post-title

วิธีรับมือเมื่อลูกไม่ยอมทานข้าว มีอาการเบื่ออาหาร

     เชื่อว่าคุณพ่อคุณแม่หลายๆท่านอาจจะประสบกับปัญหาลูกเบื่ออาหาร ลูกไม่กินข้าว ไม่ว่าจะพยายามหลอกล่อเท่าไรแล้วก็ตาม ลูกก็ยังไม่ยอมกินอยู่ดี บทความนี้จะพาคุณแม่มาทรายถึงสาเหตุอะไรบ้างที่ทำให้ลูกไม่ยอมกินข้าว และรวมไปถึงวิธีรับมืออเมื่อเด็กไม่กินข้าวหรือเบื่ออาหาร ไปหาคำตอบพร้อมๆกันเลยค่ะ💁‍♀️


สาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ยอมทานข้าว

อาการเบื่ออาหารในเด็กเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยต่อไปนี้

👉ลูกมีอาการเหนื่อย อ่อนเพลีย

คุณแม่จะสังเกตได้ว่าลูกมีอาการเจ็บป่วย ไม่สบาย เช่น มีไข้🤒 เจ็บคอ ใจลอย ไม่ได้มีสมาธิจดจ่ออยู่กับมื้ออาหาร

👉ปฏิเสธอาหาร

ลูกจะทานอาหารน้อยกว่าปกติ😐 ถึงแม้ว่าจะเป็นเมนูที่เขาชื่นชอบ และอาจจะหันเหไปสนใจสิ่งอื่นมากกว่าการทานอาหารอีกด้วย

👉ลูกร้องไห้ งอแง เมื่อถูกบังคับให้ทานอาหาร

เจ้าตัวน้อยจะแสดงอาการงอแง ร้องไห้ฟูมฟาย😭 และอาจจะวิ่งหนีไปทันที เมื่อทนไม่ไหวกับการถูกคุณแม่บังคับให้ทานอาหาร 


ผลเสียจากการที่ลูกไม่ยอมทานข้าว

4 ผลเสียต่อสุขภาพของเด็กที่ไม่ยอมรับประทานอาหาร ได้แก่

1.เสี่ยงต่อโรคอะนอเร็กเซีย (Anorexia) คือ พฤฤติกรรมการกินที่ไม่ปกติ และบูลิเมีย (Bulimia nervosa) หรือ “โรคล้วงคอ”🤮

2.น้ำหนักตัวไม่เป็นไปตามเกณฑ์การเจริญเติบโต หรือน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์

3.ได้รับสารอาหารบางอย่างน้อยกว่าที่ควรได้รับ เมื่อเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน

4.มีอาการอ่อนเพลียระหว่างวัน หน้าวูบ😰 หรืออาจจะเป็นลมได้


9 เทคนิคแก้ปัญหาเมื่อลูกไม่ยอมทานข้าว

✨ทำอาหารเมนูที่เขาชอบให้ทานบ่อยๆ

อย่างแรกคุณแม่คุณพ่อต้องตอบให้ได้ก่อนว่าลูกเราชอบกินอะไร ถ้าไม่รู้ต้องคอยสังเกตไปเรื่อย ๆ ว่าเขาชอบกินอาหารแบบไหน🍝 ลองทำอาหารหลาย ๆ แบบดูค่ะ แล้วสักพักจะค่อย ๆ เข้าใจว่าสาเหตุหนึ่งที่ลูกไม่ยอมกินข้าวก็เพราะอาหารไม่ถูกปากเขานี่เอง รวมถึงควรจะหมุนเวียนวัตถุอื่น ๆ มาเพื่อให้เขากินอาหารที่หลากหลาย เพื่อโภชนาการที่ดีของลูก ในช่วงที่ลูกเบื่ออาหารที่โรงเรียนประมาณ 2-3 วันแรก คุณแม่อาจจะพูดคุยปรึกษากับคุณครูถึงปัญหาการเบื่ออาหารของลูก เพื่อแก้ปัญหาร่วมกันค่ะ

✨ตกแต่งอาหารให้น่ารับประทาน

เทคนิคอีกอย่างคือการตกแต่งหน้าตาอาหารให้น่ารับประทาน แค่ทำอาหารตามปกติ เสร็จแล้วก็ค่อยมาตกแต่งให้ดูน่าสนใจเช่น พยายามให้มีสีสัน 3-4 สี ซึ่งสีสันเหล่านี้ก็คือสีโดยธรรมชาติของผักผลไม้นั่นเองค่ะ เช่น แครอต🥕จะให้สีส้ม มะเขือเทศ🍅จะให้สีแดง กะหล่ำปลีม่วงให้สีม่วง หรือจะถ้านึกสนุกอยากให้พิเศษมากขึ้น ก็อาจจะทำเป็นเรื่องราว เช่น ตัวการ์ตูนที่เขาชอบ หรือเป็นฉากในนิทานที่เขาเดาได้ รับรองว่าคุณลูกของเราจะทานเก่งขึ้นแน่นอนค่ะ คุณแม่อาจนำไปไอเดียนี้ไปเสนอกับคุณครูที่โรงเรียนนะคะ จัดเป็นหนึ่งกิจกรรมในห้องเรียน ได้ประโยชน์กับลูกน้อยและเด็ก ๆ ในห้องคนอื่น ๆ ด้วยค่ะ

