post-title

ยาน้ำลดไข้สำหรับเด็ก มีแบบไหนบ้าง?

     ลูกมักมีอาการไม่สบาย🤒ได้บ่อยๆ คุณพ่อคุณแม่หลายๆท่านที่เป็นห่วงลูกคงเลือกใช้ยาน้ำลดไข้เพื่อบรรเทาอาการป่วยสำหรับลูก โตยยาน้ำที่เป็นลักษณะน้ำเชื่อมใสนี้ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นยาที่เด็กสามารถทานได้ง่าย แต่จริงๆแล้วยาน้ำนี้สามารถช่วยลดไข้เด็กได้จริงๆไหม และมียาน้ำประเภทไหนบ้าง ทางเราได้รวบรวมข้อมูลมาให้คุณแม่ทราบแล้วค่ะ💁‍♀️


3 ประเภทของยาน้ำเด็ก

✨ยาเชื่อมน้ำใส (Syrups)

น่าจะมีลักษณะเป็นของเหลว ไม่มีตะกอน และตัวยาจะละลายเท่ากันทั้ง คุณแม่จึงไม่ต้องเขย่าขวดก่อนทำการรินยาให้ลูก👶

ยาแขวนตะกอน (Suspensions)

คุณพ่อคุณแม่จะต้องทำการเขย่าขวดทุกครั้งก่อนใช้ยาแขวนตะกอน เพื่อให้ตัวยาเกิดการกระจายก่อนการรินยาให้ลูกทาน และควรเขย่ายาให้ดี เพื่อให้ได้ปริมาณตัวยาที่ครบตามต้องการ✅

ยาน้ำเชื่อมชนิดผงแห้ง (Dry Syrup)

ยาน้ำเชื่อมชนิดผงแห้งจะเป็นตัวยาที่เสื่อมสลายได้ง่าย ก่อนใช้ทุกครั้งคุณพ่อคุณแม่จึงต้องผสมน้ำดื่มสะอาด💧ในปริมาณที่กำหนด และจะต้องไม่ลืมเขย่าขวดก่อนทุกครั้งก่อนให้ลูกรับประทาน ซึ่งยาประเภทนี้จะมีโอกาสหกเลอะเทอะได้ง่ายในขณะเขย่า 


วิธีการเลือกยาน้ำสำหรับเด็ก

💫ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำ

ยาพาราเซตามอลชนิดน้ำถือว่าเป็นยาที่ช่วยบรรเทาอาการปวด ลดไข้🤒 และปลอดภัยต่อสุขภาพเด็ก ต่างจากยาในกลุ่มแอสไพรินหรือยาลดสำหรับลดไข้สูง ที่อาจมีผลข้างเคียงทำให้กระเพาะอาหารของลูกเกิดการระคายเคือง กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศไม่ให้ใช้ยาแอสไพรินในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เด็ดขาด

💫เลือกยาที่มีรสชาติหวานคล้ายรสผลไม้

เด็กๆมักจะปฏิเสธการทานยาอยู่เสมอ ซึ่งสร้างปัญหาให้คุณพ่อคุณแม่ต้องใช้เวลาหลอกล่อให้ลูกกินยา ดังนั้นการเลือกยาน้ำที่มีสีสันสดใส มีรสชาติคล้ายๆรสผลไม้ เช่น รสองุ่น🍇 รสสตอเบอรี่ และรสส้ม เป็นต้น จะช่วยทำให้ลูกรู้สึกว่ายานั้นมีรสชาติอร่อย และลืมไปว่าตัวเองกำลังทานยาอยู่ 

💫เลือกยาที่มีลักษณะขวดขุ่น

ยาน้ำที่มีลักษณะขวดขุ่นจะช่วยป้องกันแสงจากภายนอกที่ทำให้ยาเสื่อมสภาพเร็ว เมื่อเทียบกับขวดยาน้ำแบบใสและขวดยาน้ำแบบสีชา และยาน้ำที่มีขวดสีขุ่นยังทำให้คุณแม่สามารถเห็น👀ปริมาณยาที่เหลืออยู่ในขวด และถ้าหากขวดยาทำมาจากพลาสติก ก็จะพกพาสะดวกมากขึ้นและไม่เสี่ยงต่อการตกแตก


วิธีการเก็บรักษายาน้ำ

👉เก็บไว้ในห้องที่มีอุณหภูมิเหมาะสม

คุณพ่อคุณแม่ควรเก็บยาน้ำไว้ในอุณหภูมิห้องประมาณ 25 องศาเซลเซียส🌡️ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเก็บไว้ในตู้เย็น

👉ระยะเวลาในการเก็บก็สำคัญ

โดยทั่วไปเภสัชกรและแพทย์จะแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่สามารถเก็บยาน้ำไว้ได้นานถึง 6 เดือน⏳ นับจากวันแรกที่ทำการเปิดใช้ยาแล้ว อย่างไรก็ตามคุณพ่อคุณแม่ควรต้องศึกษาผ่านทางฉลากยาและหมั่นสังเกตวันหมดอายุของยาด้วย เพราะตัวยาบางชนิดอาจจะมีฤทธิ์เสื่อมสภาพลงได้เร็ว เช่น กลุ่มยาฆ่าเชื้อ

👉สังเกตสีและกลิ่นของยา

หากคุณพ่อคุณแม่พบว่ายาน้ำมีสีและกลิ่นที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น มีสีขุ่นขึ้น หรือมีกลิ่นที่เหม็นเปรี้ยวผิดปกติ🙊 ไม่ควรใช้ยาต่อไปและควรนำยาทิ้งทันที เพื่อความปลอดภัยของสุขภาพเจ้าตัวน้อย 

     คุณแม่และคุณพ่อควรหมั่นดูแลสุขภาพของลูกน้อยให้เป็นเด็กที่แข็งแรง ทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ห่างไกลจากความเจ็บป่วย แต่ถ้าหากเจ้าตัวน้อยเกิดอาการเป็นไข้ขึ้นมา คนมันเฝ้าสังเกตอาการ และให้ลูกรับประทานยาตามอาการ หากพบว่าลูกอาการไม่ดีขึ้น ควรพาลูกไปพบแพทย์👩‍⚕️ทันทีค่ะ