post-title

การตรวจเลือดเพื่อหาโรคพิการแต่กำเนิด มีแบบไหนบ้าง?

     การพิการแต่กำเนิดนั้นล้วนเกิดมาจากกรรมพันธุ์หรือการที่ทารกมีการติดเชื้อตั้งแต่อยู่ภายในครรภ์ คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทุกท่านไม่ควรมองข้ามการตรวจเลือด🩸เพื่อหาโรคพิการของทารกที่อาจเป็นได้ตั้งแต่กำเนิด การตรวจนั้นมีทั้งหมดกี่วิธี และโรคพิการแต่กำเนิดที่พบได้บ่อยๆมีโรคอะไรบ้าง วันนี้ทางเราได้รวบรวมข้อมูลมาให้คุณแม่ได้ทราบไปพร้อมๆกันค่ะ💁‍♀️


7 วิธีการตรวจเลือดเพื่อหาโรคพิการแต่กำเนิด

✨การตรวจ hCG

Human chrorionic gonadotropin (hCG) เป็นค่าฮอร์โมนของคุณแม่ตั้งครรภ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์เท่านั้น🤰 โดยส่วนประกอบมาจากเซลล์รบของทารก ฮอร์โมนชนิดนี้จะถูกผลิตหลังจากได้มีการปฏิสนธิของอสุจิและไข่จนเป็นตัวอ่อนได้ประมาณ 2 สัปดาห์ คุณแม่สามารถตรวจหาความพิการของทารกในครรภ์ได้โดยการตรวจเลือดและตรวจปัสสาวะ คุณแม่ตั้งครรภ์แฝด และผู้ป่วยดาวน์ซินโดรมจะมีค่าฮอร์โมนสูง 

การตรวจ AFP 

alfa-Fetoprotein (AFP) จะเป็นค่าที่คุณแม่สามารถตรวจความผิดปกติได้ระหว่างช่วงตั้งครรภ์ 7 สัปดาห์เป็นต้นไปจนถึงช่วงตั้งครรภ์ 28 ถึง 32 สัปดาห์ หากคุณแม่พบว่าทารกมีความผิดปกติทางสมอง🧠 ค่า AFP จะปรากฏในเลือดของคุณแม่และในน้ำคร่ำสูงกว่าปกติถึง 2- 3.5 เท่า

การตรวจ CVS

จัดว่าเป็นการเจาะชิ้นเนื้อรบเพื่อนำมาวินิจฉัย🩺โรคของทารกในครรภ์ถึงความผิดปกติ ขึ้นอยู่กับ 2 ข้อบ่งชี้หลัก คือ Fetal karyotyping และ DNA analysis for single gene defects

การตรวจอัลตร้าซาวด์

การตรวจอัลตร้าซาวด์เป็นการแสดงให้เห็นถึงการเต้นของหัวใจ🫀ทารกในครรภ์ รวมไปถึงการเคลื่อนไหวต่างๆของร่างกาย โดยทารกจะพัฒนาการไปเรื่อยๆตามอายุครรภ์ที่โตขึ้น

การตรวจโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

การตรวจโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงไตรมาสสุดท้ายของการตั้งครรภ์ โดยทีมแพทย์จะให้คุณแม่ทดสอบความทนทานต่อน้ำตาลเพื่อเป็นการดูระดับน้ำตาลหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง หากคุณแม่ท่านใดที่มีระดับน้ำตาลสูง แพทย์👩‍⚕️จะแนะนำให้ควบคุมระดับน้ำตาลในแต่ละวันให้คงที่

การเจาะน้ำคร่ำ

หากคุณแม่ท่านใดที่มีระดับน้ำคร่ำเกินกว่าปกติ หรือในภาษาอังกฤษที่เรียกว่า Polyhydraminos ซึ่งจะค่อนข้างเกิดได้บ่อยกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝด👯‍♂️หรือเด็กที่มีความพิการแต่กำเนิด และอีกกรณีนึงถ้าหากคุณแม่ตรวจแล้วมีปริมาณน้ำคร่ำน้อยกว่าปกติ ที่เรียกว่า Oligohydraminos ก็จะเป็นสาเหตุทำให้ทารกในครรภ์ไม่เจริญเติบโต

Triple screening test

จัดว่าเป็นการวินิจฉัยเบื้องต้นว่าทารกในครรภ์👶มีความเสี่ยงพิการแต่กำเนิดหรือไม่ แล้วคุณแม่ยังต้องตรวจซ้ำอยู่เรื่อยๆในขณะตั้งครรภ์ถึงแม้ว่าผลจะออกมาปกติก็ตาม


โรคพิการแต่กำเนิดที่พบได้บ่อยกับทารกแรกเกิด

👉โรคปากแหว่งเพดาน

โรคปากแหว่งเพดานโหว่เป็นโรคที่เด็กมีความพิการตรงส่วนใบหน้าและศีรษะ ซึ่งโรคนี้มีสาเหตุหลักมาจากพันธุกรรม🧬และภาวะขาดสารอาหารของคุณแม่ในช่วงตั้งครรภ์ ทำให้ทารกมีปัญหาการเจริญเติบโตช้า การกลืนอาหาร และรวมไปถึงการสื่อสาร🗣️ด้วยค่ะ

👉โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด

ในช่วง 3 เดือนแรกนั้นทารกในครรภ์อาจมีความผิดปกติของหัวใจ🫀และหลอดเลือด ซึ่งหลอดเลือดดำไปปนอยู่กับหลอดเลือดแดงด้วยนั่นเอง

👉โรคแขนขาพิการ

หากคุณแม่ท่านใดที่รับประทานวิตามินและโฟเลตไม่เพียงพอ จะส่งผลให้ทารกเกิดอาการแขนขาพิการ🦵และรวมไปถึงความผิดปกติได้ในช่วงตั้งครรภ์ 3 เดือนแรก

👉กลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม

อาการดาวน์ซินโดรมเกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมที่มีโครโมโซมเกินมา 1 คู่ โดยทารกจะมีโครโมโซม 47 โครโมโซม ซึ่งคนทั่วไปจะมีเพียง 46 โครโมโซม ความเสี่ยงนี้มักจะเกิดกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในช่วงอายุ 35 ปีขึ้นไป👩‍🦳

👉โรคหลอดประสาทไม่ปิด

โรคนี้เกิดจากภาวะสร้างสมองไม่สมบูรณ์ แต่หากทารกได้รับการผ่าตัดอย่างเรียบร้อย ก็จะมีอายุได้ประมาณ 1 ปี และร้อยละ 47 ของทารกที่เคยเป็นโรคประสาทปิดไม่สนิทสามารถเติบโตได้ปกติจนเป็นผู้ใหญ่ แต่จะความพิการทางสมอง พิการขาทั้งสองข้าง และมีระบบทางเดินปัสสาวะ และอุจจาระ💩ที่ทำงานบกพร่อง

     ดังนั้นคุณแม่ไม่ควรมองข้ามการตรวจเลือด🩸เพื่อหาโรคพิการแต่กำเนิดที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทารก และควรใส่ใจในการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยงการดื่มสุราและการสูบบุหรี่ อีกครั้งยังควรกินวิตามินโฟลิกก่อนตั้งครรภ์ประมาณ 3 เดือน และรวมไปถึงสามารถกินต่อหลังจากตั้งครรภ์ได้อีกเป็นเวลา 3 เดือน ควบคู่กับการทานวิตามิน💊อื่นๆ เพื่อเป็นการทำให้คุณแม่มั่นใจว่าทารกได้รับสารอาหารที่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตตั้งแต่ในครรภ์