คุณแม่อาจสังเกตได้ว่าลูกมีอาการปวดฟัน🦷 ซึ่งมีสาเหตุมาจากอาการฟันผุในเด็ก จริงๆแล้วการเกิดฟันผุอันตรายต่อลูกขนาดไหน วันนี้ทางเราจะพาคุณแม่ไปทราบถึงวิธีดูแลเมื่อลูกฝันผุ เราไปหาคำตอบพร้อมๆกันเลยค่ะ💁♀️
สาเหตุของอาการฟันผุ
อาการฟันผุในเด็ก มีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย🦠 และสิ่งอื่น ๆ ที่เราได้รับประทานเข้าไป เช่น อาหาร ขนมหวาน🍭 จำพวก ช็อกโกแลต ลูกอม และขนมเค้ก ที่ตกค้างอยู่บนฟันของลูก ซึ่งแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในปากของเด็ก ๆ จะรวมกันกับน้ำลาย ก่อให้เกิดการรวมกันของแบคทีเรีย จนเกิดสารที่เรียกว่า “คราบจุลินทรีย์ที่เกาะติดฟัน” หากจุลินทรีย์เหล่านั้นไม่ได้รับการทำความสะอาด ก็จะค่อยๆฝังตัวและกินไปที่ผิวเคลือบฟัน และทำให้เกิดฟันผุในที่สุด
5 ลักษณะของเด็กที่เสี่ยงมีอาการฟันผุ
เด็กแทบทุกคนล้วนมีโอกาสเกิดฟันผุ🦷 หากมีแบคทีเรียอยู่ภายในปาก และยังเสี่ยงต่อการเกิดการฟันผุทั้งสิ้น แต่เด็กลักษณะต่อไปนี้จะมีความเสี่ยงสูงที่จะมีฟันผุ เมื่อเทียบกับเด็กทั่วไป
1.เด็กที่ชอบทานอาหารที่มีส่วนประกอบของแป้ง และน้ำตาล เช่น ลูกอม🍬 ขนมเค้ก🍰 และช็อกโกแลต🍫 เป็นต้น
2.เด็กที่มีปริมาณแบคทีเรีย🦠ในปากสูง
3.คนที่ไม่ได้รับแปรงฟันด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์
4.เด็กที่มีสุขอนามัยภายในช่องปากไม่ดี
5.เด็กที่มีน้ำลายไหลน้อยกว่าปกติ
วิธีป้องกันฟันผุในเด็ก
👉สำหรับทารกแรกเกิด - อายุ 12 เดือน
คุณแม่ควรดูแลช่องปากของลูกน้อยให้สะอาด โดยการเช็ดเหงือกเบา ๆ ด้วยผ้าเช็ดทำความสะอาดสำหรับทารก เมื่อลูกมีฟันซี่แรกงอกขึ้นมา สามารถทำความสะอาดด้วยการแปรงเบา ๆ โดยใช้แปรงสีฟันนุ่ม ๆ🪥 และยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ในขนาดเท่าเม็ดข้าว
👉สำหรับเด็กอายุ 12 - 36 เดือน
คุณแม่สามารถแปรงฟันให้เด็ก 2 ครั้งต่อวัน ครั้งละประมาณ 2 นาที และเลือกใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์จนพวกเขาอายุครบ 3 ขวบ ควรแปรงฟันให้ลูกในช่วงหลังอาหารเช้า🌅 และก่อนเข้านอน🌃
👉สอนให้ลูกดื่มนมจากแก้วน้ำปกติ
เมื่อเด็กอายุ 12 - 15 เดือน คุณแม่ควรสอนให้ลูกดื่มนมจากแก้วน้ำปกติ🥛โดยเร็วที่สุดโดย เพราะการดื่มนมจากแก้วจะลดโอกาสทำให้ของเหลวสะสมบริเวณฟันขณะลูกนอนหลับ เนื่องจากเด็กไม่สามารถนำแก้วไปดื่มต่อในห้องนอนได้
👉หมั่นพาลูกไปพบทันตแพทย์
คุณแม่สามารถพาลูกไปพบทันตแพทย์👨⚕️ได้โดยที่ไม่ต้องรอครบอายุ 1 ขวบ โดยทำการนัดหมายทันตแพทย์ เพื่อปรึกษาถึงปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปากทุก ๆ 6 เดือน เพื่อเช็กความแข็งแรงของฟัน และปัญหาฟันผุ
การรักษาฟันผุในเด็ก
✨การรักษาทางตรง
เป็นการรักษาที่แพทย์ไม่ได้นำฟันออก และสามารถทำได้ด้วยการใส่วัสดุลงบนฟัน เรียกง่ายๆว่าเป็นการอุดฟันนั่นเอง โดยทันตแพทย์จะทำการปิดรู🕳️ที่แบคทีเรียได้เจาะทำลายฟันของลูก ซึ่งวัสดุที่ใช้จะเป็นวัสดุที่มีสีคล้ายตะกั่ว หรือ โลหะ ซึ่งในปัจจุบันจะนิยมนำสีที่มีลักษณะคล้ายเนื้อฟันมาอุด ซึ่งทำมาจากวัสดุจำพวกเรซิน หรือคอมโพสิต
✨การรักษาทางอ้อม
เป็นวิธีที่ใช้สำหรับเด็กที่แบคทีเรียกินเนื้อฟันไปเยอะจนเกือบทั้งซี่ วิธีนี้เป็นการซ่อมแซมฟันที่ไม่สามารถทำได้โดยการใส่วัสดุลงบนฟันได้ทันที ได้แก่ อินเลย์-ออนเลย์ (Inlays – Onlays) แต่ต้องใช้วิธีการครอบฟัน🦷 และสะพานฟัน ต้องใช้ระยะเวลาอย่างมากในการซ่อมแซมฟันที่ผุ
คุณแม่ควรหมั่นสอนลูกให้ดูแลรักษาฟันให้ดี ควรบ้วนปากหรือแปรงฟันทุกครั้งหลังจากทานอาหารเสร็จ โดยเฉพาะหลังจากการกินขนมหวาน🍭 อันเป็นที่โปรดปรานของเด็ก เพื่อเป็นการป้องกันการสะสมของแบคทีเรียและการเกิดคราบหินปูน ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการฟันผุได้