post-title

ภาวะสายสะดือไม่เกาะที่ตัวเนื้อรก มีโอกาสเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด

   ในช่วงตั้งครรภ์🤰เป็นช่วงที่คุณแม่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หนึ่งในภาวะอันตรายที่สามารถเกิดได้กับคุณแม่คือ ภาวะสายสะดือไม่เกาะที่ตัวเนื้อรก ซึ่งวันนี้ทางเราได้รวบรวมข้อมูลของสาเหตุ และความเสี่ยงของภาวะสายสะดือไม่เกาะที่ตัวเนื้อรกที่ส่งผลต่อคุณแม่และทารกในครรภ์มาให้คุณแม่ได้ทราบกันค่ะ💁‍♀️


ภาวะสายสะดือไม่เกาะที่ตัวเนื้อรก คืออะไร?

✨สายสะดือไปเกาะที่เนื้อเยื่อหุ้มรก

คือการที่สายสะดือที่เชื่อมต่อระหว่างแม่กับทารกในครรภ์ไม่เกาะติดกับรกอย่างถูกต้อง แต่ไปเกาะที่เนื้อเยื่อหุ้มรกแทน ภาวะนี้มีชื่อเรียกภาษาอังกฤษว่า “Velamentousเวลา cord insertion” ซึ่งภาวะนี้อาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารก ทำให้อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการตั้งครรภ์ได้ หรือรุนแรงไปก็ถึงขั้นเกิดภาวะตกเลือด🩸อย่างรุนแรงขณะที่คุณแม่กำลังคลอดจนทำให้เกิดการเสียชีวิต💀ของตัวคุณแม่หรือทารก


สาเหตุของภาวะสายสะดือไม่เกาะที่ตัวเนื้อรก

🩺แพทย์ยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้

ยังไม่มีสาเหตุแน่ชัดว่าภาวะสายสะดือไม่เกาะที่ตัวเนื้อรกเกิดขึ้นจากอะไร แต่ภาวะนี้มักจะปรากฏขึ้นบ่อยในการตั้งครรภ์บางประเภทดังต่อไปนี้

- การตั้งครรภ์ลูกแฝด👯‍♂️ โดยเฉพาะในลูกแฝดที่ใช้รกร่วมกัน

- การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)🧪

- การตั้งครรภ์ลูกคนแรก

- ภาวะรกเกาะต่ำในคุณแม่ตั้งครรภ์ (Placenta Previa)

- ภาวะหลอดเลือดที่ทอดอยู่บนเยื่อหุ้มทารกผ่านปากมดลูกหรืออยู่-ต่ำกว่าส่วนนำ (Vasa Previa)


ผลกระทบจากภาวะสายสะดือไม่เกาะที่ตัวเนื้อรก

ภาวะสายสะดือไม่เกาะที่ตัวเนื้อรกอาจส่งผลต่อพัฒนาการของทารกให้ช้าลง และยังส่งผลกระทบอื่นๆต่อทั้งตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ด้วยเช่นกันค่ะ

🤰ความเสี่ยงที่มีต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

- คุณแม่เสี่ยงคลอดก่อนกำหนด 

- คุณแม่อาจจะต้องผ่าคลอดก่อนวันที่กำหนด

- หากคุณแม่ได้รับการผ่าคลอดฉุกเฉิน🚨 อาจมีเลือดออกมากในขณะคลอด

- คุณแม่เสี่ยงรกลอกตัวก่อนกำหนด

- คุณแม่เสี่ยงภาวะครรภ์เป็นพิษ เนื่องจากความดันโลหิต🩸ที่สูงขึ้นหลังจากตั้งครรภ์ได้ 20 สัปดาห์

👶ความเสี่ยงที่มีต่อทารกในครรภ์

- ทารกเสี่ยงตัวเล็กหรือมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเด็กปกติ

- ทารกต้องได้รับการดูแลในห้องไอซียูตั้งแต่แรกเกิด

- ทารกมีคะแนน Apgar ต่ำ 🔽

คะแนน Apgar คือคะแนนที่บ่งบอกถึงผลการประเมินสภาพร่างกายของทารกแรกเกิด โดยแพทย์จะทำการทดสอบภายใน 5 นาทีแรกหลังจากที่ทารกคลอด คุณหมอจะทำการตรวจสอบอัตราการเต้นของหัวใจ🫀 การหายใจ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ ปฏิกิริยาตอบสนองและรวมไปถึงสีผิวของทารก โดยมี โดยมี range จาก 0 - 10 คะแนน หากลูกคุณแม่มีคะแนนต่ำหมายความว่าลูกควรได้รับการดูแลอย่างเป็นพิเศษจากทีมแพทย์👩‍⚕️

   ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาภาวะสายสะดือไม่เกาะที่ตัวเนื้อรกได้ คุณหมอแนะนำให้คุณแม่ติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์อย่างต่อเนื่อง ทุกๆ 4-6 สัปดาห์ เพื่อทำการทดสอบกับทารกในครรภ์อย่างเป็นประจำ เช่นการทดสอบอัตราการเต้นของหัวใจ และการเคลื่อนไหวของทารกในครรภ์ อีกทั้งคุณแม่ควรทำตามคำแนะนำของคุณหมอเพื่อดูแลสุขภาพร่างกายของคุณแม่ให้ดีที่สุดและพักผ่อนอย่างเพียงพอค่ะ😴