หลังจากคุณแม่ได้ทราบข่าวดีว่ามีเจ้าตัวน้อย👶 ก็ถึงเวลาที่คุณแม่ต้องเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีดูแลตัวเองในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก🤰 หรือในช่วง 1-3 เดือน เป็นช่วงที่คุณแม่เริ่มท้องอ่อนๆ และจะต้องพบกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในหลายๆด้าน วันนี้ทางเราได้รวบรวม 6 อาการที่คุณแม่ตั้งครรภ์ในไตรมาสแรกต้องรู้ไว้เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ไปดูพร้อมๆกันเลยค่ะ💁♀️
คุณแม่จะมีอาการดังนี้
อาการที่ 1
👉อารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย
แม่ท้องจะสังเกตได้ว่าตังเองเริ่มมีอารมณ์ไม่คงที่ หงุดหงิดง่าย🤬ต่อเรื่องเล็กๆ น้อยๆ และอาจจะมีอาการร้องไห้บ่อยโดยไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง ความอ่อนไหวทางอารมณ์เกิดมาจากการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมนของแม่ที่เริ่มตั้งครรภ์ ถือเป็นเรื่องปกติค่ะ
อาการที่ 2
👉อาการปวดหน่วงๆ ตรงท้องน้อย
คุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการปวดหน่วงๆที่ท้องน้อย เพราะอาจเป็นสัญญาณที่คุณแม่จะเกิดภาวะเสี่ยงหรือภาวะแทรกซ้อน หากคุณแม่พบว่าตัวเองมีอาการปวดท้องที่ผิดปกติ ควรรีบไปพบแพทย์👨⚕️ทันทีค่ะ
อาการที่ 3
👉หน้าเป็นสิว ฝ้า และกระ
ในคุณแม่บางท่านอาจพบเจอกับปัญหาผิวพรรณ เช่น เป็นสิว ฝ้า และมีกระขึ้นเยอะผิดปกติ จนทำให้คุณแม่หมดความมั่นใจ มีความรู้สึกว่าหน้าหมองคล้ำและผิวมีความเซนซิทีฟกว่าช่วงก่อนตั้งครรภ์ แพทย์แนะนำให้คุณแม่ดูแลรักษาด้วยการทามอยเจอร์ไรเซอร์🧴และครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ ควรหลีกเลี่ยงการเผชิญกับแสงแดด☀️โดยตรงค่ะ
และยังมีอาการเหล่านี้อีกด้วย
อาการที่ 4
👉อาการเจ็บเต้านม
คุณแม่จะมีการขยายของเต้านมประมาณ 25- 50% ในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก ร่วมกับมีอาการเจ็บและเสียวเต้านม ในบางรายอาจจะมีการเจ็บข้างใดข้างหนึ่งมากกว่ากัน แพทย์แนะนำให้เลือกใช้ยกทรง👙ที่มีขนาดพอดีกับเต้านม และควรเลี่ยงการใช้ยกทรงที่มีโครงแข็ง เพราะอาจจะทำให้คุณแม่รู้สึกอึดอัดและเจ็บบริเวณเต้านมค่ะ
อาการที่ 5
👉อาการแพ้ท้อง คลื่นไส้
อาการแพ้ท้อง🤮 (Morning sickness) ถือเป็นอาการแรกเริ่มที่คุณแม่ตั้งครรภ์โดยส่วนใหญ่ต้องพบเจอ จะมีลักษณะอาการเวียนศีรษะ คลื่นไส้ จนไปถึงอาการอาเจียน และมีความไวต่อกลิ่นต่างๆ โดยเฉพาะกลิ่นอาหาร บางกลิ่นที่เคยรู้สึกว่าหอมกลับกลายเป็นเหม็นแทนซะงั้น แพทย์แนะนำให้ปรับพฤติกรรมการกินอาหาร🍽️ โดยคุณแม่สามารถค่อยๆกินอาหารทีละนิด กินบ่อยๆ และเลือกกินอาหารที่รู้สึกว่าไม่เหม็นค่ะ
อาการที่ 6
👉อาการท้องผูก
อาการท้องผูกของคนท้องเกิดจากฮอร์โมนและขนาดของมดลูกที่โตขึ้น ทำให้มดลูกไปเบียดลำไส้ และในคุณแม่บางท่านอาจเกิดจากผลข้างเคียงของการทานวิตามิน💊 เช่น แคลเซียมและธาตุเหล็กมากเกินไป แพทย์แนะนำการทานอาการที่มีไฟเบอร์สูงเพื่อช่วยกระตุ้นระบบการขับถ่าย เช่น ผักใบเขียว🥬 ข้าวกล้อง และโยเกิร์ต เป็นต้น
คุณแม่ทราบกับแล้วใช่ไหมคะ 6 อาการที่คุณแม่ตั้งครรภ์ในช่วง 1-3 เดือนแรกต้องรับมือ เพราะการมีเจ้าตัวน้อย👶เพิ่มมานั้นทำให้ร่างกายของคุณแม่ต้องมีการปรับตัวเพื่อการพัฒนาของทารกในครรภ์ หากคุณแม่ท่านใดพบว่าตัวเองมีอาการทีกล่าวมาในขั้นรุงแรง คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับคำปรึกษาทันทีค่ะ