post-title

การคลอดทารกท่าก้น อันตรายไหม?

     การคลอดโดยทั่วไปนั้นมักจะเป็นการนำศีรษะทารกออกมาเป็นอันดับแรก แต่ในกรณีที่ทารกไม่ได้กลับศรีษะลงมาที่อุ้งเชิงกราน ซึ่งมักเกิดขึ้นกับทารกที่มีอายุครรภ์ไม่ถึงกำหนด ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของอายุครรภ์ จึงทำให้ทีมแพทย์👩‍⚕️ต้องทำคลอดทารกท่าก้น การคลอดทารกท่าก้นนั้นเป็นอย่างไร มีความอันตรายหรือไม่? บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลต่างๆมาให้คุณแม่ทราบแล้วค่ะ💁‍♀️


ทารกท่าก้น แบ่งเป็นกี่ประเภท?

ทารกท่าก้นแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังต่อไปนี้

1️⃣ Frank breech

เป็นท่าที่พบได้มากที่สุดถึง 85% โดยทารกจะเอาก้น🍑เป็นส่วนนำ งอสะโพกทั้งสองข้าง แต่ข้อเขาจะงอเพียงข้างเดียว หรือในบางกรณีอาจจะงอทั้ง 2 ข้าง 

2️⃣ Complete breech 

ทารกจะมีการงอข้อสะโพกทั้งสองข้าง และเหยียดข้อเข่าทั้งสองข้าง ทำให้บริเวณเท้าอยู่ชิดกับหน้า👶

3️⃣ Incomplete breech 

ทารกเหยียดขาตรง🦵ข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง แต่สะโพกจะไม่งอเหมือน 2 ท่าแรก เนื่องมาจากถุงน้ำคร่ำแตกออก ทำให้เท้าหรือเข่าอยู่ต่ำกว่าส่วนก้นลงไป หากเอาเท้าเหยียดลงไปต่ำสุดจะเรียกว่า Footling breech 


คุณแม่จะทราบได้ยังไงว่าทารกอยู่ในท่าไหน?

👉วิธีสังเกตว่าทารกกำลังอยู่ในท่าก้น

โดยทั่วไปทางสูติแพทย์และพยาบาล👩‍⚕️จะแจ้งให้คุณแม่ทราบว่าทารกกำลังอยู่ในท่าไหน แต่คุณแม่เองก็สามารถใช้หลักการง่ายๆในการสังเกตถ้าของลูกน้อยได้ค่ะ

- สามารถมองเห็นก้น ขา เท้า🦶 คลอดออกมาก่อนหัวทารก

- สายสะดือมีลักษณะหย่อนคล้อย

- คุณแม่จะรู้สึกว่ามีก้อนแข็งๆกลมๆขึ้นไปมาตรงบริเวณท้องน้อย

จากการที่ถุงน้ำคร่ำแตกออก จะมีขี้เทาๆ หนาๆ ซึ่งนั่นคืออุจจาระที่ทารกถ่ายออกมาครั้งแรกค่ะ

- สามารถสังเกตได้จากการอัลตราซาวด์ หรือการเอกซเรย์🩻


ความเสี่ยงของการคลอดทารกท่าก้น

✨สายสะดืออาจมีการหย่อนคล้อย

เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยมากกับการคลอดทารกท่าก้น เนื่องมาจากการที่ก้น เท้า และขาของทารกไม่พอดีกับกระดูกเชิงกรานของคุณแม่ จึงทำให้สายสะดือมีความลื่นและมีโอกาสหลุดผ่านไปยังปากมดลูก หากสายสะดือหลุดออกไปจะเกิดการหดตัวลง และมีผลต่อการไหลเวียนของเลือด🩸ที่หล่อเลี้ยงออกซิเจนและสารอาหารจากแม่ไปสู่ลูก

✨เสี่ยงศีรษะติดอยู่ในช่องคลอด 

การคลอดทารกท่าก้นมีโอกาสสูงที่ศีรษะ👶ของทารกจะติดอยู่ในช่องคลอด ในขณะที่ส่วนอื่นๆของร่างกายทารกคลอดออกมาหมดแล้ว ถือเป็นเรื่องที่น่ากังวลต่อการรับออกซิเจนของทารก ถ้าทางทีมแพทย์พิจารณาว่ามีโอกาสเสี่ยงมาก อาจจะทำให้ต้องผ่าตัดคลอดให้คุณแม่ 

💫ในช่วงระยะเวลาก่อนการทำคลอดทารกท่าก้น

หากคุณแม่ได้รับการดูแลที่ดีตลอดมา ก็จะทำให้มีความเสี่ยงน้อยต่อลูกในครรภ์🤰ที่มีการคลอดทารกท่าก้น แต่อย่างไรก็ตามการคลอดทารกท่าก้นอาจทำให้ทารกมีการบอบช้ำที่สะโพกเนื่องมาจากการคลอดได้ เพราะปกติแล้วสะโพกส่วนใหญ่จะต้องผ่านกระดูกเชิงกรานของคุณแม่มาก่อน แต่ทารกท่าก้นจะเป็นการคลอดอีกรูปแบบหนึ่งค่ะ 

💫ในช่วงระยะเวลาหลังการทำคลอดทารกท่าก้น

หลังจากทำการคลอดทารกท่าก้นแล้ว อวัยวะเพศของทารกอาจมีอาการบวมและบอบช้ำได้ ในทารกเพศชาย👦อาจทำให้เกิดโรคถุงน้ำลูกอัณฑะ และในบางรายอาจจะมีแนวโน้มหัวกลมมากขึ้น เป็นผลมาจากการที่กะโหลกศีรษะไม่ได้รับการหล่อลูกในบริเวณเชิงกรานของคุณแม่ เหมือนกับทารกทั่วไปที่คลอดโดยการเอาศีรษะลงมาก่อน  และทารกบางรายอาจจะมีอาการบาดเจ็บได้ เกิดในกรณีที่ทารกคลอดก่อนกำหนดทำให้ทีมแพทย์ต้องใช้คีม🥢ในการช่วยดึงศีรษะทารกออกมา

     การทำคลอดทารกในท่าก้น🍑นั้นไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คุณแม่คิด ถึงแม้ทารกจะไม่ได้นำศีรษะออกมาเป็นอันดับแรกเหมือนทารกโดยทั่วไป แต่ก็ยังสามารถทำการผ่าคลอดได้แทนการคลอดผ่านทางช่องคลอด คุณแม่ควรดูแลรักษาตัวเองให้ดีเพื่อพร้อมรับมือในกรณีที่ต้องทำการคลอดท่าก้นค่ะ