post-title

วิธีระบุอาการจุกเสียดในทารกแรกเกิดอย่างแม่นยำและวิธีจัดการกับมัน!

     เมื่อเจ้าตัวน้อยมีอาการจุกเสียด🤢 แน่นท้อง ส่วนหนึ่งนั้นเป็นเพราะะระบบทางเดินอาหารของทารกนั้นยังไม่แข็งแรงหรือพัฒนาได้เทียบเท่ากับผู้ใหญ่ ด้วยเหตุนี้จึงส่งผลให้ทารกมีปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารอยู่บ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาการจุกเสียดและอาการท้องอืด บทความนี้จะพาคุณแม่มาดูว่า สาเหตุอะไรบ้างนะที่ทำให้ทารกจุกเสียด แน่นท้อง รวมไปถึงวิธีรับมือกับอาการนี้ มาดูกันเลยค่ะ💁‍♀️


อาการจุกเสียด เกิดจากอะไร?

👉สาเหตุที่สามารถทำให้เกิดอาการจุกเสียด 

- การทำงานของระบบทางเดินอาหารยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ระบบทางเดินอาหารของทารกนั้นต้องใช้เวลาในการอุ่นเครื่อง♨️ กว่าที่ระบบย่อยอาหารของทารกจะสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ มากไปกว่านั้น ในระบบทางเดินอาหารของทารกยังไม่มีแบคทีเรียชนิดดีที่เพียงพอจะช่วยในการย่อยอาหาร จึงทำให้เด็กเล็กมักจะมีอาการท้องอืดบ่อยเพราะระบบต่าง ๆ ของทางเดินอาหารยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่

- ปัญหาในระบบทางเดินอาหาร เช่น ปริมาณแบคทีเรีย🦠ในลำไส้มากเกิน ภาวะขาดเอนไซม์ย่อยนม โรคลำไส้แปรปรวน สามารถก่อให้เกิดอาการท้องอืดในทารก หรือเด็กเล็กได้

- การกินนม🍼 หากทารกกินนมแม่แล้วท้องอืด อาจเป็นไปได้เวลาเวลาที่ดูดนมแม่ ทารกใช้ปากดูดเพียงหลวม ๆ ทำให้มีอากาศเล็ดลอดเข้าไปได้มากขึ้น หรือหากทารกกินนมขวด ก็อาจเป็นไปได้ว่าในขวดนมมีฟองอากาศอยู่มาก

- ทารกแพ้อาหาร เด็กที่เริ่มกินนมผง หรืออาหารบดนิ่ม🥣 อาจเริ่มมีปัญหาแพ้อาหารหรือไวต่ออาหารบางอย่าง ซึ่งอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร รวมถึงก่อให้เกิดแก๊สในระบบทางเดินอาหารมากขึ้นด้วย

- ทารกร้องไห้บ่อย😭 เวลาที่เจ้าตัวเล็กอ้าปากร้องไห้โยเย ก็เป็นจังหวะที่ทารกได้กลืนเอาอากาศเข้าไปในระบบทางเดินอาหารด้วยเช่นกัน 

👉เทคนิคในการระบุอาการจุดเสียดของทารกอย่างแม่นยำ

คุณพ่อคุณแม่สามารถสังเกตอาการจุกเสียดในทารก โดยสังเกตจากอาการเหล่านี้

- ร้องไห้บ่อย😭 ร้องไห้ครั้งละประมาณ 1 ชั่วโมง หรือนานกว่านั้น

- ลูกมีท่าทีหงุดหงิดบ่อย🤬 เนื่องจากลูกมีลมในท้องเยอะ จนทำให้หงุดหงิด

- ทารกนอนไม่หลับ😪 กระสับกระส่าย เนื่องจากแก๊สในระบบทางเดินอาหารเยอะ ทำให้เกิดลมมาก อาจทำให้ลูกรู้สึกไม่สบายตัว

- ทารกหน้าแดง🥵 อาการหน้าแดงในทารกอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะอาการท้องอืด ทำให้รู้สึกอึดอัด หรือรู้สึกเจ็บปวดที่บริเวณท้องจนสีหน้าแสดงออกมาอย่างชัดเจน หรือร้องไห้


7 วิธีรับมือเมื่อทารกมีอาการจุกเสียด มีดังนี้

1️⃣ จับลูกเรอบ่อยๆ 

หากทารกมีอาการท้องอืด คุณพ่อคุณแม่ควรจับลูกเรอบ่อย ๆ การทำให้ทารกเรอจะเป็นกำจัดอากาศ💨ส่วนเกินที่กลืนเข้าไปออกมา ช่วยบรรเทาอาการท้องอืดให้ดีขึ้นได้

