post-title

ลาคลอดได้กี่วัน เรื่องที่คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคนควรทราบ

     เมื่อใกล้กำหนดคลอด คุณแม่หลาย ๆ ท่านก็เริ่มวางแผนลาคลอดเพื่อที่จะได้เตรียมพร้อมสำหรับการคลอดที่กำลังจะมาถึง แต่ก่อนที่คุณแม่จะไปยื่นใบลาคลอดนั้น มีสิทธิลาคลอดอะไรบ้างที่คุณแม่ควรทราบ ทางเราได้รวบรวมคำตอบมาไว้ให้แล้วค่ะ💁‍♀️


คุณแม่ตั้งครรภ์ลาคลอดได้กี่วันตามกฎหมายลาคลอดบุตร 

คุณแม่สามารถที่จะลาคลอดได้นานถึง 98 วันค่ะ

โดยในระยะเวลา 98 วันของการลาคลอดนี้🤰 จะนับรวมการลาเพื่อไปตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรด้วย โดยแบ่งเป็นลาคลอดบุตร 90 วัน และลาเพื่อไปตรวจครรภ์อีก 8 วัน รวมเป็น 98 วัน โดยคุณแม่สามารถใช้สิทธิลาคลอดได้ตั้งแต่ก่อนคลอดหรือจะเริ่มใช้สิทธิ์ลาเอาหลังคลอดก็ได้ แต่ไม่ว่าจะลาก่อนคลอด หรือหลังคลอด ก็จะต้องอยู่ในกรอบระยะเวลารวมกันแล้วไม่เกิน 98 วัน ส่วนบริษัทไหนที่อนุญาตให้ลาคลอดได้นานกว่านั้น ก็อาจจะขึ้นอยู่กับข้อกำหนดและรายละเอียดต่าง ๆ ตามนโยบายขององค์กรค่ะ

ลาคลอดได้ตั้งแต่วันไหน

ลาคลอดได้ตั้งแต่วันไหน ขึ้นอยู่กับนโยบายขององค์กร และความสะดวกของคุณแม่ค่ะ บางองค์กรอาจจะไม่ได้เข้มงวดในเรื่องของวันลา แต่บางองค์กรก็อาจจะอนุญาตให้ลาคลอดได้ก่อนกำหนดคลอดไม่นาน หรือให้ลาคลอดได้หลังจากคลอดลูกแล้วเท่านั้น🤱 

เอกสารที่ต้องใช้ในการลาคลอดมีอะไรบ้าง

รูปแบบการลาคลอดของแต่ละองค์กรนั้นอาจจะเหมือนหรือแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับองค์กร  แต่โดยทั่วไปแล้วก็จะต้องมีการทำหนังสือลาระบุรายละเอียดการลา📄 หรือบางองค์กรก็จะมีแบบฟอร์มการลาให้ระบุรายละเอียดต่าง ๆ  

ลาคลอดแล้วยังได้รับเงินเดือนไหม

ตามกฎหมายใหม่ คุณแม่สามารถลาคลอดได้ 98 วัน โดยจะได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง 45 วัน ในอัตรา 100% ของค่าจ้าง และสำนักงานประกันสังคมจ่ายเพิ่มให้อีก 50% ของค่าจ้าง เป็นเวลา 45 วัน 

ลาคลอดต้องจ่ายประกันสังคมไหม

หากยังเป็นพนักงานที่รับเงินเดือนตามปกติ💰 และยังไม่มีการลาออก ยังจำเป็นต้องจ่ายประกันสังคมตามปกติค่ะ โดยประกันสังคมก็จะหักจากเงินเดือนตามปกติ 


สิทธิของคุณแม่ลาคลอดมีอะไรบ้าง

สิทธิของคุณแม่ที่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน

  • คุณแม่สามารถลาคลอดได้ 98 วัน โดยไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์  

  • คุณแม่จะได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง 45 วัน ในอัตรา 100% ของค่าจ้าง และสำนักงานประกันสังคมจ่ายเพิ่มให้อีก 50% ของค่าจ้าง เป็นเวลา 45 วัน 

  • คุณแม่สามารถที่จะเบิกจ่ายค่าคลอดบุตรได้ 15,000 บาทต่อครั้ง 

  • คุณแม่มีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการคลอดบุตรโดยประกันสังคมจะเหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้าง เฉลี่ยเป็นระยะเวลา 90 วัน 🕒

  • คุณแม่มีสิทธิ์รับเงินสงเคราะห์บุตร โดยประกันสังคมจะเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาท จนกระทั่งบุตรอายุถึง 6 ปี 

สิทธิของคุณแม่ที่เป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ

  • สามารถเบิกเงินช่วยเหลือการคลอดบุตรได้ครั้งละ 400 บาท  

  • สามารถเบิกเงินช่วยเหลือบุตร 50 บาท ต่อคนต่อเดือน 

  • สามารถลากิจเพื่อเลี้ยงดูบุตรได้ไม่เกิน 30 วันทำการ (แต่จะไม่ได้รับเงินเดือน) 

สิทธิของคุณแม่ที่เป็นข้าราชการ

  • สามารถลาคลอดได้ 98 วัน โดยไม่ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ 

  • ได้รับเงินเดือนตามปกติ และสามารถลาเพิ่มได้อีกไม่เกิน 90 วัน โดยได้รับเงินเดือนในอัตรา 50% 

  • สามารถทำการเบิกเงินช่วยเหลือการคลอดบุตรได้ครั้งละ 400 บาท 

  • ได้รับเงินสวัสดิการสำหรับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย เดือนละ 50 บาทต่อคน โดยเงินช่วยเหลือบุตรนี้ จะได้ไม่เกิน 3 คน และได้ต่อเนื่องจนอายุ 18 ปีบริบูรณ์ 

สิทธิของคุณแม่ที่ประกอบอาชีพอิสระ

สำหรับคุณแม่ที่ประกอบอาชีพอิสระ สามารถรับสิทธิ์จากบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง ซึ่งสามารถฝากครรภ์ และรับบริการในสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเด็กได้ฟรี และเสียค่าใช้จ่าย 30 บาท💵 สำหรับการตรวจครรภ์และการคลอดบุตร (ไม่เกิน 2 ครั้ง) แต่ถ้าคุณแม่ประกอบอาชีพอิสระ สมัครใจเข้าจ่ายประกันสังคม คุณแม่มีสิทธิที่จะได้รับเงินช่วยเหลือคลอดบุตรและเงินสงเคราะห์บุตรได้ 

     สรุปได้ว่าคุณแม่สามารถลาคลอดบุตรได้ 98 วันตามกฎหมาย✅ หากได้วันลาน้อยกว่านี้ จะถือว่าองค์กรหรือบริษัทที่คุณแม่ทำงานอยู่ กระทำผิดต่อหลักกฎหมาย คุณแม่สามารถร้องเรียนต่อกรมแรงงาน หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ค่ะ