สำหรับคุณแม่ที่กำลังมีเจ้าตัวน้อยในครรภ์นั้น🤰 คงมีเรื่องตื่นเต้นมากมายเกี่ยวกับทารกในครรภ์ คุณพ่อคุณแม่อาจมีความลุ้นและกังวลว่าลูกในครรภ์นั้นจะมีสุขภาพ พัฒนาการ การตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่ปกติหรือไม่ วันนี้บทความของเราพาคุณผู้อ่านมาดูถึงหนึ่งวิธีที่สามารถใช้ในการตรวจสอบสภาพร่างกายของเด็กในครรภ์เบื้องต้นได้ด้วยตนเอง นั่นก็คือการฟังเสียงหัวใจที่กำลังเต้นของเจ้าตัวน้อยในครรภ์นั่นเองค่ะ จะสามารถทำอย่างไรได้บ้างนั้น ก่อนอื่นเราไปเริ่มที่วิธีการทางการแพทย์กันก่อนเลยค่ะ💁♀️
วิธีตรวจสุขภาพทารกในครรภ์ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์
1️⃣ใช้เทคนิค Real time sonography ซึ่งถือว่าเป็นการทำอัลตร้าซาวนด์รูปแบบหนึ่ง หลักการก็คือการปล่อยคลื่นเสียง🔊ความถี่ที่หูของคนเราไม่สามารถได้ยินได้ลงไปที่บริเวณท้องของคุณแม่ จากนั้นจึงใช้ตัวรับสัญญาณ ในการรับสัญญาณจากคลื่นความถี่นั้น แล้วแปลงสัญญาณออกมาปรากฏในรูปแบบขอภาพบนจอ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสภาพภายในท้องของคุณแม่ ณ ช่วงเวลาจริงที่กำลังทำการตรวจ ด้วยวิธีนี้จะทำให้ทั้งแพทย์เองและคุณแม่สามารถมองเห็นถึงการเคลื่อนไหวของเจ้าตัวน้อยในครรภ์ได้ รวมถึงการเต้นของหัวใจก็ได้เช่นกันค่ะ
2️⃣ใช้ Ultrasonic Doppler ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางการแพทย์ที่ใช้คลื่นความถี่ในการตรวจสอบเสียงหัวใจของทารก🚼ได้เช่นเดียวกัน โดยจะใช้กับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 10-12 สัปดาห์ขึ้นไปค่ะ
3️⃣ใช้เทคนิค Echocardiography ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบการทำงานของหัวใจทารกด้วยคลื่นความถี่สูงค่ะ แต่สำหรับเครื่องมือนี้จะใช้ได้ช่วง 48 วันหลังคุณแม่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายค่ะ🩸
วิธีฟังเสียงหัวใจทารกที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง
ใช้ Stethoscope🩺 หรือหูฟังทางการแพทย์ในการตรวจสอบ ซึ่งก็คือการจิ้มปลายหูฟังไปยังบริเวณที่ต้องการจะฟังเสียงนั่นเองค่ะ อันที่จริงแล้วเครื่องมือนี้ก็ถือเป็นเครื่องมือทางการแพทย์เช่นเดียวกัน แต่เป็นเครื่องมือที่นอกจากแพทย์จะใช้ได้แล้ว คุณแม่หรือสมาชิกท่านอื่นๆในครอบครัวก็สามารถเรียนรู้ที่จะใช้ได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่ต้องทราบถึงเทคนิคในการใช้ และตำแหน่งที่ต้องการฟังเสียงค่ะ
👉ตำแหน่งที่เหมาะกับการฟังเสียงหัวใจของทารกในครรภ์
หากร่างกายของทารกอยู่ระนาบเดียวกับร่างกายของคุณแม่ในท่ายืน พูดให้เห็นภาพก็คือ หากจินตนาการว่า💭ทารกกำลังยืนตรงภายในครรภ์ของคุณแม่ จะได้ยินเสียงหัวใจของเด็กได้ก็ต่อเมื่อแตะปลายหูฟังไปที่บริเวณที่สูงกว่าสะดือของคุณแม่ค่ะ
ในทางตรงกันข้าม หากจินตนาการว่าทารกกำลังพลิกตัวกลับหรือกำลังอยู่ในท่าคว่ำตัว เอาศีรษะดิ่งลงมา จะได้ยินเสียงหัวใจ🫀ของเด็กได้ในบริเวณที่ต่ำกว่าระดับสะดือของคุณแม่ค่ะ
หากศีรษะของทารกเยื้องไปทางขวาของอุ้งเชิงกรานคุณแม่ จะได้ยินเสียงหัวใจได้ก็หากนำปลายหูฟังไปแตะบริเวณหน้าท้องฝั่งขวาค่ะ
ในทางกลับกัน หากศีรษะของทารกเยื้องไปทางซ้ายของอุ้งเชิงกรานคุณแม่🤰 จะได้ยินเสียงหัวใจได้ก็หากนำปลายหูฟังไปแตะบริเวณหน้าท้องฝั่งซ้ายนั่นเองค่ะ
จะเห็นแล้วนะคะว่าปัจจุบันมีวิธีการที่หลากหลายมากที่จะทำให้เราสามารถตรวจสอบการเต้นของหัวใจของเจ้าตัวน้อยในครรภ์ได้จากการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ ซึ่งก็มีทั้งเครื่องมือหรือเทคนิคที่จำเป็นต้องตรวจที่โรงพยาบาล🏥 และเครื่องมือที่เราสามารถเรียนรู้ที่จะใช้ได้เอง หากคุณแม่ท่านใดสนใจก็สามารถลองทำตามวิธีดังกล่าวกันได้นะคะ