ไวรัสซิก้า ถือเป็นอีกหนึ่งโรคที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรให้ความสำคัญ เพราะเชื้อไวรัสนี้อาจส่งผลต่อสุขภาพของทารกภายในครรภ์ได้ วันนี้ทางเราจึงได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายต่างๆของไวรัสซิก้ามาให้คุณแม่ทราบไปพร้อมๆกันแล้วค่ะ💁♀️
ไวรัสซิก้าส่งผลกระทบต่อสตรีมีครรภ์หรือเด็กในท้องอย่างไรบ้าง?
👉ทำให้เกิดภาวะศีรษะเล็กในทารก (Microcephaly)
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของอเมริกา (CDC) ได้ออกนโยบายข้อควรระวังในการเดินทาง (Level 2-Practice Enhanced Precautions) สำหรับผู้ที่ต้องเดินทางไปยังประเทศที่มีการระบาดของโรคซิก้า โดยนโยบายนี้ได้ถูกกำหนดขึ้นหลังจากประเทศบราซิล🇧🇷พบภาวะศีรษะเล็กในทารก (Microcephaly) และผลกระทบอื่นๆ ต่อการตั้งครรภ์ในคุณแม่ที่ติดเชื้อไวรัสซิก้า🦠 แต่อย่างไรก็ตามความเกี่ยวข้องระหว่างไวรัสซิก้ากับความผิดปกติในการตั้งครรภ์ยังจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม ดังนั้น การป้องกันการถูกยุงกัดในหญิงตั้งครรภ์หรือผู้ที่กำลังพยายามตั้งครรภ์เอาไว้ก่อนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง
คุณแม่ที่ติดเชื้อไวรัสซิก้า จะมีอาการไข้🤒 เกิดผื่น ปวดตามข้อ หรือตาแดง ในช่วงเวลา 2 อาทิตย์หลังเดินทางกลับจากประเทศที่มีการตรวจพบผู้ป่วยไวรัสซิก้า ทางเราแนะนำให้คุณแม่ควรพบแพทย์ทันที และอย่าลืมแจ้งให้แพทย์ทราบว่าคุณได้เดินทางไปที่ไหนมา
ไวรัสซิก้ามีวัคซีนหรือยาที่สามารถป้องกันได้หรือไม่?
👉ในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนที่สามารถป้องกันหรือยาที่ใช้รักษาโรคซิก้าได้
ในขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับโรคซิก้ามากนัก ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของอเมริกา (CDC) มีขอแนะนำสำหรับคุณผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์และที่กำลังพยายามตั้งครรภ์ให้ระมัดระวังตัวเองเป็นพิเศษ
สตรีมีครรภ์🤰ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศที่พบการระบาดของโรคซิก้า แต่หากมีความจำเป็นต้องเดินทางไปยังประเทศเหล่านี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อน เพื่อหาแนวทางและวิธีป้องกันตัวเองจากการถูกยุงกัด🦟อย่างเคร่งครัด
สตรีที่กำลังพยายามตั้งครรภ์ที่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปยังสถานที่ในกลุ่มเสี่ยงควรปรึกษากับแพทย์ก่อน เพื่อหาแนวทางและวิธีป้องกันตัวเองจากการถูกยุงกัดอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ ประเทศในกลุ่มเสี่ยงที่มีการระบาดของโรคซิก้าอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ควรติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด
หากสตรีที่เคยติดเชื้อไวรัสซิก้ามาก่อน เป็นไปได้ไหมที่การตั้งครรภ์ครั้งต่อไปจะให้กำเนิดทารกที่มีศรีษะเล็ก?
👉เรายังไม่ทราบถึงผลกระทบที่ไวรัสซิก้ามีต่อเด็กในท้องกรณีที่คุณแม่ติดเชื้อระหว่างตั้งครรภ์
แต่เรารู้แน่ชัดว่าไวรัสซิก้าไม่สร้างความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในอนาคต เพราะเชื้อไวรัสซิก้ามักอยู่ในกระแสเลือดของผู้ติดเชื้อเพียงแค่ไม่กี่วันถึงหนึ่งอาทิตย์ และจะถูกกำจัดออกร่างกายหลังจากนั้น ทารก👶ที่เกิดการปฏิสนธิในภายหลังจึงไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ประกอบกับในตอนนี้ทางการแพทย์ยังไม่มีหลักฐานใดๆ ยืนยันว่าเชื้อไวรัสซิก้ามีความเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ในอนาคต ทั้งนี้ผู้หญิงที่ต้องการตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์👨⚕️ทันทีหลังเดินทางกลับจากประเทศในกลุ่มเสี่ยง
ดังนั้นหากคุณแม่มีความจำเป็นต้องเดินทางไปประเทศที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสซิก้า ทางเราแนะนำให้ทาโลชั่น🧴และสเปรย์กันยุงนั้นปลอดภัยและมีประสิทธิภาพเพียงพอในการป้องกันการโดนยุงกัด ควรเป็นผลิตภัณฑ์ทากันยุงที่ได้รับการรับรองจาก อ.ย. และควรใช้ตามคำแนะนำบนฉลากของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้มั่นใจว่าปลอดภัยต่อสตรีที่กำลังตั้งครรภ์และคุณแม่ที่ให้นมบุตรนั่นเองค่ะ