2️⃣ นวดตัวให้ลูก

การนวดที่หน้าท้อง ขา หลัง และทั่วร่างกายของทารกจะช่วยให้เจ้าตัวเล็กรู้สึกสงบและผ่อนคลาย😌 โดยกดไปที่ท้องเบา ๆ ให้เป็นลักษณะวงกลมเพื่อช่วยขจัดเอาอากาศส่วนเกินออก

3️⃣ ทำท่าจักรยานให้ลูก

คุณพ่อคุณแม่สามารถทำท่าปั่นจักรยาน🚲ให้ลูกได้ง่าย ๆ โดยวางลูกน้อยลงบนเบาะสำหรับเด็ก แล้วค่อยๆ หมุนที่ขาไปมาในท่วงท่าคล้ายกับว่าขาทั้งสองข้างกำลังปั่นจักรยาน ท่านี้จะช่วยดันอากาศที่ติดอยู่ออกมา หรือถ้าจะไม่ปั่นจักรยาน ก็แค่ค่อย ๆ ดันเข่าของทารกขึ้นไปที่ท้อง และค้างไว้ 10 วินาที จากนั้นปล่อยขาของทารกให้เหยียดตรง ทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ก็จะช่วยดันอากาศที่ติดอยู่ออกมาได้เช่นกัน

4️⃣ เลือกใช้ขวดนมและจุกนมที่ได้มาตรฐาน

ควรใช้ขวดนม🍼ขนาดเล็กสำหรับเด็กเพราะกระเพาะอาหารของทารกนั้นเล็กเกินกว่าจะรองรับปริมาณนมจากขวดนมขนาดใหญ่ได้ และควรใช้ขนาดจุกนมที่เหมาะสมเพื่อให้สูตรไหลช้า แต่ไหลสม่ำเสมอ รูจุกนมที่เล็กเกินไปอาจทำให้ลูกน้อยต้องดูดจุกนมแรงขึ้น ซึ่งจะเป็นการดูดอากาศเข้าสู่ร่างกายมากขึ้น แต่รูจุกนมที่ใหญ่เกินไป ก็อาจทำให้ทารกกลืนอากาศมากขึ้น เพราะต้องอ้าปากกว้างมากขึ้น

5️⃣ ลองเปลี่ยนสูตรนมผง

ในกรณีที่คุณพ่อคุณแม่เริ่มให้ทารกกินนมผง นมผงบางสูตรอาจทำให้ทารกเกิดอาการท้องอืด ควรเปลี่ยนเป็นสูตรอื่นที่เป็นมิตรกับระบบทางเดินอาหารของทารก หรือสูตรที่มี PHP (Partially Hydrolyzed Protein) ซึ่งเป็นโปรตีนที่ผ่านการย่อยบางส่วน ทำให้มีโมเลกุลขนาดเล็ก ทำให้สามารถย่อยได้ง่าย และดูดซึมได้ดี✅ นมที่มีส่วนผสมของ PHP จึงมีส่วนช่วยลดอาการไม่สบายท้องของเจ้าตัวเล็กได้เป็นอย่างดี

6️⃣ เปลี่ยนอาหารที่คุณแม่รับประทาน

แม่ให้นมลูกอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการกินอาหารบางประเภทที่เสี่ยงทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารมากขึ้น และหลีกเลี่ยงอาหารบางอย่างที่อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ ซึ่งอาจถูกส่งต่อผ่านน้ำนมไปยังทารก🤱 และมีผลทำให้ทารกท้องอืดตามมาด้วยได้ อย่างไรก็ตาม การแพ้อาหารในทารกยังถือว่าพบได้น้อย

7️⃣ รีบให้นมก่อนที่ลูกจะร้องไห้

ยิ่งลูกร้องไห้โดยที่ยังไม่ได้กินอะไรล่ะก็ เสี่ยงที่ทารกจะกลืนเอาอากาศเข้าสู่ระบบทางเดินอาหารมากขึ้น หากเป็นไปได้ควรให้นมทันทีที่ลูกหิว😫 เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกร้องไห้งอแงเพราะหิวนม ยิ่งลูกร้องนานยิ่งเสี่ยงจะกลืนอากาศเข้าไปมากเท่านั้น

     โดยทั่วไปแล้วอาการทารกท้องอืดนั้นไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษาเฉพาะทาง หรือไม่จำเป็นต้องกินยา💊ใดเป็นพิเศษ อาการดังกล่าวสามารถที่จะดีขึ้นตามลำดับเองได้  รวมไปถึงการที่ทารกกลืนอากาศเข้าไปมาก ๆ และไม่สามารถระบายออกได้หมด ก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้มีลมจุกเสียดอัดแน่นอยู่ภายในท้องของทารก ดังนั้นแพทย์👨‍⚕️อาจวินิจฉัยให้ใช้ยาบางชนิดที่สามารถช่วยผ่อนคลายความเจ็บปวดจากอาการท้องอืดของทารกได้ เช่น ยาใช้ภายนอกอย่าง มหาหิงค์ เป็นต้น