post-title

ความสำคัญของการอัลตร้าซาวน์สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์

     คุณแม่คงเคยได้ยินการตรวอัลตร้าซาวน์กันมาบ้างแล้วใช่ไหมคะ คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกท่านจะได้รับนัดจากแพทย์ เพื่อตรวจอัลตราซาวนด์เจ้าตัวน้อยในครรภ์แต่การตรวจที่ว่านี้ตรวจอะไรในครรภ์บ้าง แล้วคุณแม่ต้องเตรียมตัวอย่างไรสำหรับการตรวจอัลตราซาวนด์ท้อง บทความนี้ได้หาคำตอบมาไว้ให้คุณแม่แล้วค่ะ💁‍♀️


อัลตร้าซาวน์คืออะไร?

👉อัลตร้าซาวน์ (Ultrasound) 

เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ที่มีความถี่มากกว่า 20,000 เฮิรตซ์ เกินในระดับที่หูของเราจะได้ยิน ซึ่งคลื่นเสียงนี้ จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ กับร่างกายของเรา จุดประสงค์ของการตรวจอัลตร้าซาวน์ในคุณแม่ตั้งครรภ์นั้นทำมาเพื่อตรวจดูพัฒนาการอวัยวะต่าง ๆ ของทารกในครรภ์🤰 ว่ามีความสมบูรณ์ หรือมีความผิดปกติอะไรหรือไม่ นั่นเองค่ะ การตรวจอัลตร้าซาวน์จะแสดงภาพทารกในครรภ์ออกมาในรูปแบบของภาพ 2D, 3D หรือ 4D ซึ่งขึ้นอยู่กับเทคโนยีของเครื่องอัลตร้าซาวน์ที่ใช้ ซึ่งการตรวจอัลตราซาวนด์จะช่วยให้แพทย์👩‍⚕️สามารถติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ได้ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจดูความผิดปกติของอวัยวะต่าง ๆ อย่างหัวใจ หรือการตรวจเช็กเพศของทารกในครรภ์


อัลตร้าซาวน์มีทั้งหมดกี่แบบ?

การตรวจอัลตร้าซาวน์สามารถจำแนกการตรวจอัลตราซาวนด์ได้หลายแบบ แต่จำแนกหลัก ๆ ได้ 2 แบบ ได้แก่

1. การตรวจอัลตร้าซาวน์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางหน้าท้อง (Transabdominal Ultrasound, TAS)

การตรวจอัลตร้าซาวน์ชนิดนี้ต้องทำในขณะที่มีปัสสาวะอยู่เต็ม ซึ่งเป็นการตรวจที่ใช้กันบ่อย โดยในขณะตรวจจะใช้เจลหล่อลื่นทาที่หน้าท้องก่อน และใช้เครื่องอัลตร้าซาวน์วางเคลื่อนไปบนหน้าท้อง เจลที่ใช้ในระหว่างการตรวจนั้น จะช่วยให้เครื่องตรวจเคลื่นที่ได้ง่ายขึ้น รวมทั้งจับภาพภายในครรภ์ได้ชัดเจน📹

คุณแม่อาจจะต้องดื่มน้ำ🚰ก่อนการตรวจอัลตร้าซาวน์ล่วงหน้าประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะมีของเหลวเพียงพอสำหรับการตรวจอัลตร้าซาวน์ โดยการตรวจจะใช้เวลาประมาณ 20 นาที

2. การตรวจอัลตร้าซาวน์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงทางช่องคลอด (Transvaginal Ultrasound, TVS)

การตรวจอัลตร้าซาวน์แบบการตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง🔊ทางช่องคลอด เป็นการตรวจอัลตร้าซาวน์ที่ใช้ในการตรวจที่ต้องการการประเมินแบบเฉพาะเจาะจง โดยการตรวจชนิดนี้จะถูกการจำกัดการมองเห็นจากผนังหน้าท้อง ชั้นใต้ผิวหนัง รวมถึงลำไส้ ทำให้ไม่สามารถเห็นบริเวณอุ้งเชิงกรานได้ชัดเจน โดยเหมาะสำหรับการตรวจสิ่งเหล่านี้

▶️ตรวจการตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก

- ตรวจเพื่อดูบริเวณปากมดลูก เช่น รกเกาะต่ำ ประเมินกระดูกสันหลังส่วนล่างของทารกในครรภ์ เนื้อสมองของทารก🧠 เป็นต้น

- ตรวจการตั้งครรภ์นอกมดลูก

- ตรวจดูภาวะผิดปกติของอุ้งเชิงกราน ที่ไม่สามารถใช้การตรวจแบบคลื่นเสียงความถี่สูงทางหน้าท้อง (Transabdominal Ultrasound, TAS) ได้

