post-title

ท้องแล้วทำไมมีตุ่มใต้รักแร้?

การตั้งครรภ์🤰นั้นถือว่าเป็นเรื่องน่ายินดีสำหรับสมาชิกในครอบครัวทุกคน แต่หากพูดถึงคุณผู้หญิงที่กำลังจะมีเจ้าตัวน้อย👶ในครรภ์แล้ว การตั้งครรภ์ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความรับผิดชอบอย่างหนักทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ เพราะนอกจากร่างกายจะต้องสมบูรณ์มากพอที่จะเลี้ยงเด็กคนหนึ่งในท้องแล้ว การตั้งครรภ์เองยังมีโอกาสที่จะส่งผลข้างเคียงต่อร่างกายของคุณผู้หญิง ไม่ว่าจะเป็นภาวะแทรกซ้อน หรือเงื่อนไขทางสุขภาพบางอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อนในช่วงก่อนตั้งครรภ์ วันนี้เราจึงพาคุณผู้อ่านมาดูถึงเงื่อนไขทางสุขภาพประเด็นหนึ่งที่อาจเกิดได้ในช่วงตั้งครรภ์ นั่นก็คือการมีตุ่มขึ้นบริเวณรักแร้นั่นเอง ตุ่มเหล่านั้นจะมีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง เป็นอันตรายต่อคุณแม่และเด็กหรือไม่ มีแนวทางการรักษาอย่างไรหากกำลังประสบเงื่อนไขทางสุขภาพนี้อยู่ เราไปดูพร้อมๆกันเลยค่ะ💁‍♀️


สาเหตุของตุ่มใต้รักแร้

✨ตุ่มที่เกิดจากอาการต่อมน้ำเหลืองโต    

ลักษณะของตุ่มจะเป็นก้อนโตที่คลำแล้วรู้สึกได้อย่างชัดเจนว่ามีตุ่มอยู่ อาจมีหลายก้อนหรือมีก้อนเดียวก็ได้ เมื่อกดลงไปบริเวณตุ่มแล้วรู้สึกเจ็บ ซึ่งเป็นผลมาจากการที่อวัยวะบริเวณใกล้เคียงมีการติดเชื้อก่อโรค🦠 จนทำให้เกิดการอักเสบนั่นเองค่ะ

ตุ่มที่เกิดจากเนื้องอกไขมัน        

เป็นก้อนหรือตุ่มที่เกิดขึ้นได้ระหว่างชั้นผิวหนังและชั้นกล้ามเนื้อ เนื่องจากเป็นชั้นที่มีเซลล์ไขมันอยู่ เนื่องจากเป็นเพียงเนื้องอก มีอัตราการเพิ่มขนาดค่อนข้างช้า ความเสี่ยงที่จะแพร่กระจายต่ำ⬇️ ความอันตรายจึงไม่เท่าก้อนเนื้อร้ายหรือมะเร็งค่ะ

ตุ่มที่เกิดจากถุงน้ำในต่อมไขมันมีการอุดตัน  

อาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเป็นก้อนซีสต์ไขมันใต้ชั้นผิวหนัง มีลักษณะเป็นก้อนที่กลิ้งไปมาได้ อยู่ตื้นๆระหว่างชั้นผิวหนังและชั้นกล้ามเนื้อ บางกรณีอาจมีรูเปิดบริเวณก้อน เมื่อกดหรือบีบเบาๆ🤏จะมีไขมันไหลออกมาด้วย

ตุ่มใต้รักแร้จากการที่รูขุมขนอักเสบหรืออุดตัน   

ลักษณะของตุ่มจากสาเหตุนี้มักจะเป็นตุ่มเล็กๆ สีแดงคล้ายสิวอักเสบ เมื่อสัมผัสดูจะพบว่ามีลักษณะค่อนข้างแข็ง อาจใกล้เคียงกับตุ่มที่เกิดจากขนคุดแต่มีลักษณะใหญ่กว่า หากมีการติดเชื้อก่อโรค🦠ร่วมด้วยก็ม๊โอกาสที่จะเป็นหนองจนไปถึงกลายเป็นฝี⚫️

ตุ่มจากการถูกแมลงสัตว์กัดต่อย     

ในกรณีจะไม่สามรถระบุลักษณะของตุ่มแผลได้อย่างชัดเจนมากนัก เพราะลักษณะตุ่มหรือแผลจะขึ้นอยู่กับชนิดของสัตว์ที่กัด🐜หรือต่อยค่ะ


