post-title

โรคจูบ คืออะไร

  การแสดงความรัก ความห่วงใยด้วยการกอด🤗หรือจูบ😘ลูกน้อยเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นปกติมาก แต่อยากให้คุณพ่อคุณแม่ตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโรคจูบด้วยนะคะ เพราะโรคนี้สามารถแพร่กระจายผ่านทางน้ำลายได้ และสามารถพบได้บ่อยในวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาว แต่ก็อาจส่งผลต่อทารกและเด็กได้เช่นกันค่ะ


โรคจูบ คืออะไร

โรคจูบ หรือ kissing disease หมายถึงการติดเชื้อไวรัส🦠ที่เรียกว่าเชื้อ mononucleosis หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า mono มีสาเหตุมาจากไวรัส Epstein-Barr (EBV) และติดต่อทางน้ำลายได้บ่อยที่สุด จึงมีคำว่า โรคจูบ💋 เชื้อโมโนสามารถส่งผลกระทบต่อคนทุกวัย แต่พบได้บ่อยในวัยรุ่นและวัยหนุ่มสาวค่ะ อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้นนะคะ หากคุณพ่อคุณแม่เคยเป็นโรคนี้ การกอด การจูบลูกน้อยก็เป็นการเสี่ยงติดโรคนี้ได้เช่นกันค่ะ

👉อาการของโรคจูบ

อาการของโรคจูบโดยทั่วไปจะมีอาการต่างๆคล้ายๆกับการเป็นไข้ธรรมดาเลยค่ะ เช่น รู้สึกอ่อนเพลียมาก เจ็บคอ😮‍💨 ต่อมน้ำเหลืองบวม และมีไข้🤒 ซึ่งทารกและผู้ใหญ่อาจมีอาการคล้ายคลึงกันเมื่อเป็นโรคนี้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าความรุนแรงและการแสดงอาการอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลและเงื่อนไขเฉพาะที่เกี่ยวข้อง ให้สังเกตอาการทั่วไปของการเจ็บป่วย ไม่ว่าจะเป็นหวัด ไข้หวัด และการติดเชื้อทางเดินหายใจ มีอาการไอ จาม มีไข้ และคัดจมูก🤧 สามารถสังเกตได้ทั้งในทารกและผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม ขอแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเสมอเพื่อการวินิจฉัย🩺ที่ถูกต้องและการรักษาที่เหมาะสมสำหรับทารก เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของทารกยังคงพัฒนาอยู่ และเด็กไม่สามารถพูดหรือบอกเราได้ว่าเขารู้สึกยังไงค่ะ อีกอย่างหนึ่งคืออาการป่วยด้วยโรคจูบจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3-4 วัน หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบพบแพทย์👩‍⚕️ทันทีนะคะเพราะลูกน้อยของเราอาจมีโรคแทรกซ้อนได้ เช่น โรคดีซ่าน ตับอักเสบ โลหิตจาง และอาการหายใจติดๆขัดค่ะ


วิธีป้องกันโรคจูบ

โรคนี้เกิดขึ้นมานานแล้วก็จริงนะคะ แต่ทางการแพทย์ยังไม่มีวัคซีน💉รองรับหรือวิธีป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสโดยตรง🦠 การดูแลลูกน้อยหรือแม้แต่ตัวของคุณพ่อคุณแม่เองจึงเป็นเรื่องสำคัญ คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้มาตรการป้องกันบางอย่างเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อได้ค่ะ 

✨1.หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีโมโนคลิโอซิส

 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะเฉียบพลันเมื่อมีอาการ

2.รักษาสุขอนามัยที่ดี 

หลักๆเลยก็คือการกินร้อน ทานอาหารที่ปรุงสุก ถูกสุขอนามัย อีกอย่างคือการใช้ช้อนกลาง🥄 ถึงจะเป็นคนในครอบครัว เราก็ไม่ควรละเลยกับเรื่องการใช้ช้อนกลางทุกครั้งในการตักอาหารใส่จานของเรานะคะ และอีกเรื่องคือการล้างมือ🤲 เพราะบ่อเกิดของเชื้อโรคต่างๆก็มาจากมือของเราเนี่ยแหละค่ะ เพราะเราหยิบจับของ นู่น นั่น นี่ ทั้งวันเลย

3.หลีกเลี่ยงการใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น 

เช่น ช้อนส้อม แก้วน้ำ หรือแปรงสีฟัน🪥ร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ

4.รักษาระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

โดยการนอนหลับให้เพียงพอ😴 รับประทานอาหารที่สมดุล และออกกำลังกายอยู่เสมอนะคะ

5.หากคุณพ่อคุณแม่สงสัยว่าคนที่คุณเคยสัมผัสใกล้ชิดมีโมโนคลิโอซิส

 ทางที่ดีควรหลีกเลี่ยงการจูบ💋หรือมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยนน้ำลายจนกว่าพวกเขาจะฟื้นตัวเต็มที่ค่ะ

  เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกน้อยติดเชื้อและป่วยด้วยโรคจูบ สิ่งเหล่านี้ที่กล่าวไว้ข้างต้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งกับสุขภาพของลูกน้อยของเราค่ะ  อีกอย่างหนึ่งคือหากคุณพ่อคุณแม่หรือใครก็ตามในครอบครัวที่มีอาการ หรือความเสี่ยงเป็นโรคนี้ ให้เขาหลีกเลี่ยงสกินชิพกับลูกน้อยของเราเลยนะคะ พร้อมด้วยการใส่ใจเรื่องการฆ่าเชื่อ การสร้างภูมิคุ้มกันของลูกน้อย รวมถึงการแยกภาชนะสำหรับลูกน้อยเป็นพิเศษด้วยค่ะ