- การประเมินรังไข่ และประเมินการเจริญพันธุ์

นอกจากนี้ การตรวจอัลตราซาวนด์ยังสามารถแสดงผลได้อีก 3 แบบด้วยกัน ดังนี้

        1️⃣ แบบ Doppler

การตรวจชนิดนี้ จะตรวจดูระบบไหวเวียนเลือดของทารกในครรภ์ รวมทั้งสามารถฟังเสียงการเต้นของหัวใจ🫀เด็กทารกในครรภ์ ซึ่งการตรวจนี้ จะสามารถระบุได้ว่าระบบไหลเวียนเลือดของทารกในครรภ์มีปัญหาอะไรหรือไม่ โดยปกติ การตรวจแบบ Doppler จะตรวจในไตรมาสที่ 3 หรือไตรมาสสุดท้าย แต่ก็สามารถตรวจก่อนเวลาได้เช่นกัน

        2️⃣ แบบ 3 มิติ (3D)

การตรวจชนิดนี้จะแสดงผลการอัลตราซาวด์ออกมาเป็นภาพ🎞️ ให้ภาพของทารกในครรภ์ที่ชัดเจน สามารถตรวจดูได้ว่า อวัยวะต่าง ๆ ของทารกนั้น สมบูรณ์ หรือมีพัฒนาการที่ปกติหรือไม่ นอกจากการตรวจแบบนี้ ยังสามารถใช้ในการตรวจความผิดปกติของมดลูกได้อีกด้วย

        3️⃣ แบบ 4 มิติ (4D)

การแสดงผลของการตรวจแบบ 4-D จะได้ภาพในแบบเคลื่อนไหวได้ เป็นวิดีโอ📹


ข้อดีและข้อเสียของการตรวจอัลตร้าซาวน์ท้อง

👍ข้อดี

การตรวจอัลตร้าซาวน์ท้องจะสามารถช่วยให้คุณแม่เห็นภาพที่ชัดเจนของทารกในครรภ์👶 ไม่ว่าจะเป็นเพศ การเจริญเติบโตของอวัยวะ ระบบต่าง ๆ ของทารกในครรภ์ว่ามีปัญหาอะไรหรือไม่ นอกจากนี้ยังสามารถตรวจดูมดลูกของคุณแม่ว่ามีความปกติขณะตั้งครรภ์หรือไม่

👎ข้อเสีย

สำหรับข้อเสียในการตรวจอัลตร้าซาวน์ท้อง คือ ถึงแม้ว่าการตรวจอัลตร้าซาวน์จะทำให้เห็นภาพรวมของทารกในครรภ์ที่ชัดเจน แต่ทั้งนี้การตรวจอัลตร้าซาวน์ยังมีข้อจำกัดในการตรวจ ซึ่งทำให้คุณภาพของภาพนั้นแสดงผลออกมาไม่ชัดเจนได้เช่นกันค่ะ เนื่องจากคลื่นเสียงในการตรวจอัลตร้าซาวน์ไม่สามารถทะลุผ่านร่างกายได้ลึกนัก หากคุณแม่มีภาวะอ้วน การแสดงผลภาพกก็อาจจะทำได้ยาก และยังรวมไปถึงประสบการณ์ของผู้ทำอัลตร้าซาวน์ หากผู้ตรวจไม่มีความเชี่ยวชาญมากพอ ก็อาจจะทำให้ผลการตรวจขาดความแม่นยำได้🙅‍♀️

     สรุปได้ว่าคุณแม่ควรเตรียมตัวก่อนไปอัลตร้าซาวน์เสมอนะคะ หากเป็นการอัลตร้าซาวน์ที่หน้าท้อง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ👨‍⚕️อาจจะขอให้คุณแม่ดื่มน้ำจำนวนมากล่วงหน้า ประมาณ 4 – 6 แก้ว เพื่อให้กระเพาะปัสสาวะเต็ม ซึ่งจะช่วยให้เห็นภาพในครรภ์ได้ชัดขึ้น และค่าใช้จ่ายของการตรวจอัลตร้าซาวน์ท้องอาจจะมีความแตกต่างกันออกไปตามประเภทของสถานพยาบาล รวมทั้งประเภทของอัลตร้าซาวน์ ซึ่งการอัลตร้าซาวน์ผ่านทางหน้าท้องและช่องคลอดในโรงพยาบาลรัฐ จะมีราคาประมาณ 400 บาท💵 เป็นต้นไป และอาจจะมีค่าบริการทางการแพทย์เพิ่มเติมด้วยค่ะ