วิธีการรักษาตุ่มใต้รักแร้


👉สำหรับตุ่มใต้รักแร้ที่ถูกวินิจฉัยว่าเกิดจากอาการต่อมน้ำเหลืองโต        

แพทย์จะมุ่งเน้นไปที่การฆ่าเชื้อก่อโรค🦠ที่เป็นสาเหตุของการติดเชื้อก่อน เมื่อเชื้อหายไปอาการจะค่อยๆดีขึ้นเอง พูดง่ายๆก็คือตุ่มจะสามารถยุบลงไปได้เองค่ะ

👉สำหรับตุ่มใต้รักแร้ที่ถูกวินิจฉัยว่าเกิดจากเนื้องอกไขมัน เนื่องจากเป็นเพียงก้อนเนื้องอกไม่ใช่เนื้อร้าย🙅‍♀️ ไม่ได้มีแนวโน้มที่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นหรือแพร่กระจายมากขึ้นสูงนัก จึงสามารถปล่อยไว้ได้ แต่หากสร้างความระคายเคืองหรือความไม่สบายใจ ก็สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะผ่าออกได้ค่ะ

👉สำหรับตุ่มใต้รักแร้ที่เกิดจากถุงน้ำในต่อมไขมันเกิดการอุดตัน   

แนวทางการจัดการนั้นคล้ายกับเนื้องอกไขมัน เนื่องจากไม่ใช่เนื้อร้าย จึงอาจไม่มีความจำเป็นต้องผ่าตัดออก แต่เนื่องจากตุ่มในลักษณะนี้สามารถเคลื่อนที่หรือกลิ้งไปมาได้ ทำให้มีโอกาสเสียดสีกับเนื้อเยื่อโดยรอบค่อนข้างมากจนก่อให้เกิดการระคายเคืองและการอักเสบ เมื่ออักเสบแล้วก็ทำให้ง่ายต่อการติดเชื้อก่อโรค แพทย์จึงอาจตัดสินใจผ่าออก🔪เพื่อกำจัดอุปสรรคในการใช้ชีวิตประจำวันที่สร้างความรำคาญใจแก่ผู้ป่วยค่ะ

👉สำหรับตุ่มใต้รักแร้ที่เกิดจากรูขุมขนอักเสบหรืออุดตัน     

อันที่จริงแล้วตุ่มในลักษณะนี้สามารถดีขึ้นและหายเองได้ภายในระยะเวลาอันสั้นไม่เกิน 2 สัปดาห์⏳ หากไม่มีการอักเสบหรือติดเชื้อจนเป็นฝีหนองอย่างรุนแรงร่วมด้วย แต่หากรุนแรงก็อาจต้องพบแพทย์เพื่อรับยาฆ่าเชื้อและยาแก้อักเสบ💊ค่ะ

👉สำหรับตุ่มที่ถูกวินิจฉัยว่าเกิดจากแมลงสัตว์กัดต่อย   แนวทางการรักษานั้นขึ้นอยู่กับอาการหลังเกิดแผล ลักษณะแผลที่เกิด และชนิดของสัตว์ที่ต่อย🐜 ทางที่ดีหากมีหลักฐานว่าเป็นสัตว์ชนิดใดกัดหรือต่อยก็ควรแจ้งแพทย์ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับแนวทางการรักษาแผลค่ะ

อ่านมาถึงตรงนี้ คุณผู้อ่านก็จะได้เห็นแล้วนะคะว่า แม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นตุ่มบริเวณใต้รักแร้เหมือนกัน แต่ลักษณะของตุ่มอาจจะไม่เหมือนกันก็ได้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุในการก่อให้เกิดตุ่ม ซึ่งก็จะส่งผลให้แนวทางการรักษามีความแตกต่างกันด้วย ดังนั้นไม่ว่าคุณผู้อ่านจะเป็นคุณผู้หญิงหรือคุณผู้ชาย กำลังเป็นคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์หรือไม่ หากลองสัมผัสบริเวณใต้รักแร้ของตนเองตอนนี้แล้วพบว่ามีตุ่มหรือก้อนที่ไม่เคยมีมาก่อน ควรเข้ารับการตรวจร่างกาย🩺เพื่อขอคำปรีกษาในการจัดการกับตุ่มดังกล่าวจากแพทย์👩‍⚕️ให้เร็วที่สุดค่ะ