post-title

ทารกร้องไห้ไม่ยอมนอน ทำยังไงดี?

     อีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้คุณแม่กุมขมับก็คือปัญหาทารกร้องไห้ไม่ยอมนอน ไม่ว่าจะเป็นทั้งตอนกลางวันหรือตอนกลางคืน ก็ล้วนทำให้คุณแม่เครียดเพราะ คุณแม่เองก็จะพลอยอดนอนไปด้วย วันนี้ทางเราจึงได้รวบรวมวิธีรับมือเมื่อลูกร้องไห้ไม่ยอมนอนมาให้คุณแม่ทราบและเตรียมตัวรับมือค่ะ💁‍♀️ 


สาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ยอมนอนมาจากอะไรบ้าง?

6 สาเหตุที่ทำให้ลูกไม่ยอมนอน มีดังนี้

1️⃣ ทารกยังไม่ง่วง ซึ่งอาจเกิดได้ 2 กรณี คือ นอนตอนกลางคืนมากเกินไป กับนอนตอนกลางวันมากเกินไป ทำให้เมื่อถึงเวลาที่จะต้องนอนอีกครั้ง ทารกจึงยังไม่รู้สึกง่วง เพราะว่านอนสะสมมาเต็มอิ่มสุด ๆ💤  

2️⃣ ห้องนอนหรือสถานที่นอนไม่เหมาะกับการนอน อาจจะมีแสงสว่างมากเกินไป เสียงรบกวนมากเกินไป อุณหภูมิร้อนหรือเย็นจนเกินไป🥶 ปัจจัยเหล่านี้บางครั้งก็ส่งผลต่อการนอนของทารกได้ค่ะ 

3️⃣ ทารกงีบมากหรือน้อยเกินไป😴 ทารกแต่ละช่วงวัยจะมีช่วงเวลาในการงีบที่แตกต่างกัน หากงีบมากเกินไปหรือน้อยเกินไปโดยที่ไม่ได้เหมาะกับช่วงอายุของตัวเอง ก็อาจจะส่งผลต่อการนอนได้ โดยทารกแรกเกิด - 3 เดือน ควรงีบ 3-5 ครั้งต่อวัน อายุ 4-5 เดือน ควรงีบ 2-3 ครั้งต่อวัน และทารกอายุ 7-12 เดือน ควรงีบ 2 ครั้งต่อวัน 

4️⃣ ทารกไม่สบายตัว ซึ่งอาจเกิดจากการเป็นไข้🤒 ตัวร้อน หรืออาจเกิดจากมีแมลง สัตว์ กัดต่อย หรืออาจอยู่ในช่วงที่ฟันกำลังขึ้น จึงทำให้รู้สึกนอนไม่สบายตัว คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลูกด้วยว่ามีสิ่งใดแปลกไปหรือไม่ เพื่อจะได้รับมืออย่างตรงจุด 

5️⃣ ทารกกำลังหิว😋 ขนาดเราเป็นผู้ใหญ่เวลาหิวก็ยังนอนหลับยากเลยค่ะ นับประสาอะไรกับทารกล่ะคะ บางครั้งทารกก็ร้องไห้งอแง ไม่ยอมนอนเพราะว่าหิวนม คุณพ่อคุณแม่ควรดูแลให้ทารกได้กินนมอย่างเพียงพอ เพื่อให้เด็กได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน 

6️⃣ ไม่ชินกับวิธีการเข้านอน คุณพ่อคุณแม่หลายคนบางครั้งก็กล่อมลูกนอนด้วยการนอนเปลบ้าง การอุ้ม หรือการพานั่งรถ ทีนี้พอทารกเริ่มชินกับการเข้านอนเช่นนั้น วันไหนที่เปลี่ยนมาพาเข้านอนเฉย ๆ โดยไม่มีกิจกรรมเหล่านั้นอีก ก็อาจจะทำให้ทารกไม่ยอมนอนได้เหมือนกัน 


7 วิธีรับมือเมื่อลูกร้องไห้ไม่ยอมนอน ทำแบบนี้จะช่วยให้ลูกนอนหลับง่าย!

✨สร้างตารางการเข้านอน

การพาลูกเข้านอนเป็นเวลาทั้งตอนกลางวันและตอนกลางคืน เริ่มกล่อมลูก นวดตัวลูก อ่านนิทานให้ลูกฟังก่อนนอน📖 พยายามทำทุกอย่างตามเดิม เพื่อกระตุ้นให้ลูกรู้ว่า นี่คือสัญญาณว่าได้เวลานอนแล้ว จะช่วยให้นาฬิกาชีวภาพของทารกสามารถจดจำกิจวัตรการนอนได้ 

พาลูกผ่อนคลายก่อนนอน

การอาบน้🛀ำ การนวดตัว การเปิดเพลงที่มีทำนองช้า ๆ เนิบ ๆ การอุ้ม การกอด กิจกรรมเหล่านี้ช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลาย สามารถช่วยกระตุ้นให้ทารกเข้านอนได้ง่ายขึ้น 

จัดบรรยากาศให้เหมาะกับการนอน

คุณแม่ควรลดความสว่างของห้องลง เพราะการที่ห้องมีบรรยากาศมืด🌌 แสงสลัว ๆ ในห้องนอนสามารถช่วยลดความตื่นตัวลงได้ แถมยังให้บรรยากาศที่น่านอนมากขึ้นด้วย 

สังเกตอาการของลูก

จับตาดูว่าลูกเริ่มหาว🥱 ขยี้ตา เริ่มมีท่าทีหงุดหงิด แปลว่าทารกเริ่มที่จะง่วงนอน และอยากจะเข้านอนแล้ว คุณพ่อคุณแม่สามารถพาลูกเข้านอนได้เลย 

ห่อตัวทารก 

การห่อตัวทารกด้วยผ้าจะช่วยให้เด็กรู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลาย ให้บรรยากาศคล้ายกับเมื่อตอนที่ยังนอนขดตัวอยู่ในท้องของแม่ 

อุ้มลูกแนบตัว

 หากลูกไม่ยอมนอนสักทีแม้ว่าจะหาวไปหลายรอบแล้ว ให้คุณพ่อคุณแม่อุ้มลูกขึ้นมาแนบกับอก🤱 พยายามอุ้มให้ลูกสามารถสัมผัสถึงหัวใจเต้นของคุณพ่อคุณแม่ได้ จะช่วยให้ทารกผ่อนคลายมากขึ้น 

ใช้เพลงเข้าช่วย 

หากคุณพ่อคุณแม่มีทักษะเพียงพอที่จะร้องเอง การร้องเพลง🎤ที่จังหวะช้า ๆ เนิบ ๆ ก็จะช่วยให้ทารกรู้สึกผ่อนคลายได้ค่ะ หรือถ้าสะดวกจะเปิดเพลงก็ได้เช่นกัน เลือกเพลงกล่อมเด็กที่มีจังหวะช้า ๆ เนิบ ๆ หรือจะเลือกเป็นเพลงคลาสสิกที่ไม่มีเนื้อร้องก็ได้ค่ะ 

     เพียงเท่านี้คุณแม่ก็สามารถนำเอา 7 วิธีการดังกล่าวไปลองปรับใช้ดูกับเจ้าตัวน้อยได้เลยนะคะ เพียงเท่านี้เจ้าตัวน้อยก็จะค่อยๆปรับตัวได้ ไม่งองแง และเริ่มนอน😴ได้อย่างเป็นเวลานั่นเองค่ะ