post-title

คนท้องมีจุดเลือดใต้ผิวหนัง

  ในช่วงตั้งครรภ์🤰นั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆในร่างกายของคุณแม่เป็นอย่างมาก คุณแม่หลายๆท่านคงสังเกตว่าตัวเองมีเลือดออกใต้ผิวหนัง หรือที่เรียกว่า “Petechiae” จุดสีแดงและสีม่วงใต้ผิวนี้คืออะไร เป็นอันตรายต่อคุณแม่และทารกในครรภ์ไหม วันนี้ทางเราจะพาคุณแม่ไปหาคำตอบกันค่ะ💁‍♀️


จุดเลือดใต้ผิวหนัง มาจากไหน?

✨เป็นอาการที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ

อาการตกเลือดขนาดเล็ก (Petechiae)  เป็นผลมาจากความดันที่เพิ่มขึ้นภายในเลือด🩸ในขณะที่คุณแม่ได้ตั้งครรภ์ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือด ในบางรายอาจเกิดจากการขาดวิตามินซี เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัส🦠 เช่น Cytomegalovirus (CMV) Epstein-Barr virus (EBV) และไวรัสฮันตา (Hantavirus)


ลักษณะอาการ💫อาการหลัก

เป็นจุดใต้ผิวหนังที่มีสีแดง สีม่วง หรือสีน้ำตาล จุดที่เกิดขึ้นนั้นจะไม่แสดงอาการคันและอาการเจ็บปวด พบได้ตามขา🦵 ข้อเท้า🦶 และส่วนต่างๆของร่างกายคุณแม่

💫อาการแฝงอื่นๆที่ตามมา

นอกจากการเป็นจุดที่เกิดจากหลอดเลือดที่แตกออกมาแล้วทำให้เกิดจุดแดงๆนั้น ในคุณแม่บางรายอาจมีไข้🤒 หนาวสั่น🥶 อ่อนเพลีย หายใจถี่ มีอาการฟกช้ำที่ตัว รวมไปถึงในกรณีที่ร้ายแรงอาจจะมีปัสสาวะหรืออุจจาระ💩ที่มีเลือดปนออกมา


วิธีการรักษาอาการจุดเลือดใต้ผิวหนัง

การรักษา🩺นั้นขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์แต่ละท่าน โดยทั่วไปชุดเลือดแดงนั้นสามารถหายได้เองหลังจากการตั้งครรภ์แต่ในบางรายที่มีอาการรุนแรงคุณหมออาจจะแนะนำให้ใช้วิธีอื่นๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาด้วย

💊การใช้ยาปฏิชีวนะรักษา

คุณหมออาจให้ยาปฏิชีวนะในการรักษาหากเป็นการติดเชื้อจากแบคทีเรีย

💊การใช้ยาแก้อาการอักเสบ

คุณหมอจะให้ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ (Corticosteroid) เพื่อให้ตัวยานั้นเข้าไปลดอาการทำลายหลอดเลือดและยังช่วยรักษาอาการอักเสบ

💊การใช้เคมีบำบัด

ในกรณีที่คุณแม่มีอาการรุนแรง แพทย์จะใช้เคมีบำบัดด้วยการฉายรังสีภูมิคุ้มกันบำบัด จนไปถึงการปลูกไขกระดูก🦴เพื่อรักษาในบางรายที่มีอาการของต้นเหตุมาจากโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

💊การทานวิตามินซี

แพทย์อาจแนะนำให้คุณแม่ทานอาหารเสริม เช่น วิตามินซี เพื่อป้องกันการขาดวิตามินซี นับได้ว่าเป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการจุดเลือดใต้ผิวหนัง 

อาการจุดเลือดใต้ผิวหนังนั้นถือว่าเป็นอาการที่ไม่ได้ร้ายแรงต่อคุณแม่และทารกในครรภ์👶 แต่อย่างไรก็ตามคุณแม่ต้องระมัดระวังหากเกิดอาการนี้ขึ้นกับตนเอง ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ👨‍⚕️ เพื่อเป็นการหาแนวทางในการรักษาและอีกทั้งยังป้องกันความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะรุนแรงที่อาจจะตามมาจากอาการจุดเลือดใต้ผิวหนังได้ค่ะ