post-title

การตั้งครรภ์นอกมดลูก (Ectopic Pregnancy) คืออะไร?

     คุณแม่คงเคยได้ยินคำว่า "การตั้งครรภ์นอกมดลูก" มากันบ้างแล้วใช่ไหมคะ? แล้วคุณแม่สงสัยกันหรือไม่คะว่าถ้าการตั้งครรภ์ไม่อยู่ในมดลูก....แล้วการตั้งครรภ์จะไปอยู่ที่ไหน แล้วทารกจะคลอดออกมาได้หรือไม่? วันนี้ทางเราได้รวบข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์นอกมดลูกมาให้คุณแม่ทราบพร้อมๆกันแล้วค่ะ💁‍♀️


ทำความเข้าใจเกี่ยวกับอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิง

ธรรมชาติอนุญาตให้มดลูกยืดขยายได้รองรับการตั้งครรภ์แต่ไม่อนุญาตให้อวัยวะอื่นยืดขยายได้ ดังนั้น ถ้าตัวอ่อนเกิดไปฝังตัวในที่ที่ไม่ใช่มดลูก ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบที่ “ท่อนำไข่” ส่วนน้อยพบได้ในรังไข่หรือในช่องท้อง ซึ่งอย่างที่บอกตอนต้นว่า “ท่อนำไข่” มันเป็นแค่ท่อแคบๆ เอาไว้ให้ไข่หรือตัวอ่อนเดินผ่านทางไปยังมดลูกเพื่อฝังตัว ดังนั้น ถ้าเกิดตัวอ่อนเกิดมาฝังตัวในท่อนำไข่แล้วเจริญเติบโตในท่อแคบๆ นี้ สุดท้ายแล้ว “ท่อ” นี้ก็จะ “ระเบิด”💥 หรือแตกออก ซึ่งในบางรายอาจเลือดออกจนเสียชีวิตได้ หากไม่ได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีดังนั้น การตั้งครรภ์นอกมดลูกเป็นภาวะที่อันตรายถึงชีวิตได้เลย

👉ปัจจัยที่ทำให้คุณแม่เสี่ยงต่อการตั้งครรภ์นอกมดลูก

  • คุณแม่เคยเป็นโรคติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน (เคยมีไข้🤒 ตกขาว ปวดท้องน้อย)

  • คุณแม่เคยตั้งครรภ์นอกมดลูกมาก่อน🤰

  •  คุณแม่เป็นผู้มีบุตรยาก

  •  คุณแม่เคยผ่าตัดช่องท้องหรืออุ้งเชิงกรานมาก่อน

  • คุณแม่เป็นโรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (ปวดท้องประจำเดือนเรื้อรัง เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์)

  • คุณแม่เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

  •  คุณแม่เคยได้รับการผ่าตัดบริเวณท่อนำไข่ (เช่น ทำหมัน) 

คุณแม่เคยสูบบุหรี่🚬หรือใช้ยาคุมฉุกเฉิน


อาการของการตั้งครรภ์นอกมดลูก  

บางครั้งผู้ป่วยยังไม่ทราบเลยว่าตัวเองตั้งครรภ์นอกมดลูก ดังนั้นอาการที่พบบ่อย ได้แก่ มีเลือดออกทางช่องคลอด🩸 และปวด ท้องน้อย โดยจะปวดข้างซ้ายหรือขวา หากเลือดออกในท้องปริมาณมากอาจมีอาการปวดไหล่ได้ มีอาการหน้ามืดอ่อนเพลีย หรือเป็นลม

👉การรักษาการตั้งครรภ์นอกมดลูก

สามารถรักษาได้โดย 2 วิธี ดังต่อไปนี้

  1.  รักษาโดยการให้ยา💊 วิธีนี้ไม่สามารถใช้ไม่ได้กับทุกราย เพราะการให้ยาจะใช้ในได้เฉพาะกรณีที่ขนาดของการตั้งครรภ์มีขนาดเล็ก ยังไม่เห็นหัวใจทารก โดยยาจะทำให้ตัวอ่อนหยุดการเจริญเติบโตและสลายไปเอง

  2.  รักษาโดยการผ่าตัด
    2.1 การผ่าตัดผ่านกล้อง🔭 หากผู้ป่วยมีอาการที่คงที่ (คือไม่ได้เสียเลือดมาก ความดันโลหิตต่ำ ช็อค) สามารถผ่าตัดผ่านกล้องได้ การผ่าตัดผ่านกล้อง (MIS) สามารถทำได้หลายแบบ ทั้งแบบไร้แผล หรือแผลเดียว หรือแบบทั่วไป (3-4 แผลเล็กๆ) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษา
    2.2การผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้อง หากผู้ป่วยเลือดออกมาก อาจต้องผ่าตัดเปิดหน้าท้อง เพื่อทำการรักษาคุณผู้หญิงที่เคยตั้งครรภ์นอกมดลูก สามารถตั้งครรภ์ครั้งต่อไปได้ แต่ด้วยความระมัดระวัง นั่นก็คือ ถ้าประจำเดือนขาดก็ควรตรวจการตั้งครรภ์ ถ้าพบว่าตั้งครรภ์ก็ควรรีบไปพบคุณหมอเลย👨‍⚕️ เพราะหากเราเคยตั้งครรภ์นอกมดลูกมาครั้งหนึ่งแล้วเราก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดการตั้งครรภ์นอกมดลูกซ้ำได้เช่นกัน

     เพียงเท่านี้คุณแม่ก็ทราบข้อมูลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์นอกมดลูกกันแล้วใช่ไหมคะ ดังนั้นหากคุณแม่พบว่าตนเองมีความเสี่ยงตั้งครรภ์นอกมดลูก🤰 ควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาทันที ไม่ควรละเลยอาการดังกล่าว เพราะหากปล่อยไว้อาจมีอันตรายต่อชีวิตได้สูงเลยทีเดียวค่ะ