post-title

วิธีละลายน้ำนมแม่แช่แข็ง ต้องทำแบบนี้!

     คุณแม่หลายๆท่านอาจมีการสต๊อกน้ำนมแม่เก็บไว้ในช่องแช่แข็งกันอย่างแน่นอนใช่ไหมคะ? แต่คุณแม่แน่ใจไหมคะเขาว่าคุณแม่ได้ทำอะไรน้ำนมแช่แข็งได้อย่างถูกวิธี วันนี้ทางเราจึงได้รวบรวมวิธีละลายน้ำนมแช่แข็งอย่างถูกวิธีมาให้คุณแม่ทราบพร้อมๆกันแล้วค่ะ💁‍♀️


เคล็ดลับวิธีละลายน้ำนมแม่แช่แข็ง มีดังต่อไปนี้

✨ทำละลายน้ำนมแม่ที่มีอายุการเก็บนานที่สุดก่อน

การทำละลายน้ำนมแม่ที่ถูกเก็บไว้ในช่องแช่แข็งจะง่ายขึ้น เมื่อคุณแม่ระบุวัน📝และเวลาที่ปั๊มและจัดเก็บน้ำนมไว้ และควรเรียงลำดับจากถุงใหม่ไปเก่าให้เรียบร้อยด้วยนะคะ  หลังจากนั้นคุณแม่สามารถหยิบถุงที่เก่าที่สุดออกมาทำละลายก่อน วิธีนี้เรียกว่าระบบ FIFO (เข้าก่อนออกก่อน) 

ทำละลายโดยการแช่ในตู้เย็นช่องธรรมดา

อีกหนึ่งวิธีที่สามารถทำละลายน้ำนมแม่ได้ คือการย้ายน้ำนมจากช่องแช่แข็งลงมายังตู้เย็นในช่องแช่ธรรมดา วิธีนี้จะเหมาะกับคุณแม่ที่ไม่รีบร้อนในการใช้นมให้ลูกดื่ม เพราะอาจใช้เวลาถึง 12 ชั่วโมงในการปล่อยให้สต็อกน้ำนมของคุณแม่ค่อยๆละลายนั่นเองค่ะ และคุณแม่ควรใช้น้ำนมที่ทำละลายด้วยวิธีนี้ภายใน 24 ชั่วโมง⏳ทันทีนะคะ หากปล่อยไว้นานอาจทำให้น้ำนมบูดได้ค่ะ 

ทำละลายโดยการแช่ในภาชนะที่มีน้ำอุ่น

หากคุณแม่ต้องการทำละลายน้ำนมอย่างรวดเร็วคุณแม่สามารถแช่น้ำนมในภาชนะที่มีน้ำอุ่น♨️เพียงแค่ 20 นาทีเท่านั้น น้ำนมก็จะละลายตัวและสามารถนำมาใช้งานเพื่อให้เจ้าตัวน้อยดื่มได้แล้วค่ะ

ทำละลายโดยการปล่อยให้น้ำไหลผ่านถุงเก็บน้ำนม 

วิธีนี้เป็นวิธีที่เร็วที่สุดในการละลายน้ำนมแม่ หลักการคือปล่อยให้น้ำไหล💧ผ่านถุงเก็บน้ำนม เหมาะสำหรับคุณแม่ที่มีเครื่องทำน้ำอุ่นหรือก๊อกน้ำที่สามารถปรับเปลี่ยนอุณหภูมิได้ 


ข้อควรระวังขณะทำการละลายน้ำนมแช่แข็ง มีดังต่อไปนี้

🙅‍♀️ห้ามนำนมไปอุ่นด้วยการใช้ไมโครเวฟหรือการต้ม

เพราะการทำละลายด้วยสองวิธีนี้สามารถทำลายสารอาหารสำคัญที่อยู่ในนมแม่ได้ อีกทั้งยังให้อุณหภูมิของน้ำนมแม่ไม่สม่ำเสมอ อาจจะมีบางส่วนร้อนเกินไปหรือเย็นเกินไป ทนอาจทำให้นมลวกปาก🫦ลูกได้ จนเกิดเป็นแผลนั่นเองค่ะ

🙅‍♀️ห้ามทิ้งนมแม่เกิน 2 ชั่วโมง

หลังจากทำละลายน้ำนมแม่เรียบร้อยแล้ว คุณแม่ควรป้อนนม🍼ให้ลูกน้อยได้ทันทีหรืออาจเก็บไว้ในตู้เย็นเป็นเวลา 4 ชั่วโมง ไม่ควรทิ้งไว้เกิน 2 ชั่วโมงเด็ดขาด หากเกินระยะเวลาดังกล่าว คุณแม่ควรนำนมไปทิ้งทันที🚮

🙅‍♀️ห้ามนำน้ำนมที่ละลายแล้วไปแช่แข็งซ้ำ 

น้ำนมแม่ที่ผ่านการแช่แข็งและทำละลายแแล้ว ไม่ควรนำกลับไปแช่แข็งซ้ำอีกรอบ นั่งๆคุณแม่ควรวางแผน🤔ให้ดีก่อนทำละลายน้ำนมเพื่อใช้ทุกรอบนะคะ 

     วิธีการละลายน้ำนมแช่แข็งนั้นมีหลายวิธีที่เราได้กล่าวไปข้างต้น ซึ่งน้ำนมที่ถูกละลายแล้วอาจจะมีกลิ่นและรสชาติ😋เปลี่ยนไปเล็กน้อย เนื่องจากเกิดการย่อยสลายไขมันตามธรรมชาติในน้ำนมแม่ของเอนไซม์ไลเปส (Lipase Enzyme) ในระหว่างการเก็บรักษา แต่คุณแม่ไม่ต้องกังวลว่าคุณภาพของน้ำนมจะลดลงนะคะ น้ำนมที่ละลายแล้วยังสามารถใช้ป้อนให้กับเจ้าตัวน้อย👶ได้ตามปกติเลยค่ะ