post-title

10 ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์

     เมื่อตัดสินใจอยากมีลูก สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่👫สนใจและศึกษาหาข้อมูลทุกอย่าง ก็เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการมีลูกน้อย👶 ในบางคู่การตั้งครรภ์อาจเกิดขึ้นได้ง่าย แต่มันก็ไม่ได้เป็นง่ายเสมอไปทุกคู่นะคะ เพราะในบางคู่ที่ทั้งคุณพ่อคุณแม่ ลองทุกทาง ทำมาทุกอย่างแล้ว ก็ยังไม่ได้มีลูกน้อยสมใจ วันนี้เรามี 10 ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งครรภ์มาฝาก โดยแบ่งเป็น 5 ปัจจัยด้านสุขภาพและ 5 ปัจจัยด้านการใช้ชีวิตและสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการตั้งครรภ์เพื่อความเข้าใจง่ายค่ะ💁‍♀️


5 ปัจจัยด้านสุขภาพที่มีผลต่อการตั้งครรภ์

💫อายุ

การตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุน้อย 

หากคุณแม่ตั้งครรภ์เมื่ออายุยังน้อย👱‍♀️ อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคโลหิตจางในขณะตั้งครรภ์ ทารกน้ำหนักตัวน้อย การคลอดก่อนกำหนดและการแท้งบุตร 

การตั้งครรภ์ที่อายุมาก

เมื่อคุณแม่เกิน 35 ปี👩‍🦳 เมื่ออายุมากขึ้นปัญหาสุขภาพและความเสี่ยงในการตั้งครรภ์ เพิ่มขึ้นตามอายุด้วย เช่น ความดันโลหิตสูง🩸ในขณะตั้งครรภ์ โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การแท้งบุตร การตั้งครรภ์นอกมดลูก เลือดออกมากขณะคลอด และอาจเพิ่มความเสี่ยงว่าทารกอาจมีความผิดปกติทางพันธุกรรม🧬 เช่น ดาวน์ซินโดรม

💫โรคต่อมไทรอยด์ 

โรคของต่อมไทรอยด์เป็นโรคของต่อมไร้ท่อ หนึ่งในโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ค่ะ โรคต่อมไทรอยด์อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะไทรอยด์เป็นพิษ ภาวะหัวใจล้มเหลว💔 ทารกน้ำหนักแรกเกิดต่ำ และปัญหาการพัฒนาสมองไม่ดี🧠

ดังนั้นคุณแม่ที่ตั้งครรภ์และมีภาวะผิดปกติของต่อมไทรอยด์อยู่เดิม จึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องได้รับการดูแลและควบคุมโรคได้อย่างเหมาะสม เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ 

💫ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือเรียกสั้นๆว่าภาวะ PCOS จะส่งผลให้การทำงานของรังไข่🥚ผิดปกติค่ะ เมื่อไม่มีไข่ให้ตกมาผสมกับสเปิร์ม ก็ไม่มีตัวอ่อนหรือไม่เกิดการตั้งครรภ์🙅‍♀️ จึงส่งผลโดยตรงว่าคุณแม่ที่มีภาวะ PCOS จึงมีผลต่อการมีบุตรยากค่ะ

💫เนื้องอกในมดลูก

เนื้องอกมดลูก (Myoma or Fibroids) พบได้ 30-70% ในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ เป็นเนื้องอกที่ไม่ใช่เนื้อร้าย ในบางรายมีก้อนแต่ไม่มีอาการ ทำให้ไม่ทราบมาก่อนว่ามีเนื้องอกในมดลูก อย่างไรก็ตามเนื้องอกนี้ก็ทำให้เกิดอาการผิดปกติได้ เช่น ปวดท้องประจำเดือน มีประจำเดือนมากผิดปกติ🩸 ซึ่งส่งผลให้เกิด ภาวะมีบุตรยาก

