post-title

ยาแก้หวัดสำหรับเด็ก ปลอดภัยต่อลูกจริงไหม?

     ในช่วงหน้าฝนนั้นเป็นช่วงที่ทำให้เด็กๆเกิดอาการป่วย🤒ได้ง่าย บางทีอากาศแปรปรวนเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาว ยิ่งทำให้เด็กๆสามารถติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจได้ เช่น ทางปาก จมูก และลำคอ บทความนี้ได้รวบรวมวิธีการเลือกยาแก้หวัดสำหรับเด็กมาให้คุณแม่ทราบ และยาแก้หวัดนั้นปลอดภัยต่อลูกจริงไหม เรามาหาคำตอบไปพร้อมๆกันเลยค่ะ💁‍♀️


2 ประเภทหลักของยาแก้หวัดเด็ก

💊ยาฟีนิลเอฟรีน  (Phenylephrine)

ยาฟีนิลเอฟรีนจัดเป็นยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป สามารถบรรเทาอาการคัดจมูก🤧 น้ำมูกไหล แต่ไม่ได้เป็นการรักษาที่ต้นเหตุของการเกิดน้ำมูกไหล ตัวยาชนิดนี้สามารถใช้ได้กับเด็กที่มีอายุ 12 ปีเป็นต้นไป และควรใช้ต่อเนื่องไม่เกิน 7 วัน และสิ่งที่คุณแม่ควรระวังคือ ยาประเภทนี้ไม่เหมาะสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางสุขภาพ เช่น โรคหัวใจ🫀 โรคไทรอยด์ โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เป็นต้น 

💊ยาซูโดเอฟีรีน (Pseudoephedrine)

ยาซูโดเอฟีรีน จะเป็นยาที่ต้องได้รับการสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น📝 เพราะยาประเภทนี้มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการคัดจมูกและน้ำมูกไหลได้ดี แพทย์แนะนำให้ใช้ยาชนิดนี้สำหรับเด็กที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป และตัวยาจะออกฤทธิ์นานถึง 12 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามตัวยาชนิดนี้ยังมีข้อจำกัดเหมือนกับยาชนิดอื่นๆ คุณแม่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบถึงโรคประจำตัวที่ลูกน้อยเป็นก่อนทำการรับยาด้วยเช่นกันค่ะ


ข้อควรระวังในการใช้ยาแก้หวัดสำหรับเด็ก

👉ปริมาณของยาที่ใช้

การใช้ยาลดน้ำมูก💊ให้มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องและรับประทานในปริมาณที่แพทย์แนะนำ หากลูกได้รับยาในปริมาณมากเกินไปอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ 

👉ผลกระทบต่อเด็กที่มีโรคประจำตัว

ยาแก้หวัดทุกชนิดไม่สามารถใช้ได้กับเด็กที่มีโรคประจำตัวได้ คุณแม่ควรระมัดระวังเรื่องนี้เป็นพิเศษหากพบว่าลูกของคุณแม่มีโรคประจำตัว เมื่อลูกเป็นหวัดคุณแม่ควรพาลูกไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ แพทย์จะจ่ายยาที่ปลอดภัยต่อลูก ไม่แนะนำให้คุณแม่ซื้อยามาให้ลูกทานเอง🙅‍♀️ 

     คุณแม่ควรใส่ใจในเรื่องสุขภาพของลูกเป็นอย่างมาก หากสังเกตว่าลูกมีอาการคัดจมูก เหมือนจะเป็นหวัด สิ่งแรกที่คุณแม่สามารถทำตามได้ง่ายๆ คือ การสอนให้ลูกล้างจมูก โดยใช้น้ำเกลือและเข็มฉีดยาในการฉีดล้างจมูก และถ้าหากคุณแม่พบว่าอาการของลูกไม่ดีขึ้น คนพาลูกไปพบแพทย์👨‍⚕️เพื่อรับการรักษาอย่างถูกวิธี