฟฟ้าอาจยังไม่เข้าถึงทุกภูมิภาค หากคุณแม่ไปอาบน้ำดึกๆโดยไม่มีแสงสว่างจึงง่ายต่อการเกิดอุบัติเหตุเท่านั้นเองค่ะ
คุณแม่ห้ามอาบน้ำอุ่นจริงหรือไม่
🛀ควรอาบน้ำที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 40 องศา
ต้องบอกว่าอันที่จริงแล้วคุณแม่สามารถอาบน้ำอุ่นได้ค่ะ แต่หากพูดว่าน้ำอุ่น คำว่าอุ่นของเราอาจมีอุณหภูมิไม่เท่ากันก็เป็นได้ จึงขอแนะนำว่า น้ำอุ่นที่คุณแม่ใช้อาบไม่ควรมีอุณหภูมิเกิน 40 องศาเซลเซียส🌡️ และไม่ควรอาบนานกว่า 10 นาทีค่ะ
🛀เสี่ยงทำให้ทารกขาดแก๊สออกซิเจน
เหตุผลที่คุณแม่ไม่ควรอาบน้ำที่มีอุณหภูมิเกิน 40 องศาเซลเซียสเป็นเวลานานๆ เป็นเพราะเมื่ออุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมรอบตัวคุณแม่ (ในที่นี้ก็คือน้ำนั่นเอง) มีอุณหูมิสูงขึ้น♨️หรือร้อนขึ้น ความดันโลหิตของคุณแม่มีแนวโน้มที่จะลดลง ซึ่งทำให้ทารก👶มีโอกาสที่จะได้รับแก๊สออกซิเจนและสารอาหารผ่านการแลกเปลื่ยนของเลือดได้ลดลงเช่นเดียวกัน
🛀น้ำอุ่นอาจทำให้ผิวหนังแดง
แม้น้ำที่ใช้อาบจะมีอุณหภูมิไม่เกิน 40 องศา แต่หากคุณแม่ลองเข้าไปอาบหรือเข้าไปแช่แล้วผิวหนังเริ่มแดงขึ้นอย่างชัดเจน หรือรู้สึกว่าร้อนเกินไป🥵 ทนไม่ได้แล้ว ก็ควรเลิกอาบแล้วเปลี่ยนมาอาบน้ำอุณหภูมิห้องหรือน้ำเย็น❄️แทนค่ะ
ช่วง 1 เดือนหลังคลอด คุณแม่ห้ามสระผมจริงหรือไม่
✨เป็นการเล่าปากต่อปาก
ที่มาของประเด็นนี้ คือการที่มีการเล่าต่อกันแบบปากต่อปากว่าหากคุณแม่สระผมบ่อยๆในระยะที่พึ่งคลอดเสร็จใหม่ๆ จะทำให้คุณแม่เจ็บป่วย🤒ได้ง่ายค่ะ
✨ระวังลื่นหกล้ม
ต้องบอกว่าประเด็นดังกล่าวนั้นไม่เป็นความจริง คุณแม่สามารถเลือกที่จะสระผม💆♀️ด้วยความถี่ตามกิจวัตรปกติของตนเองก่อนคลอดเจ้าตัวน้อยได้เลยค่ะ เพียงแค่ต้องใช้ความระมัดระวังตอนอยู่ในห้องน้ำ ระวังลื่นหกล้ม เมื่อสระผมเสร็จก็ควรเช็ดผมให้แห้ง หรือใช้ไดร์เป่าผมให้แห้งค่ะ
✨ความเชื่อจากคนสมัยก่อน
- เหตุผลที่ก่อให้เกิดความเชื่อแบบนี้ส่งต่อกันมา อาจเป็นหนึ่งในกุศโลบายของคนสมัยก่อน👵อีกเช่นกันค่ะ เพราะการสระผมในสมัยก่อนนั้น คุณแม่มีความจำเป็นที่ต้องก้มบ้างเงยบ้าง อาจเกิดอาการหน้ามืดหรือทำให้เกิดอุบัติเหตุได้โดยไม่ตั้งใจ
- นอกจากประเด็นเรื่องสระผมบ่อยอาจทำให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ป่วยแล้ว ยังมีประเด็นที่เชื่อกันว่า การอาบน้ำบ่อยๆทำให้คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ป่วย🤒ง่ายขึ้นด้วยเช่นกัน ซึ่งก็ต้องบอกตามตรงว่าไม่จริงทั้งคู่ค่ะ คุณแม่สามารถเลือกอาบน้ำและสระผมได้ตามความถี่ที่เป็นกิจวัตรปกติของคุณแม่เลยค่ะ
อ่านมาถึงตรงนี้ คุณผู้อ่านก็จะได้ทราบกันไปแล้วนะคะว่า คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์สามารถเลือกที่จะอาบน้ำ🛀และสระผมบ่อยเพียงใดก็ได้ ช่วงเวลาใดของวันก็ได้ ความเชื่อที่ถูกส่งต่อกันมาจึงไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้องหรือสมเหตุสมผลเสมอไป สิ่งสำคัญคือความปลอดภัยในตอนทำกิจกรรมใดๆก็ตามมากว่า หากคุณแม่เลือกที่จะอาบน้ำตอนกลางคืนก็ควรเปิดไฟ💡ให้มีแสงสว่างเพียงพอ หากคุณแม่ชอบอาบน้ำและสระผมบ่อยๆก็ควรเช็ดร่างกายหรือเช็ดผมให้แห้งเสมอป้องกันการไม่สบาย และที่สำคัญควรเลือกอาบตอนที่มีคนในบ้านอยู่ด้วย และไม่ควรล็อค🔒ประตู หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นภายในห้องน้ำจะได้มีคนเข้าไปช่วยเหลือคุณแม่ได้อย่างทันท่วงทีค่ะ