post-title

แม่ท้องมีปัญหานอนไม่หลับ ทำไงดี?

     คุณแม่หลายๆท่านอาจเคยเผชิญกับปัญหาอาการนอนไม่หลับ😴กันใช่ไหมคะ โดยเฉพาะการนอนไม่หลับในช่วงกลางคืนนั้นช่างทรมานมากเหลือเกิน ทำให้วันต่อมาคุณแม่รู้สึกอ่อนเพลียและเหนื่อยล้าในช่วงกลางวัน เนื่องจากได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอ วันนี้ทางเราจะพามันทราบถึงสาเหตุอาการนอนไม่หลับของคนท้อง และวิธีแก้ปัญหาการนอนหลับยากกันค่ะ💁‍♀️


อาการคนท้องนอนไม่หลับในแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์

ช่วงของนั้นคุณแม่อาจประสบกับปัญหานอนไม่ มีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน  จึงทำให้คุณแม่รู้สึกไม่สบายเนื้อสบายตัว ส่งผลให้นอนไม่หลับ หรือนอนหลับยาก😪ขึ้นมากกว่าเดิม โดยอาการสามารถแบ่งออกได้ตามแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์ ดังต่อไปนี้

✨ไตรมาสแรก

อาการนอนไม่หลับในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์นั้น จะทำให้คุณแม่เกิดอาการอื่นๆที่ตามมาได้ด้วยเช่นกัน เช่น อาการรู้สึกอ่อนเพลีย คลื่นไส้🤢 ง่วมซึม หรืออาการแสบร้อนตรงกลางอกก็เป็นไปได้ ดังนั้น คุณแม่ควรพยายามพักผ่อนให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้นะคะ

✨ไตรมาสสอง

ในช่วงไตรมาสที่ 2 ร่างกายของคุณแม่จะมีการปรับตัวได้ดีขึ้นจากอาการของไตรมาสแรก ทำให้คุณแม่สามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้น เนื่องจากระดับของฮอร์โมนได้เพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยแล้ว แต่อย่างไรก็ตามในคุณแม่บางรายอาจจะมีอาการแทรกซ้อน เช่น การเป็นตะคริวที่ขา🦵 นอนกรน หรืออาการหยุดหายใจตอนนอน หากคุณแม่มีอาการเหล่านี้ควรเข้าปรึกษาแพทย์โดยเร็วที่สุด

✨ไตรมาสสาม

ในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่หลายๆท่านอาจเผชิญกับปัญหาอาการนอนไม่หลับอีกครั้ง ซึ่งอาการอาจจะหนักกว่าในช่วงไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2 ในช่วงที่หลับนั้นคุณแม่อาจจะรู้สึกว่าไม่สามารถหลับได้อย่างสนิท และมักจะตื่นมาแต่เช้า สาเหตุมาจากการที่ทารกในครรภ์มีการเคลื่อนไหว👶 และในคุณแม่บางรายอาจจะมีอาการกรดไหลย้อน ขากระตุก และปวดปัสสาวะบ่อยขึ้นด้วยค่ะ


ผลเสียต่อร่างกายคุณแม่จากอาการนอนไม่หลับ

👉ทำให้เกิดความเครียด

เมื่อคุณแม่นอนไหมหลับ ก็จะส่งผลให้เกิดอาการเครียด🤯และความวิตกกังวล ทำให้คุณแม่รู้สึกอ่อนเพลียในวันถัดมาค่ะ

👉ความดันโลหิตสูง

อาการนอนไม่หลับก็มีส่วนทำให้ความดันโลหิต🩸ของคุณแม่สูงขึ้น และนั่นก็อาจส่งผลเสียให้คุณแม่เข้าสู่ภาวะครรภ์เป็นพิษได้ ทางเราแนะนำว่าคุณแม่ควรได้รับการพักผ่อนเป็นอย่างน้อย 8-9 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อที่จะควบคุมฮอร์โมนและปรับสมดุลของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

👉ในครรภ์เจริญเติบโตช้า

การที่คุณแม่นอนไม่หลับนั้นก็จะส่งผลโดยตรงต่อทารกในครรภ์ด้วย ทำให้ทารกในครรภ์ก็นอนไม่หลับด้วยเช่นกันค่ะ ซึ่งอาการนี้จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายและการพัฒนาทางสมอง🧠ของลูกน้อย อีกทั้งยังส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือด ทำให้เลือดไปเลี้ยงทารกในครรภ์ไม่เพียงพอ อาจทำให้ทารกที่เกิดมามีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ


วิธีบรรเทาอาการนอนไม่หลับ

💤ฝึกเข้านอนให้เป็นเวลา

คุณแม่ควรฝึกเวลาที่จะเข้านอนให้เป็นกิจวัตร😴 ไม่ควรนอนดึกมากจนเกินไป และควรพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 8-9 ชั่วโมงต่อวัน จะทำให้คุณแม่รู้สึกตื่นมาสดชื่นในวันถัดไป

🍽️ให้ความสำคัญกับโภชนาการ

คุณแม่ควรใส่ใจที่จะรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายคุณแม่ เพราะสารอาหารจะถูกส่งต่อไปยังลูกโดยตรง โดยคุณแม่ควรเลือกทานอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน เช่นอัลมอนด์🥜 โยเกิร์ต🥛และผักผลไม้ที่มีสีเขียว จะช่วยทำให้คุณแม่นอนหลับได้สนิทยิ่งขึ้นค่ะ

🎬เลือกทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย

คุณแม่ควรเลือกทำกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดระหว่างวันได้ เช่น การดูหนังตลก อ่านหนังสือ📚 ฟังเพลง หรือแม้กระทั่งการเล่นโยคะ ก็สามารถช่วยให้คุณแม่ผ่อนคลายยิ่งขึ้นและนอนหลับสนิทได้มากขึ้นในช่วงกลางคืนค่ะ

🧘‍♀️ออกกำลังกายเบาๆ

คุณแม่ท้องสามารถออกกำลังกายเบาๆเพื่อเป็นการช่วยให้คุณแม่นอนหลับและสบายยิ่ง  เช่น การเดินเล่นที่สวนสาธารณะ🚶‍♀️ การเล่นโยคะ หรือการเล่นพิลาทิสที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน กิจกรรมเหล่านี้สามารถช่วยให้คุณแม่นอนหลับได้ง่ายขึ้น และคุณแม่ไม่ควร🙅‍♀️ออกกำลังกายก่อนก่อนนอนอย่างน้อย 4 ชั่วโมง เพราะอาจจะทำให้ร่างกายแอคทีฟจนไม่สามารถนอนหลับได้

🎶ฟังเพลงก่อนนอน 

การฟังเพลงก่อนนอนจะช่วยให้คุณแม่สามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้น  คุณแม่สามารถเลือกเพลงที่ผ่อนคลาย เช่น เพลงโมสาร์ท🎻 เพื่อทำให้คุณแม่ผ่อนคลายและสามารถนอนหลับได้สนิทขึ้นค่ะ

     คนท้องกับอาการนอนไม่หลับนั้นเป็นของคู่กัน เป็นผลเนื่องมาจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนและสมดุลของร่างกาย คุณแม่สามารถประยุกต์วิธีข้างต้นที่ทางเราได้มีการลิสต์ไว้ให้มาปรับใช้ดูได้ค่ะ แต่หากว่าคุณแม่เพราะว่าตัวเองนอนไม่หลับติดต่อกันเป็นระยะเวลาหลายวัน หรือมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ควรรีบไปพบแพทย์👨‍⚕️ทันทีค่ะ