post-title

อาการของคุณแม่ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์

     สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ หรือ 2 เดือนนั่นเอง จะสังเกตได้ว่ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลงของรูปร่างไปจากเดิมมากนัก ลูกในท้องมีขนาดประมาณเท่าเมล็ดถั่วแดง🫘 โดยมีความยาวประมาณ 1.6 เซนติเมตร ทารกในครรภ์นั้นมีพัฒนาการที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นอาจมีภาวะแทรกซ้อนอะไรบ้าง เรามาหาคำตอบมาพร้อมๆกันเลยค่ะ 


พัฒนาการของทารกในครรภ์ช่วงสัปดาห์ที่ 8

ในช่วงสัปดาห์ที่ 8 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่จะเห็นใบหน้าของลูกเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น เช่น  หู👂 ปากส่วนบน และปลายจมูกเริ่มเป็นรูปเป็นร่างอย่างชัดเจน 

👉และยังสามารถเห็นพัฒาการต่างๆ ดังต่อไปนี้

- แขนขา🦵เริ่มงอกเป็นตุ่มออกมาจากลำตัว ปลายของตุ่มแขนตุ่มขาจะมีร่องเล็ก ๆ ที่จะกลายเป็นมือ และเท้าต่อไป

ในสัปดาห์นี้ ร่างกายจะเริ่มมีการสร้างเปลือกตา👁️ และต่อมรับรส

-พัฒนาการของหัวใจ🫀 และกระดูกมีความแข็งแรงขึ้น เซลล์ประสาทต่าง ๆ ในสมองเริ่มพัฒนา และเติบโตมากขึ้น

ส่วนที่ดูเหมือนหางตอนนี้เริ่มสั้นลงจนเกือบจะหายไปแล้ว


ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้กับคุณแม่ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์

✨ภาวะแพ้ท้องอย่างรุนแรง

คุณแม่จะมีอาการแพ้ท้องคลื่นไส้หรืออาเจียนทั้งวัน🤮 ไม่สามารถทานอะไรได้ บางคนรุนแรงถึงขนาดอาเจียนถึงเป็นเลือดออกมาปนกับเศษอาหารด้วย ส่งผลทำให้ร่างกายเราขาดน้ำและอาหาร รู้สึกปากแห้ง ผิวหนังเหี่ยว และมีปัสสาวะสีเข้ม หากคุณแม่มีลักษณะอาการดังกล่าว ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน 

น้ำหนักลดกระทันหัน

คุณแม่หลายๆ ท่านมีอาการคลื่นไส้อย่างรุนแรง หรืออาเจียนทั้งวันจนน้ำหนักลดลงฮวบ เพราะรู้ว่าเมื่อกินก็จะรู้สึกอาเจียน จึงทำให้ไม่รู้สึกอยากกินอะไรเลย🤐 หากคุณแม่ท่านใดเป็นขั้นรุนแรงมาก ๆ สามารถส่งผลอันตรายต่อลูกจนทำให้แท้งได้เลย

ภาวะการขาดน้ำและเกลือแร่ในร่างกาย

คุณแม่ที่มีอาการแพ้ท้องรุนแรงติดต่อกันเวลานานหลายเดือน จะเสี่ยงทำให้คลอดก่อนเกินกำหนดและเกิดภาวะครรภ์เป็นพิษได้ เพราะคุณแม่เกิดอาการขาดน้ำ💧และเกลือแร่ในร่างกาย ดังนั้นคุณแม่อย่าลืมดื่มน้ำให้เพียงพอต่อปริมาณที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน


สารอาหารที่คุณแม่ตั้งครรภ์ 8 สัปดาห์ ควรได้รับ

💫แคลเซียม 

แคลเซียมจัดว่าป็นแร่ธาตุที่สำคัญสำหรับหญิงตั้งครรภ์โดยเฉพาะในช่วง  8 สัปดาห์ เพราะช่วงนี้ทารกจะมีการสร้างกระดูก🦴 จึงต้องการแคลเซียมเป็นจำนวนมากนั้นเอง หากร่างกายไม่ได้รับแคลเซียมในปริมาณที่ต้องการ ก็จะถูกดึงออกมาจากปริมาณสำรองที่มีอยู่ อาจทำให้คุณแม่เป็นโรคกระดูกพรุนได้ ดังนั้นคุณแม่สามารถรับประทานผัก เช่น หัวผักกาด กะหล่ำปลี และผักใบ ผักเหล่านี้อุดมไปด้วยแคลเซียมที่ดีเยี่ยม

💫 กรดโฟลิก 

กรดโฟลิกมีหน้าที่ช่วยปกป้องทารกในครรภ์จากการพัฒนาการที่พร่องของท่อประสาท อาหารที่อุดมไปด้วยโฟลิก อาทิเช่น ผักใบเขียว🥬 ไข่ ผลไม้  ผลไม้แห้ง และถั่ว เป็นโฟลิกจากธรรมชาติที่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ควรรับประทานสม่ำเสมอค่ะ

💫ธาตุเหล็ก 

ธาตุเหล็กจำเป็นสำหรับการให้เลือดที่ดี และการไหลเวียนของเลือดในร่างกายอย่างแรง เนื่องจากธาตุเหล็กจะช่วยให้คุณแม่แข็งแรงพอที่จะรับมือกับ อาการแพ้ท้อง และ ความเหนื่อยล้าในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ อาหารธรรมชาติที่มีธาตุเหล็ก ได้แก่ ผลไม้ ผลไม้แห้ง ผักโขม ไก่ และปลา🐟 

💫โปรตีน  

โปรตีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น ไก่ ไข่🥚 นม ปลา และถั่วฝักยาวให้โปรตีนที่สูง คุณแม่ตั้งครรภ์ต้องการโปรตีนอย่างน้อย 75 กรัมในระยะนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ควรระวังโปรตีนจากปลาบางชนิด เพราะอาจมีสารปรอทสูง จึงไม่ปลอดภัยต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ 

💫 สังกะสี  

สังกะสีจำเป็นสำหรับการเผาผลาญของกรด และหน้าที่ทางชีวภาพ ไก่🐔 ปลา ผัก และถั่ว ล้วนเป็นแหล่งสังกะสีมากมาย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณรวมอาหารเหล่านี้ไว้ในอาหารของคุณทุกวัน

 💫ไขมัน 

ไขมันชนิดดีเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของทารก การบริโภคไขมันดีในรูปแบบของเนยใส🧈 และครีมนั้นดีต่อสุขภาพ เพราะไขมันดีจะช่วยในการพัฒนาของดวงตา สมอง รก และเนื้อเยื่อ ของทารก 

💫ไฟเบอร์  

ไฟเบอร์ช่วยในการย่อยอาหาร และป้องกันอาการท้องผูกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ อาหารที่มีไฟเบอร์สูงซึ่งประกอบด้วยผัก เช่น แครอท🥕 กะหล่ำปลี ธัญพืช และผลไม้ เช่น ส้ม และกล้วย เป็นต้น แนะนำให้รับประทานอย่างน้อย 28 กรัมต่อวันในระหว่างตั้งครรภ์

     คุณแม่ควรให้ความสำคัญกับสารอาหารที่ควรรับประทานในช่วงตั้งครรภ์ เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ เพราะสารอาหารที่ดีจากแม่จะถูกส่งต่อทำให้ทารกมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง💪ด้วยเช่นกัน