post-title

คนท้องทำ IF ได้ไหม?

     การรับประทานอาหารในระยะเวลาที่จำกัดเป็นช่วงๆ⏳ ถือเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นวิธีที่ช่วยลดน้ำหนักและไขมันในช่องท้อง (Visceral fat) ได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับคุณแม่ท้องรวมไปถึงคุณแม่ที่ต้องให้นมบุตรนั้น🤱 มักมีคำถามขึ้นมาว่า “การทำ IF นั้นปลอดภัยต่อคุณแม่จริงไหม?’’ วันนี้ทางเราจะพาคุณแม่ไปหาคำตอบกันค่ะ💁‍♀️


การทำ IF คืออะไร

✨Intermittent fasting (IF)

การทำ Intermittent fasting หรือเรียกง่ายๆว่า IF เป็นการอดอาหารเป็นช่วงๆ ซึ่งการที่คุณแม่รับประทานอาหาร🍽️ในช่วงเวลาที่จำกัดนั้น ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอินซูลินลดลง ทำให้เปลี่ยนน้ำตาลในเลือดไปเป็นไขมันลดลง และในช่วงที่ระดับของอินซูลินลดลงนั้นร่างกายจะทำการหลั่งโกรทฮอร์โมนมากขึ้น ซึ่งโกรทฮอร์โมนนั่นเองจะช่วยให้ร่างกายนำไขมันมาเผาผลาญและเพิ่มระบบเผาผลาญพลังงานให้สูงขึ้น 


4 เหตุผลที่บอกว่าการทำ IF อันตรายต่อคุณแม่ตั้งครรภ์

👉คุณแม่เสี่ยงขาดสารอาหาร

เนื่องจากในช่วงตั้งครรภ์นั้น ทารกต้องการสารอาหารที่จำเป็นต่อคุณแม่เป็นอย่างมาก หากคุณแม่ได้ทำการอดอาหารเป็นช่วงๆ หรือลดปริมาณของสารอาหารที่รับประทานเข้าไป อาจส่งผลให้ทารกได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอที่จะไปพัฒนาระบบสมอง🧠และร่างกายเพื่อการเจริญเติบโต

👉เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด

จากงานวิจัยในปี 2019 ที่ศึกษาเกี่ยวกับการอดอาหารในช่วงเดือนรอมฎอน พบว่าหากคุณแม่ทำ IF ในช่วงท้องไตรมาสที่ 2 จะทำให้มีความเสี่ยงสูงถึง 35% ที่ทารกจะคลอดก่อนกำหนด🚼 ถึงแม้การวิจัยจะไม่ได้ออกแบบมาเพื่อศึกษาการทำ IF โดยเฉพาะ แต่ในการวิจัยนั้นได้ระบุอย่างชัดเจนว่าการทำ IF นั้นมีความเชื่อมโยงของกับการคลอดก่อนกำหนดของทารก

👉ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำเป็นอีกภาวะที่น่ากังวลใจสำหรับคุณแม่ท้อง การทำ IF จะทำให้น้ำตาลในเลือดลดลง📉เนื่องจากคุณแม่ได้อดอาหารเป็นระยะเวลานาน ซึ่งอาจมีผลทำให้คุณแม่มีอาการวิงเวียนศีรษะ😵‍💫 หน้ามืด หรือเป็นลมได้ อีกทั้งยังมีความเกี่ยวข้องกับการดิ้นของทารกในครรภ์ที่ลดลงอีกด้วยค่ะ

👉ทำให้ปริมาณและคุณภาพน้ำนมลดลง

เนื่องจากในช่วงไตรมาสที่ 4 หรือเรียกง่ายๆว่าช่วงหลังคลอดนั้นยังเป็นช่วงเวลาที่ ทารกต้องการสารอาหารที่ดีจากคุณแม่ คือ สารอาหารจากนมแม่🍼 ทำให้ร่างกายของคุณแม่ ต้องการโภชนาการที่ดีเป็นพิเศษเพื่อช่วยเสริมปริมาณน้ำนมของคุณแม่ หากคุณแม่จำกัดแคลอรี่ในการทานมากเกินไป อาจจะส่งผลกระทบต่อปริมาณของน้ำนมคุณแม่ได้เป็นอย่างมากค่ะ 


วิธีทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นแบบเฮลตี้ของคุณแม่ตั้งครรภ์

💫เน้นสารอาหารที่มีประโยชน์

แทนที่คุณแม่จะทำ IF หรือเข้มงวดต่อปริมาณแคลอรี่ที่ต้องกินในแต่ละวันนั้น คุณแม่ควรเน้นไปที่การทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย คุณแม่ควรเพิ่มการบริโภคขึ้นประมาณ 300 แคลอรี่ในแต่ละวัน และจำกัดการบริโภคคาเฟอีนที่ 200 มิลลิกรัมต่อวัน และสำคัญที่สุดคือควรงดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการเสพสารเสพติดทุกชนิดในระหว่างตั้งครรภ์ค่ะ ตัวอย่างอาหารที่คุณแม่ควรรับประทานเพิ่ม เช่น อาหารที่ไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง🌾 ข้าวไรซ์เบอรี่ โปรตีนที่ไม่ติดมัน เช่น โปรตีนจากเนื้อปลา🐟 รวมไปถึงผักและผลไม้ออร์แกนิค🍓ด้วยค่ะ

     น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์นั้นถือเป็นเรื่องปกติสำหรับคุณแม่ ช่วงเพราะในช่วงตั้งครรภ์นั้นทารก👶จะต้องการสารอาหารที่ดีจากคุณแม่ผ่านทางสายสะดือ และน้ำหนักของคุณแม่จะค่อยๆลดลงหลังจากคลอดทารกนั่นเองค่ะ คุณแม่สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยววชาญเกี่ยวกับโภชนาการและการรับประทานอาหาร🍽️เพื่อเป็นการส่งเสริมให้คุณแม่มีสุขภาพครรภ์ที่ดีค่ะ