ภาวะรกติดงอกไม่ได้พบได้บ่อยนัก เกิดขึ้นได้ใน 1-3 ราย ในคุณแม่ตั้งครรภ์ 1,000 คนในรอบ10 ปีที่ผ่านมา ภาวะนี้เป็นภาวะที่รกเกาะแน่นกับกล้ามเนื้อมดลูก โดยปกติแล้วรกต้องเกาะที่ชั้นเยื่อมดลูกและจะมีการลอกตัวภายในระยะไม่เกิน 30 นาทีหลังคลอด หากว่ารกมีการเกาะลึกมากเกินไปจนถึงชั้นกล้ามเนื้อมดลูก ก็จะทำให้โรคไม่สามารถลอกตัวได้ตามปกติ มีผลทำให้เกิดภาวะเลือดตกหลังคลอด🩸 ซึ่งเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับภาวะรกงอกติดที่ควรแม่ควรทราบ ไปดูกันเลยค่ะ💁♀️
ลักษณะอาการของภาวะรกงอกติด
💫ระยะก่อนคลอด
ในระยะก่อนคลอดนั้นมักจะยังไม่มีการแสดงออกของอาการ นอกจากกรณีที่รกเกาะลึกจนทะลุเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งทำให้คุณแม่อาจมีอาการปวดท้องแบบเฉียบพลัน🥴 และรุนแรงไปถึงขั้นถ่ายเป็นเลือดได้ เพราะว่ารกเกาะลึกมากจนทะลุกล้ามเนื้อมดลูกมาในช่องท้อง
💫ระยะหลังคลอด
หากลบงอกติดแล้วและรอบตัวได้ไม่หมดภายในระยะเวลา 30 นาทีหลังคลอด แต่ทำให้เกิดเลือดออกจากโพรงมดลูก โดยมีชื่อเรียกของอาการว่า “ตกเลือดหลังคลอด” เป็นการตกเลือดแบบเฉียบพลันที่เสี่ยงทำให้คุณแม่เสียชีวิตได้💀
💫รกงอกติดที่บางส่วน
ในกรณีที่มีรกงอกติดค้างในโพรงมดลูกอยู่บางส่วน มักจะส่งผลให้เกิดเลือดออก🩸ระยะหลังคลอดแบบช้า (Delayed postpartum hemorrhage) ทำให้เกิดการติดเชื้อในโพรงมดลูกหรือเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ
ผลข้างเคียงของภาวะรกงอกติด
👉การตกเลือดหลังคลอด
หากทารกคลอดออกมาแล้วแต่รกไม่คลอดออกมาตาม อาจทำให้มดลูกเกิดการรัดตัวได้ไม่ดี จนทำให้มีการเสียเลือดมากเกินไป จัดว่าเป็น ภาวะตกเลือดหลังคลอด🩸 เป็นผลมาจากแผลเปิดบนเยื่อบุโพรงมดลูก ทำให้อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้
👉การติดเชื้อในมดลูก
คุณแม่อาจจะต้องประสบกับการติดเชื้อในมดลูกและเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ ทำให้ต้องเข้ารับการรักษาอยู่ในโรงพยาบาล🏥
วิธีการที่แพทย์ใช้วินิจฉัยภาวะรกงอกติด
✨ในกรณีก่อนตั้งครรภ์และก่อนคลอด
แพทย์จะเน้นย้ำและแนะนำให้ระวังการเกิดภาวะโรคงอกติด เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดได้ในการคลอดครั้งต่อไป ซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ในช่วงระหว่างการฝากครรภ์นั้นคุณแม่จะต้องตรวจครรภ์ผ่านขึ้นแม่เหล็กไฟฟ้า🧲 หรือ MRI และถ้าผลตรวจออกมาว่าพบรกเกาะลึกจนทะลุกล้ามเนื้อมดลูก ทางแพทย์จะเริ่มวางแผนเกี่ยวกับการผ่าคลอดอย่างระมัดระวังเพื่อเป็นการรักษาชีวิตของคุณแม่ไว้ เนื่องจากภาวะรกงอกติดมีความเสี่ยงสูงและมีความรุนแรงมาก
✨ในกรณีหลังคลอด
หากทารกคลอดออกมาแล้วแต่รกไม่คลอดออกมาด้วยทั้งอันหรือรกคลอดออกมาไม่หมด ทีมแพทย์จะทราบได้เลยว่ารกนั้นก่อติดแน่นมากๆ และจะทำการตรวจเช็คดูว่ารถเกาะติดอยู่ตรงไหนบ้าง โดยการใช้เครื่องอัลตราซาวด์มดลูกมาเพื่อช่วยวินิจฉัย🩺
จากบทความที่กล่าวมาข้างต้นนั้นคุณแม่จะเห็นได้ว่าภาวะรกงอกติดนั้นมีความอันตรายและเสี่ยงต่อคุณแม่ตั้งครรภ์🤰เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในรายของคุณแม่ที่เคยมีการแท้งลูกมาก่อนหรือคุณแม่ที่มีโพรงมดลูกบาง ทางเราจึงแนะนำให้คุณแม่ดูแลตัวเองให้ดีตั้งแต่ในขณะการฝากครรภ์และทำตามคำแนะนำของแพทย์👩⚕️อย่างเคร่งครัด เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายต่อทั้งตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ค่ะ