💫เอชไอวี/เอดส์ 

คุณแม่ที่มีเชื้อเอชไอวีสามารถส่งต่อไปยังลูกน้อยในครรภ์ได้ในระหว่างตั้งครรภ์ อีกทั้งการให้นมบุตร🤱 อาจส่งผลต่อปัญหาสุขภาพทารกในอนาคต เช่น ทารกเจริญเติบโตช้า ระบบหายใจผิดปกติ😷 ภาวะขาดออกซิเจน หรือติดเชื้อเอชไอวีจากคุณแม่ได้ ดังนั้นคุณแม่ควรตรวจสุขภาพในช่วงการวางแผนการตั้งครรภ์ค่ะ


5 ปัจจัยด้านการใช้ชีวิตที่มีผลต่อการตั้งครรภ์

🚬สูบบุหรี่เป็นประจำ
การสูบบุหรี่เป็นประจำทำให้คุณแม่มีภาวะมีบุตรยากค่ะ เพราะในบุหรี่มีสารนิโคตินที่มีผลต่อการคลั่งของเซลล์ที่เพิ่มขึ้นในเซลล์ของท่อนำไข่ และยังมีผลต่อการหมุนเวียนของเลือดไปยังมดลูกและยังเป็นการลดการตกไข่ของฝ่ายหญิง ลดประสิทธิภาพของมดลูกที่เป็นที่ฝังของตัวอ่อนอีกด้วย อีกทั้งในฝ่ายคุณพ่อ👨ที่สูบบุหรี่ จะมีผลให้อสุจิมีจำนวนลดลง อสุจิไม่มีคุณภาพ คู่รักที่อยากมีลูกน้อยควรเลิกบุหรี่อย่างน้อย 3เดือนนะคะ

🧋ดื่มชา กาแฟ

การดื่มกาแฟ☕️ อาจเป็นสิ่งที่เราทำในชีวิตประจำวันเป็นปกติและเป็นประจำ แต่ถ้าดื่มคาเฟอีนเข้าไปประมาณ 300 มิลลิกรัมหรือ 3 แก้วต่อวัน จะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยากได้ค่ะ โอกาสมีลูกอาจลดลงถึง 26% เลยทีเดียว

🥃ดื่มแอลกอฮอล์

การดื่มเหล้า เบียร์ หรือบางคนอาจจะจิบไวน์ในปริมาณที่มากเกินไป ส่งผลให้โอกาสในการมีลูกอาจลดลงถึง 50% โดยที่เราไม่รู้ตัวเลยนะคะ เพราะปริมาณของอาจอสุจิลดลง ไม่แข็งแรงพอ เคลื่อนไหวได้ดีไม่พอ หรืออาจมีรูปร่างผิดปกติ ทั้งยังเป็นสาเหตุของการดูดซึมสารอาหารที่จำเป็นต่อความแข็งแรง💪ของอสุจิได้ลดลงในผู้ชาย และมีปัญหาการสร้างไข่ในผู้หญิงอีกด้วย

🥙อาหาร

ปัจจัยหลักในชีวิตประจำวันคือการทานอาหาร🍽️ เพราะส่งผลต่อสุขภาพและระบบการทำงานของร่างกายโดยตรง ดังนั้น การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ เป็นสิ่งที่จำเป็นในการวางแผนตั้งครรภ์ หากกินอาหารที่ไม่มีประโยชน์บ่อยๆ จะส่งผลให้สารอาหารเข้าไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ มีผลต่อภาวะการมีบุตรยาก เพราะร่างกายไม่มีสารอาหารมากพอในการสร้างไข่ที่แข็งแรงค่ะ

💼อาชีพและการทำงาน

ในบางอาชีพ อาจส่งผลให้คุณต้องอยู่ในท่าเดิมๆนานๆ เช่นขับรถ🛻 หรือนั่งทำงานในออฟฟิศ👩‍💻ทั้งวันก็มีผลค่ะ เพราะในกรณีที่คุณพ่ออยู่ในท่านั่งนานๆ ในสภาพแวดล้อมที่อุ่นอาจทำให้อุณภูมิส่งผลต่อความสมบูรณ์ของอุสุจิได้ค่ะ แนะนำให้คุณพ่อสวมใส่กางเกงหลวมๆอากาศถ่ายเทได้จะรักษาอุณหภมิให้เย็นสบายได้ทั้งวัน