post-title

ทำความรู้จัก "โรคฝีดาษลิง" โรคยอดฮิตในเด็กเล็ก

     ฝีดาษลิง🐒 (Monkeypox) เป็นโรคติดต่อที่สามารถติดต่อกันได้หลายรูปแบบ ถึงแม้อาการจะไม่รุนแรงมาก แต่มีอัตราการเสียชีวิตพบได้มากที่สุดในเด็กเล็ก ด้วยการรักษาโรคนี้ยังไม่สามารถทำได้โดยตรง จึงต้องให้ความสำคัญกับอาการป่วยของลูกน้อย ไปจนถึงการป้องกันเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ และจะมีอาการอะไรอีกบ้างที่คุณแม่ควรต้องเป็นห่วง เรามาหาคำตอบไปพร้อมกันเลยค่ะ💁‍♀️


โรคฝีดาษลิง เกิดจากอะไร ?

🦠เชื้อไวรัส Othopoxvirus 

เกิดจากการติดต่อของเชื้อไวรัส Othopoxvirus จากสัตว์สู่คน และจากคนสู่คน โดยปกติแล้วจะไม่เกิดการระบาดที่รุนแรงมากนัก แต่ในช่วงที่มีอากาศร้อน จะทำให้เกิดการระบาดได้มากขึ้น และเป็นที่น่าสนใจ คือ ถึงแม้จะติดต่อได้ยาก แต่การระบาดกลับกระจายตัวไปในหลายประเทศแล้วในตอนนี้ โรคนี้มีอาการที่ไม่รุนแรง แต่มีอัตราการเสียชีวิตมากที่สุดในกลุ่มของเด็กเล็ก👶


การติดต่อของฝีดาษลิง

ฝีดาษลิงถือเป็นโรคที่ติดต่อได้ยากกว่าโรคฝีดาษ และโดยทั่วไปจะมีอาการไม่รุนแรง โรคนี้สามารถติดมาได้จากสัตว์ตระกูลลิง และสัตว์ชนิดมีฟันแทะ เช่น กระต่าย🐇, หนู🐀 หรือกระรอก🐿️ เป็นต้น และยังติดต่อได้จากคนสู่คน ด้วยเหตุนี้เองทำให้มีความเสี่ยงทั้งคนทั่วไป รวมไปถึงสัตว์เลี้ยงภายในบ้าน

👉การติดต่อจากสัตว์สู่มนุษย์

สามารถติดต่อได้จากการสัมผัสทางผิวหนัง หรือเยื่อเมือก เช่น ตา, จมูก, และ ปาก👄 เป็นต้น หรือจากสารคัดหลั่ง ของสัตว์ที่มีเชื้อไวรัสนี้, การถูกสัตว์ดังกล่าวกัด หรือข่วน, การสัมผัสเครื่องมือ เครื่องใช้ที่มีการปนเปื้อนเชื้อไวรัส ไปจนถึงการนำซากสัตว์ที่มีเชื้อมาปรุงเป็นอาหาร ก็สามารถทำให้เกิดการติดต่อได้เช่นกัน

👉การติดต่อจากมนุษย์สู่มนุษย์ 

การติดต่อหลัก ๆ แล้วจะติดต่อผ่านละอองฝอยทางระบบหายใจขนาดใหญ่ เมื่ออยู่ในพื้นที่เสี่ยง หรืออยู่ใกล้กับผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง รวมไปถึงการสัมผัสสารคัดหลั่ง, เลือด🩸, เชื้อโรคตามผิวหนัง รวมไปถึงของใช้ต่าง ๆ ของผู้ป่วย

หลังจากรับเชื้อไปแล้ว จะมีระยะฟักตัวประมาณ 7 – 14 วัน อาจนานมากที่สุดประมาณ 21 วัน หากเป็นเด็กเล็ก จะต้องมีการติดตามคอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด


ฝีดาษลิง รักษาได้อย่างไร ?

💉รับวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ 

หากพบผู้ป่วย หรือผู้ที่มีอาการเข้าข่ายให้รีบแยกผู้ป่วย เฝ้าระวัง และป้องกันระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย😷 โดยเฉพาะเด็ก ๆ เพราะร่างกายอาจยังไม่แข็งแรงพอ จากนั้นให้รีบนำตัวเข้าพบแพทย์เพื่อรับการดูแลต่อไป ปัจจุบันยังไม่มีวิธีที่สามารถรักษาโรคนี้ได้โดยตรง ผู้ป่วยสามารถรับวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษ ซึ่งสามารถช่วยได้ มีประสิทธิภาพจากการทดสอบแล้วสูงสุด 85 % และผู้ป่วยจะต้องได้รับยาต้านไวรัส💊 เช่น Brincidofovir, Cidofovir หรือ Tecovirimat เป็นต้น

     สรุปได้ว่าถึงแม้ว่าจะมั่นใจในการป้องกันฝีดาษลิง🐒กับลูกน้อยแล้ว การเฝ้าระวัง และการสังเกตอาการป่วยของลูก เป็นสิ่งที่ยังคงต้องทำอยู่ เนื่องด้วยร่างกายของเด็ก อาจยังไม่แข็งแรงเท่ากับผู้ใหญ่ การติดเชื้อที่มีความอันตรายต่ำ สามารถรุนแรงได้ไม่ใช่เพียงแค่เชื้อไวรัส Othopoxvirus เท่านั้น แต่ยังรวมถึงเชื้ออื่น ๆ ด้วย