post-title

คุณแม่มือใหม่ทำความเข้าใจนมแม่มีกี่สี แต่ละสีแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

     คุณแม่อาจจะคิดว่านมแม่🍼นั้นมีแต่สีขาวนวลเหมือนในรูปภาพทั่วๆไปตามสื่อออนไลน์ แต่ในความเป็นความจริงนมแม่นั้นไม่ได้มีแค่สีขาวเท่านั้นนะคะ เพราะนมแม่สามารถกลายเป็นสีอื่น ๆ ได้ด้วย และสีที่เปลี่ยนไปของนมแม่ ก็บอกถึงอาการทางสุขภาพและความผิดปกติต่าง ๆ จะมีอาการผิดปกติอะไรบ้าง เรามาหาคำตอบไปพร้อมๆกันเลยค่ะ💁‍♀️


น้ำนมแม่ มีสีอะไรและแตกต่างกันอย่างไรบ้าง?

นมแม่สีอะไรกันนะ? จริง ๆ แล้วสีของน้ำนมแม่นั้นไม่ได้เป็นสีขาวอยู่ตลอดเวลาเสมอไปค่ะ หรือถ้าจะพูดกันตามตรงแล้ว นมแม่ครั้งแรกที่ไหลออกจากเต้านั้นก็ไม่ใช่ว่าจะมีสีขาวล้วนเลยสักนิด โดยนมแม่หลังคลอดนั้นจะมีสีเหลืองหรือเหลืองเข้มด้วยซ้ำ จากนั้นจึงค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีที่ขาว หรือออกขาวเหลือง ตามกระบวนการของนมแม่ดังนี้

💛น้ำนมสีเหลือง (Colostrum Milk)

คือ น้ำนมแรกสุดของแม่ พบได้ในช่วง 1-3 วันแรกหลังคลอด เป็นหัวน้ำนมแม่และเป็นน้ำนมแรกสุดที่ร่างกายของแม่ผลิตออกมา มีสารอาหารและสารภูมิคุ้มกัน🛡️ที่เป็นประโยชน์ต่อทารก และมีสีเหลือง ไปจนถึงเหลืองเข้ม หรือบางครั้งอาจพบว่าเป็นสีส้มคล้ายกับไข่แดงก็ได้เช่นกัน

🍼นมแม่สีขาว 

เมื่อหมดน้ำนมเหลืองซึ่งมักจะพบได้ในช่วง 1-3 วันหลังคลอด หรือบางครั้งอาจมีน้ำนมเหลืองไหลออกมานานถึง 5 วันก็เป็นไปได้ค่ะ แต่หลังจากนั้นก็จะเข้าสู่ช่วง น้ำนมระยะที่ 2 หรือ Transitional Milk คือ เป็นช่วงที่น้ำนมของแม่จะเริ่มเปลี่ยนจากจากน้ำนมที่มีสีเหลืองเป็นสีขาวแทน

🤍นมแม่สีขาวข้น 

หลังคลอดลูกได้ประมาณ 2 สัปดาห์👶 ก็จะเข้าสู่ช่วงน้ำนมระยะที่ 3 หรือ Mature Milk คือเป็นช่วงที่เต้านมได้ผลิตนมแม่ออกมาแบบเต็มตัว และลักษณะของน้ำนมแม่ในระยะหลังจากนี้เป็นต้นไปก็จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะไขมัน หากไขมันมากน้ำนมก็จะมีสีขาวข้น


นมแม่เปลี่ยนเป็นสีอะไร ที่ถือว่าเป็นอันตรายไม่ควรให้ลูกกิน?

ปกติแล้วสีของนมแม่ที่เปลี่ยนไป มักจะไม่ค่อยส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อทารก และทารกยังสามารถกินนมแม่ต่อไปได้

ตามปกติ✅ แม้ว่าสีของนมแม่อาจจะเปลี่ยนไปจากนมแม่สีใสตามปกติ เช่น สีเหลือง สีเหลืองเข้ม สีขาว สีขาวข้น

นอกจากสีเหลืองและสีขาว ซึ่งเป็นสีนมแม่ที่พบได้โดยทั่วไปแล้ว นมแม่ก็ยังสามารถเปลี่ยนเป็นสีอื่น ๆ ได้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น

💚น้ำนมแม่สีเขียว

เกิดจากการกินอาหารที่มีสีเขียวอย่าง ผักใบเขียวต่าง ๆ เช่น ผักโขม🥬 สาหร่าย ตำลึง สมุนไพรบางชนิด รวมทั้งเครื่องดื่มที่ผสมสีเขียวบางชนิด ก็ส่งผลให้น้ำนมแม่เปลี่ยนเป็นสีเขียวได้เช่นกัน

🩷น้ำนมแม่สีชมพู ส้ม และแดง

 หากสีน้ำนมแม่เป็นสีชมพู ส้ม และแดง เกิดจากการกินอาหารอย่าง บีทรูท แครอท น้ำส้ม🍊 หรืออาหารแต่งสีต่าง ๆ เป็นต้น

🤎น้ำนมแม่สีน้ำตาล สีสนิม หรือสีแดงแบบมีเลือดปน

สีน้ำนมแม่แบบนี้ เกิดจากการมีเลือดปนผสมอยู่ในน้ำนม ซึ่งบางครั้งอาจจะเป็นสีน้ำตาล สีสนิม สีส้มเข้ม หรือสีแดง เห็นสีน้ำนมแบบนี้ ก็อย่างพึ่งตกใจไป เพราะอาจจะเกิดจากปัญหาหัวนมแตก หรือเส้นเลือดฝอยแตก🩸 น้ำนมนี้ไม่เป็นอันตราย ใช้เวลาประมาณ 2 – 3 วัน อาการก็จะดีขึ้น

🖤น้ำนมแม่สีดำ

ส่วนสีของน้ำนมที่อาจจะส่งผลต่อทารกหรืออาจก่อให้เกิดอันตรายรุนแรงได้ก็คือ นมแม่ที่มีสีดำ เนื่องจากนมแม่ที่เป็นสีดำนั้น ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเพราะคุณแม่กินยาปฏิชีวนะบางชนิดเข้าไป อย่างเช่น Minocycline เป็นต้น ซึ่งผลของการกินยาปฏิชีวนะ💊นั้นจะส่งผลให้สีของน้ำนมแม่ดูคล้ำขึ้น หรือเปลี่ยนเป็นสีดำ ซึ่งปกติแล้วถ้าคุณแม่กินยาชนิดนี้อยู่จะไม่แนะนำให้นมลูก

     สุดท้ายนี้อีกหนึ่งในคำถามสำหรับพ่อแม่มือใหม่ที่อาจจะกำลังข้องใจกันอยู่ก็คือจริง ๆ กินนมแม่แล้ว ต้องให้ลูกกินน้ำตามหรือไม่? คำตอบ คือ ในนมแม่ก็มีน้ำเป็นองค์ประกอบหลักสูงถึง 80% อยู่แล้ว ทารกจึงไม่จำเป็นจะต้องดื่มน้ำเข้าไปอีกนะคะ🙅‍♀️ เพื่อเป็นการล้างปากเด็กหลังกินนม  และทารกที่อายุน้อยกว่า 6 เดือน ยังไม่ควรดื่มน้ำค่ะ เพราะถ้าหากเด็กได้ดื่มน้ำ จะทำให้กินนมได้น้อยลง เสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร อีกทั้งยังเสี่ยงต่ออาการท้องเสียด้วยหากว่าน้ำที่ให้เด็กดื่มนั้นไม่สะอาดค่ะ