post-title

ฮอร์โมนแปรปรวนมีผลต่อการตั้งครรภ์มากกว่าที่คิด

     โกรธ😡 หงุดหงิด เอาแต่ใจ อารมณ์คุณแม่ที่เปลี่ยนไป คุณพ่อโปรดเข้าใจมันคือฮอร์โมนค่ะ 

เราเข้าใจค่ะว่าคุณแม่👱‍♀️ที่อยากมีลูกน้อยก็ต้องเกิดความคาดหวัง และรอคอยเป็นธรรมดา เมื่อเรามีการคาดหวังและรอคอยกับอะไรมากๆบางครั้งก็อาจส่งผลกับฮอร์โมนและอารมณ์ที่เปลี่ยนไปโดยที่เราไม่รู้ตัว จริงๆแล้วคุณแม่รู้ไหมคะว่าฮอร์โมนที่แปรปรวนนั้น มีผลต่อคุณแม่ที่ตั้งครรภ์🤰มากกว่าที่คิด เรามาทำความรู้จักฮอร์โมนประเภทต่างๆที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ และวิธีการรับมือเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือการเจ้าฮอร์โมนกันดีกว่าค่ะ💁‍♀️


รู้จักฮอร์โมน Hormone 

🔍เราอาจได้ยินคำว่าฮอร์โมนบ่อย จริงๆฮอร์โมนแล้วคืออะไรกันแน่

ฮอร์โมน คือ สารเคมีที่ร่างกายของเราผลิตขึ้นจากกลุ่มเซลล์ในต่อมไร้ท่อต่างๆในร่างกาย🧍‍♀️ เช่น ต่อมใต้สมอง, มดลูก, รังไข่ ต่อมไทรอยด์ 

🔍ทำไมฮอร์โมนถึงส่งผลให้อารมณ์แปรปรวน

เมื่อระดับฮอร์โมนเปลี่ยนแปรง จะส่งผลให้คุณแม่มีอาการหงุดหงิดง่าย🤬 เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนถือเป็นฮอร์โมนที่สำคัญต่อสมองและอารมณ์ของคุณแม่ค่ะ


รู้จักฮอร์โมนที่มีผลต่อการตั้งครรภ์

💫รู้จักฮอร์โมนเอสโตรเจน Estrogen 

คือ ฮอร์โมนเพศหญิง👱‍♀️ที่ร่างกายผลิตขึ้นเอง มีหน้าที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง ซึ่งรับผิดชอบในการควบคุมการตกไข่ และการประจำเดือน🩸และการหมดประจำเดือน จึงส่งผลโดยตรงในการตั้งครรภ์ของคุณแม่ค่ะ

💫รู้จักฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน Progesterone 

คือ ฮอร์โมนที่มีส่วนสำคัญในการควบคุมภาวะไข่ตกและการมีประจำเดือน ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนในเพศหญิงนี้จะมีหน้าที่ไปกระตุ้นให้เลือดไปเลี้ยงบริเวณเยื่อบุมดลูกเพิ่มขึ้น เพื่อให้เยื่อโพรงมดลูกมีคงตัว มีความหนา และพร้อมสำหรับการฝังตัวของตัวอ่อน🚼 แต่หากไม่มีการปฏิสนธิเกิดขึ้น โปรเจสเตอโรนก็จะลดระดับลงทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือนตามรอบเดือนนั่นเองค่ะ

💫รู้จักฮอร์โมน หรือ FSH (Follicle Stimulating Hormone)

คือ ฮอร์โมนที่มีหน้าที่กระตุ้นการเจริญของไข่ เป็นฮอร์โมนที่มีผลโดยตรงต่อรอบเดือนของประจำเดือน🩸ค่ะ เพราะหากมีระดับ FSH ต่ำเกินไปหรือสูงเกินไปจะสามารถส่งผลให้เกิดภาวะมีบุตรยากค่ะ

💫ฮอร์โมน หรือ LH (Luteinizing Hormone)

คือ ฮอร์โมนธรรมชาติที่ร่างกายสร้างขึ้นจากต่อมใต้สมอง🧠 ฮอร์โมนนี้มีผลต่อการมีบุตรทั้งในคุณแม่และคุณพ่อ👫เลยนะคะ ฮอร์โมนลูทิไนซิงจะทำหน้าที่กระตุ้นอัณฑะในเพศชายและรังไข่ในเพศหญิงค่ะ


วิธีง่ายๆก็ช่วยปรับฮอร์โมนได้

👉นอนหลับให้เพียงพอ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมง่ายในชีวิตประจำวันๆ อย่างการนอนให้เพียงพอ😴ก็ช่วยร่างกายผลิตฮอร์โมนได้ดีขึ้นแล้วค่ะ เพราะการที่เรานอนหลับไม่เพียงพอยังส่งผลต่อการสร้างฮอร์โมน LH ที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่จะมีการตกไข่ หากฮอร์โมน LH ผิดปกติจะผลต่อการตกไข่และทำให้ประจำเดือนที่มาไม่ปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุของการมีบุตรยากอีกด้วยค่ะ

👉ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

อีกหนึ่งวิธีที่ช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนได้ดีมากคือการออกกำลังกายค่ะ เช่น เต้นแอโรบิกเบาๆแบบสนุกๆ💃 ออกไปวิ่งเบาๆ หรือการผ่อนคลายร่างกายอย่างโยคะ🧘‍♀️ ถ้าคุณแม่ทำเป็นประจำสม่ำเสมอร่างกายก็จะสร้างฮอร์โมนได้ดีขึ้นอย่างแน่นอน

👉ลดความเครียด

การมีคุณแม่มีภาวะอารมณ์ที่ดี จิตใจแจ่มใส🥰 ลดและหลีกเลี่ยงสถาณการณ์ที่ทำให้เกิดความเครียด เมื่อมีสุขภาพจิตที่ดีก็จะสามารถรักษาระดับฮอร์โมนได้ดีค่ะ