post-title

คุณแม่ตั้งครรภ์ไตรมาสที่สองสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ไหม?

     การมีกิจกรรมทางเพศหรือมีเพศสัมพันธ์นับเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับแทบทุกคน แต่สำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์จะถือเป็นสิ่งที่ยังทำได้หรือไม่🤰 หากทำได้จะมีข้อควรระวังอะไรบ้าง คุณผู้อ่านหลายท่ายอาจเคยผ่านหูผ่านตากับบทความของเรามาบ้างแล้วสำหรับคำตอบเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์ในคุณผู้หญิงทีกำลังตั้งครรภ์ในระยะแรกหรือไตรมาสแรก (ตั้งครรภ์อ่อน 3 เดือนแรก) ว่าสามารถมีกิจกรรมทางเพศได้ตามปกติหากคุณผู้หญิงที่ไม่ได้มีภาวะเสี่ยงเกี่ยวกับการตั้งครรถ์ แต่สำหรับคุณผู้หญิงที่เริ่มมีอายุครรภ์ที่เพิ่มขึ้น หรือตั้งครรภ์ในไตรมาสที่สอง (อายุครรภ์ประมาณ 4-6 เดือน) จะยังสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้เหมือนเดิมหรือไม่ มีข้อควรระวังอะไรเพิ่มขึ้นหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบให้คุณผู้อ่านค่ะ💁‍♀️


ลักษณะของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในไตรมาสสอง (อายุครรภ์ 4-6 เดือน)

  1. หน้าท้องของคุณแม่ใหญ่ขึ้นอย่างสังเกตได้ เมื่อเทียบกับการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก

  2. น้ำหนักของคุณแม่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน จากท้องที่โตขึ้น บริเวณสะโพก ต้นขา ข้อเท้าอาจบวมขึ้นด้วย

  3. อาการแพ้ท้องจะเริ่มหายไปหรือเบาลง🤮

  4. อารมณ์ยังมีความแปรปรวนง่ายเหมือนเดิม🤯 หรืออาจหนักกว่าเดิม

  5. ยังมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายเหมือนเดิม ยกตัวอย่างเช่น อาการกรดไหลย้อน จุกเสียดแน่นท้อง ท้องอืดท้องเฟ้อ อาหารไม่ย่อย🤢 ท้องผูก

  6. เริ่มมีอาการปวดหลัง สะโพก อุ้งเชิงกราน ควบคู่ไปกับอาการปวดขา🦵 อาจเกิดขึ้นเนื่องจากน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วค่ะ

  7. ปวดปัสสาวะบ่อยขึ้น🚽 เริ่มกลั้นปัสสาวะได้ยากขึ้น


    ตั้งครรภ์ในไตรมาสสองมีเพศสัมพันธ์ได้หรือไม่

  8. คำตอบยังคงเป็นไปในแนวทางเดิมเช่นเเดียวกับการตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก นั่นก็คือหากคุณแม่ได้ทำการฝากครรภ์มาก่อนหน้า และเข้ารับการตรวจครรภ์เรื่อยๆเป็นประจำตามนัดหมายของแพทย์ผู้ดูแลครรภ์👨‍⚕️ แพทย์ไม่ได้สังเกตเห็นถึงความผิดปกติของครรภ์ หรือไม่ได้วินิจฉัยว่าคุณแม่และเด็กในครรภ์มีภาวะทางสุขภาพอะไรเพิ่มเติม แน่นอนว่าการมีกิจกรรมทางเพศหรือการมีเพศสัมพันธ์นั้นก็ยังทำได้ตามปกติเหมือนเดิมค่ะ

  9. ถึงจะสามารถมีเพศสัมพันธ์ตามปกติได้ แต่ก็ยังคงต้องยึดแนวทางการมีเพศสัมพันธ์เช่นเดียวกับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก นั่นก็คือมีเพศสัมพันธ์แบบที่ไม่โลดโผนเกินไป มีกิจกรรมอยู่บนพื้นฐานของความสะอาดและปลอดภัย ไม่ว่าจะมีการใช้เครื่องมือช่วยระหว่างกิจกรรมหรือไม่ก็ตาม และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็ยังเป็นการป้องกันระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อลดความเสี่ยงที่ทั้งแม่และเด็กในครรภ์จะได้รับเชื้อและติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ค่ะ🦠

  10. ข้อควรระวังที่เพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยนั่นก็คือ ท่าที่ใช้ทำกิจกรรมควรเป็นท่าที่ไม่เกิดการกดทับบริเวณท้องของคุณแม่ เนื่องจากคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ในไตรมาสสองท้องจะเริ่มโตแล้ว อาจเกิดอันตรายต่อเจ้าตัวน้อยในครรภ์ได้ค่ะ การมีเพศสัมพันธ์แบบที่เสี่ยงอันตรายต่อเด็กน้อยที่สุดจึงเป็นการมีเพศสัมพันธ์ทางปากหรือ oral sex 👄นั่นเองค่ะ แต่ก็ยังคงยึดแนวทางเดิม คือควรป้องกันระหว่างทำ oral sex ด้วยค่ะ เพราะหากไม่ป้องกัน โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ก็ยังคงติดต่อได้อยู่


    คุณแม่ที่ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ระหว่างการตั้งครรภ์

  11. คุณแม่ที่เคยมีประวัติการแท้ง หรือประวัติคลอดก่อนกำหนดมาก่อน

  12. ครรภ์ที่คุณแม่กำลังอุ้มท้องอยู่ถูกวินิจฉัยว่ามีความผิดปกติ ไม่ว่าจะเป็นมีอาการเลือดออกที่ผิดปกติ🩸 คุณแม่มีอาการเจ็บหรือปวดท้องน้อย คุณแม่ที่มีอาการรกเกาะต่ำ

  13. คุณแม่ที่ตั้งครรภ์แฝด👯‍♂️ซึ่งถือว่าไม่ใช่ครรภ์ปกติ นับเป็นอีกหนึ่งภาวะตั้งครรภ์เสี่ยงค่ะ

     อ่านมาถึงตรงนี้คุณผู้อ่านคงได้ทราบกันไปแล้วนะคะว่าหากคุณผู้หญิงนั้นตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสที่สอง อายุครรภ์ประมาณ 4-6 เดือนนั้น สามารถมีกิจกรรมทางเพศได้ตามปกติเช่นเดียวกับคุณผู้หญิงในไตรมาสแรก เพียงแต่มีข้อควรระวังเกี่ยวกับการเลือกท่าทางในกิจกรรมเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย เพื่อป้องกันการที่หน้าท้องของคุณผู้หญิงถูกกดทับระหว่างกิจกรรมและส่งผลเสียต่อเจ้าตัวน้อยในครรภ์ได้ค่ะ👶