✨ให้ลูกเลือกชุดจานชามของเขาเอง

เราเพิ่มความสนุกสนานให้กับมื้ออาหารของลูกได้ด้วยจาน ชาม ช้อนส้อม🍽️ แก้วน้ำ ซึ่งมีลวดลายการ์ตูนที่เขาชอบ ก็น่าจะทำให้เขาตื่นเต้นกับการกินข้าวได้มากขึ้น ถ้าเป็นไปได้พาเขาไปเลือกซื้อด้วยตัวเอง จะทำให้หนูน้อยอินกับอุปกรณ์การกินมากขึ้น และต้องระวังเรื่องสีที่เคลือบบนภาชนะทั้งหมดด้วยนะคะ ว่าไม่ละลายเมื่อถูกอาหารร้อนและไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

✨แบ่งทานทีละน้อยๆ

เริ่มต้นด้วยมื้อเล็ก ๆ บางครั้งมื้ออาหารที่มากจนเกินไปก็อาจทำให้เด็กรู้สึกเหนื่อยที่จะกินต่อให้หมด ควรแบ่งอาหารมาทีละน้อย🥣 เมื่อหมดก็สามารถเติมได้ ก็จะช่วยให้เด็กไม่รู้สึกกดดันว่าจะต้องกินให้หมดในคราวเดียว

✨งดการใช้เครื่องมือสื่อสารทุกชนิดขณะรับประทานอาหาร

สร้างความรู้สึกที่ดีกับมื้ออาหาร นั่นคือการปิดเสียงรบกวนอื่นที่จะทำให้เขาไม่สนใจอาหาร เช่น ทีวี หรือสมาร์ทโฟน📱 และคุณพ่อคุณแม่ก็ควรจะกินอาหารพร้อมกับเขา ชวนเขาพูดคุย อย่าดุ อย่าต่อว่าให้เขาเกิดความทรงจำที่ไม่ดีระหว่างการกินอาหาร และคุณพ่อคุณแม่ก็ห้ามเล่นโทรศัพท์มือถือหรืออ่านหนังสือนะคะ เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกค่ะ

✨คุณพ่อคุณแม่ทานข้าวพร้อมกันกับลูก

บางครั้งตัวอย่างที่ดีก็มีค่ามากกว่าคำสอน การที่คุณพ่อคุณแม่กินอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก🥦 เป็นตัวอย่างและกินอย่างเอร็ดอร่อย😋 ก็อาจจะช่วยให้ลูกเห็นแล้วรู้สึกว่าอยากกินตามบ้าง

✨สลับเมนูแปลกใหม่บ้าง

ไม่ทำอาหารซ้ำกัน การทำเมนูเดิม ๆ ซ้ำไปซ้ำมา ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ต่างก็รู้สึกเบื่อขึ้นมาได้เหมือนกัน หมั่นทำเมนูใหม่ ๆ อยู่เรื่อย ๆ หรือทำเมนูเดิมบ้าง แต่ก็มีเมนูใหม่ ๆ เข้ามาเสริมด้วย🍛 เพื่อสร้างความหลากหลายในมื้ออาหาร และทำให้เด็กได้รู้จักรสสัมผัสใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น

✨ให้ลูกมีส่วนร่วมในการทำอาหาร

เพื่อสร้างแรงจูงใจในมื้ออาหารมากขึ้น คุณพ่อคุณแม่อาจจะชวนให้ลูกมีส่วนร่วมในการทำอาหารด้วย👩‍🍳 เริ่มตั้งแต่การไปจับจ่ายซื้อวัตถุดิบ และลงมือทำในขั้นตอนต่าง ๆ เช่น ล้างผัก ล้างผลไม้ เตรียมจาน ชาม ช้อน และส้อม แต่ควรเลือกขั้นตอนที่ปลอดภัยและอยู่ในสายตาตลอดเวลา

✨มีของรางวัลเป็นเมื่อลูกรับประทานอาหาร

 เด็กกับของรางวัลเป็นของคู่กัน🏅 คุณพ่อคุณแม่อาจลองสร้างแรงจูงใจด้วยการให้ของรางวัลถ้าสัปดาห์นี้กินข้าวหมด หรือกินได้เยอะ ๆ ก็จะช่วยกระตุ้นให้เด็กอยากที่จะกินอาหารให้มากขึ้น เช่น ถ้าสัปดาห์นี้กินข้าวหมดจานทุกวัน อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ไม่ควรใช้บ่อย เพราะเด็กควรจะกินอาหารเพื่อการเจริญเติบโต ไม่ใช่เพื่อของรางวัลเพียงอย่างเดียว

     สรุปได้ว่าอาการเบื่ออาหารเกิดขึ้นได้ปกติกับเด็ก👶 ไม่จำเป็นต้องมีการกินยาเพื่อรักษาอาการดังกล่าวแต่อย่างใด เพียงแค่คุณแม่ควรพยายามปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารของลูก หรือพยายามหากลยุทธ์ใหม่ ๆ ในการสร้างแรงจูงใจให้ลูกยอมทานอาหารอย่างมึความสุข เพียงเท่านี้ก็สามารถช่วยให้ลูกอยากทานอาหารตามปกติได้แล้วค่ะ