สำหรับคุณแม่หลายคนที่กำลังตั้งครรภ์🤰 อาจจะกำลังกังวลเรื่องโรคเบาหวานที่ตัวเองเป็นอยู่ก่อน เราเข้าใจค่ะ ว่าคุณแม่กังวลใจเพราะกลัวว่าจะส่งผลกระทบกับลูกน้อย👶ในครรภ์ แต่ในเมื่อเบาหวานมันเกิดขึ้นแล้ว เรามาหาวิธีรับมือแบบเข้าใจเบาหวาน ดูแลตัวเองเป็นพิเศษอย่างไร ให้ลูกน้อยปลอดภัยที่สุด อยู่ในครรภ์ได้อย่างสบายใจ มาเรียนรู้ไปพร้อมๆกันค่ะ💁♀️
รู้จักประเภทเบาหวานในคุณแม่ที่ตั้งครรภ์
✨เบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยก่อนการตั้งครรภ์
เพื่อให้คุณแม่เข้าใจง่ายๆเบาหวานประเภทนี้ ก็คือ เบาหวานที่คุณแม่เป็นมาตั้งแต่ก่อนตั้งครรภ์ลูกน้อย นั่นเองค่ะ
✨ความเสี่ยงของคุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานมาก่อนตั้งครรภ์
คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์จะมีความเสี่ยงในภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์เกิดขึ้นได้ เช่น การแท้ง🩸 การเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษ ทารกในครรภ์อาจจะตัวโตกว่าปกติ คลอดก่อนกำหนด หรือ ทารกเสียชีวิต💀ขณะคลอดและหลังคลอด
✨เบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกขณะตั้งครรภ์
เบาหวานประเภทนี้คือ คุณแม่ที่ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานมาก่อนค่ะ เพิ่งมาตรวจเจอครั้งแรกขณะตั้งครรภ์🤰 ซึ่งพบได้มากเพราะนับเป็นร้อยละ 90 ของเบาหวานที่พบในคุณแม่ตั้งครรภ์ จริงๆอาจจะเป็นมาก่อนตั้งครรภ์ก็ได้เช่นกันค่ะ แต่ไม่ได้รับการตรวจ🩺 เลยไม่รู้ตัวมาก่อนว่าเป็นเบาหวาน
โดยให้คุณแม่สังเกตตัวเองจากกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ดังนี้นะคะ
⚡️ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคเบาหวาน
⚡️ผู้ที่มีประวัติคลอดเด็กน้ำหนักมาก
⚡️ผู้ที่มีประวัติคลอดเด็กเสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ
⚡️ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
เบาหวานเสี่ยงต่อครรภ์อย่างไร
👉เสี่ยงเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ
คุณแม่ที่เป็นเบาหวานมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ🚽สูงมากกว่าคุณแม่ที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานค่ะ เพราะน้ำตาลในปัสสาวะ นำพาแบคทีเรีย🦠เป็นเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบของทางเดินปัสสาวะได้ค่ะ
👉น้ำคร่ำในครรภ์มากกว่าปกติ
เบาหวานในคุณแม่ อาจส่งผลให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์มีน้ำคร่ำในครรภ์มากกว่าปกติได้ค่ะ โดยจะส่งผลให้คุณแม่รู้สึกอึดอัด🤢 แน่นไปหมด ไม่สบายตัว และยังอาจส่งผลให้แพทย์👨⚕️ตรวจดูทารกในครรภ์ได้ยากอีกด้วยค่ะ
👉เสี่ยงภาวะแทรกซ้อนในทารกแรกเกิด
เบาหวานของคุณแม่อาจส่งผลไปยังลูกน้อยให้มีภาวะแทรกซ้อนต่างๆได้ค่ะ เช่น ภาวะแคลเซียมต่ำในเลือดทารก, ภาวะตัวเหลือง, ภาวะเม็ดเลือดแดงมากเกิน🩸, ภาวะหัวใจโต🫀, ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ,ภาวะขาดออกซิเจนแรกคลอดและการบาดเจ็บจากการคลอด, ระดับเกลือแร่ต่างๆในร่างกายลูกน้อยผิดปกติ
คุณแม่ดูแลเบาหวานอย่างไรขณะตั้งครรภ์
🥙ควบคุมอาหาร
เริ่มที่คุณแม่ปรับการกินในชีวิตประจำวันง่ายๆ ด้วยการการควบคุมค่ะ ลดแป้งและน้ำตาล🍬ให้น้อยที่สุด ของกินจุกจิกที่มีน้ำตาลสูง ควรเลี่ยงเลยค่ะ🙅♀️ ถ้าอยากทานของหวานให้เลือกทานผลไม้บ้าง แต่ถ้าเป็นผัก กินได้ไม่อั้นเลยค่ะ ดีต่อสุขภาพคุณแม่มากๆ ส่วนข้าว🍚ใน 1 วันไม่ควรเกิน 8 ทัพพีนะคะ และเนื้อสัตว์ สามารถรับประทานได้ โดยเลือกเนื้อที่มีไขมันน้อยค่ะ
🚶♀️ออกกำลังกายเบาๆ
ถึงจะกำลังตั้งครรภ์แต่คุณแม่ก็สามารถออกกำลังกายเบาๆได้นะคะ เราแนะนำเป็น การเดินแกว่งแขน🚶♀️ ออกไปรับลม ชมวิว🌄 เดินเล่น ทำให้สุขภาพกายดี และสุขภาพจิตดีไปด้วยค่ะ ถ้าคุณแม่สามารถรควบคุมอาหาร และการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอแบบนี้ไปเรื่อยๆ ตลอดตั้งครรภ์ จะช่วยให้คุณแม่สามารถควบคุมระกับน้ำตาลได้ดี ลดภาวะแทรกซ้อนหรืออันตรายต่างๆ ที่จะเกิดกับหญิงตั้งครรภ์🤰และลูกในครรภ์ได้อย่างมากเลยค่ะ