post-title

เทคนิค Power Pumping เทคนิคที่แม่ทุกคนควรทราบ!

     เทคนิค Power pumping เป็นวิธีหลอกร่างกายให้ผลิตน้ำนมเพิ่มด้วยการเลียนแบบวิธีดูดนมของทารกจากการปั๊ม วิธีนี้สามารถช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนม หากคุณแม่ทำติดต่อกันทุก ๆ วันเป็นระยะเวลาหนึ่งก็จะทำให้คุณแม่สามารถผลิตปริมาณน้ำนมเพิ่มเองได้ตามธรรมชาติ จะมีเทคนิคการทำอย่างไรบ้าง เราได้หาคำตอบมาไว้ให้คุณแม่แล้วค่ะ💁‍♀️


 เทคนิคและตารางเวลาสำหรับการทำ Power Pumping

การทำพาวเวอร์ปั๊ม (Power Pumping หรือ PP)  คือ การปั๊มนม🍼ในช่วงเวลาเดิมทุกวันจนกว่าร่างกายของคุณแม่จะตอบสนองต่อการถูกกระตุ้นและสามารถผลิตน้ำนมเพิ่มขึ้นได้เองตามธรรมชาติ โดยคุณแม่สามารถใช้เวลา 1 ชั่วโมงต่อวันและทำติดต่อกันเป็นเวลา 1 สัปดาห์ แบบไม่หักโหมนะคะ โดยมีเทคนิคและตารางเวลาดังต่อไปนี้

👉 สำหรับคุณแม่ที่ปั๊มวันละ 1-2 ครั้ง

  • ปั๊ม 20 นาที

  • พัก 10 นาที

  • ปั๊ม 10 นาที

  • พัก 10 นาที

  • ปั๊ม 10 นาที

👉  สำหรับคุณแม่ที่ปั๊มวันละ 5-6 ครั้ง 

  • ปั๊ม 5 นาที

  • พัก 5 นาที

  • ปั๊ม 5 นาที

  • พัก 5 นาที

  • ปั๊ม 5 นาที

👉  สำหรับคุณแม่ที่ปั๊มนม 2 ข้าง 

  • ปั๊มนมข้างขวา 10 นาที แล้วปั๊มนมข้างซ้าย 10 นาที

  • พัก 5 นาที

  • ปั๊มนมข้างซ้าย 10 นาที แล้วปั๊มนมข้างขวา 10 นาที

  • พัก 5 นาที

  • ปั๊มนมข้างขวา 10 นาที แล้วปั๊มนมข้างซ้าย 10 นาที

จริงๆแล้วระยะเวลาในการทำพาวเวอร์ปั๊มจะแตกต่างกันไปตามสภาพร่างกายของคุณแม่แต่ละคน🤱 คุณแม่บางคนอาจใช้เวลา 1 ชั่วโมงต่อวันติดต่อกันเพียงแค่ 2-3 วันก็สามารถผลิตน้ำนมได้เองและมีปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นแล้ว แต่คุณแม่บางคนอาจจะใช้เวลา 2 ชั่วโมงเป็นสัปดาห์หรือมากกว่านั้นจนกว่าจะเห็นผลลัพธ์ แนะนำให้คุณแม่ค่อยๆทำนะคะ อย่าหักโหมค่ะ เพราะอาจจะส่งผลให้คุณแม่มีอาการเจ็บเต้านมและหัวนมได้


 คุณแม่ควรทำ Power Pumping เมื่อไหร่?

✨ไม่มีข้อกำหนดตายตัว

 ไม่จำเป็นที่คุณแม่ทุกคนจะต้องใช้เทคนิคนี้ ถึงแม้จะรู้สึกว่าน้ำนมของตัวเองเริ่มลดลง หากคุณแม่รู้สึกว่าปริมาณน้ำนมที่สามารถผลิตได้ในแต่ละวันนั้นเพียงพอกับความต้องการของลูกน้อย👶แล้วนั่นเองค่ะ และคุณแม่สามารถสังเกตดูสัญญาณที่บ่งบอกว่าลูกน้อยได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ ดังต่อไปนี้

- ลูกมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ยาก

- ลูกมีความถี่ในการถ่ายอุจจาระลดลง💩 สามารถคำนวณได้จากจำนวนครั้งในการเปลี่ยนผ้าอ้อมใน 1 วัน

- ปัสสาวะของลูกมีสีเข้มกว่าปกติ

      ดังนั้นหากคุณแม่มีน้ำนมเพียงพอแล้วก็สามารถเลือกเทคนิคอื่น ๆ ที่เหมาะสมกว่ามาใช้แทนได้เลยเช่นกัน และคุณแม่อย่าลืมค้นหาสาเหตุที่ทำให้น้ำนมของคุณแม่ลดลงอีกด้วย ไม่ว่าจะเกิดจากความเครียด😥, การใช้เครื่องปั๊มนมที่ไม่มีประสิทธิภาพ, เครื่องปั๊มนมมีแรงปั๊มไม่เพียงพอ เป็นต้น และคุณแม่เองก็สามารถเข้ารับปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ👩‍⚕️เกี่ยวกับการปั๊มนมที่ถูกต้อง รวมไปถึงเทคนิคการให้นมแบบไหนที่เหมาะกับร่างกายของคุณแม่มากที่สุดด้วยเช่นกัน